คืบหน้ากรณี เรือน้ำมันของกลาง 5 ลำ มีการตรวจยึดบริเวณทะเลฝั่งชลบุรี และปรากฏว่าวันที่ 8-9 มิ.ย. ที่ผ่านมามีคลื่นลมลมแรง จนเป็นเหตุทำให้ต้องนำเรือของกลางขยับห่างจากท่าเทียบเรือ เพราะป้องกันเรือเสียหาย โดยมีการขยับเรือ 3 ลำ มีน้ำมันเถื่อนบรรจุอยู่ในเรือ และหลังจากที่ขยับเรือออกวันที่ 9 มิ.ย. ปรากฏว่าวันที่ 11 มิ.ย. ช่วงกลางคืน เรือหายไป ตามที่เสนอข่าวไปแล้ว นั้น

 

ล่าสุด วันที่ 17 มิ.ย.67 เวลา 19.35 น. เรือของกลางทั้ง 3 ลำ ค่อยๆ ทยอยเข้าจอดเทียบท่าเรือกองกำกับการ 7 ตำรวจน้ำ จังหวัดสงขลา หลังจากถูกจับได้ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจจำเพาะมาเลเซีย

 

ทีมข่าวทราบรายงานข้อมูลเพิ่มเติมว่า นอกจากตำรวจน้ำสัตหีบ จะมีท่าเทียบเรือของตำรวจน้ำ สังกัดกองกำกับการตำรวจน้ำ 3 มีเรือสำหรับตรวจการและ เข้าจับกุมเรือผิดกฎหมาย ยังพบว่า มีระบบสำหรับตรวจตรา ด้วยกล้อง cctv ที่มีความสามารถตรวจตราและ ใช้แทนกล้องส่องทางไกล เป็นภาพมุมสูงบริเวณสำนักงานตำรวจน้ำ เป็นกล้อง 2 ตัว สามารถตรวจตราความผิดปกติทางทะเล และรวมถึงการกระทำผิดของเรือต่างๆ ซึ่งสามารถมองเห็นได้ทั้งภาพกลางวันและกลางคืนเนื่องจากมีระบบอินฟราเรด และเป็นระบบที่ใช้ในการตรวจตราควบคู่กับการเดินเรือตรวจตราทางทะเล

 

โดยกล้องระบบดังกล่าวได้มีการติดตั้งอยู่ด้านข้างสำนักงานตำรวจน้ำ ความสูงประมาณ 10 เมตร ติดตั้งกล้อง และสามารถหมุนได้ 180 องศาต่อตัว มีกล้องติดตั้งอยู่ 2 ตัว และควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ภายในสำนักงาน ซึ่งจะสังเกตว่า ทิศทางของกล้องจะหันไปทางซ้าย และขวา เพื่อที่จะมีการบันทึกภาพหรือตรวจตราได้รอบทิศ และกล้องระบบดังกล่าวเป็นเสมือนกล้องส่องทางไกล ที่สามารถซูมและมองเห็นได้ในระยะไกล เพื่อดูความผิดปกติของเรือที่กระทำผิดกฎหมาย ก่อนจะประสานให้เรือตรวจการออกไปตรวจสอบ

 

ภายหลังทีมข่าวช่องแปดได้รับข้อมูล เกี่ยวกับกล้องส่องทางไกลและระบบcctv ซึ่งมีการตรวจจับความเคลื่อนไหวของเรือในน่านน้ำชายฝั่งสัตหีบ ที่มีการติดตั้งระบบอยู่ที่สำนักงานตำรวจน้ำที่ 3 นั้น

 

หลังมีการตรวจสอบ ซึ่งได้รับข้อมูลจากทางเจ้าหน้าที่ตำรวจน้ำ ระบุว่าระบบควบคุม และกล้องส่องทางไกลระบบcctv ไม่ใช่การควบคุมหรือการกำกับดูแลของตำรวจน้ำ แต่เป็นของหน่วยงานสรรพสามิต ในการตรวจตราเรือผิดกฎหมาย และโดยเฉพาะเรือน้ำมันเถื่อนที่จะเข้าฝั่ง ในเขตพื้นที่สัตหีบ

 

ทีมข่าวตรวจสอบบริเวณใต้เสาสัญญาณ ซึ่งเป็นโคนเสาของกล้อง ปรากฏว่ามีการเขียนข้อความติดที่ตู้ควบคุม ด้วยภาษาอังกฤษระบุว่า “EXCISE Department“ หรือ ”แผนก สรรพสามิต“ พร้อมกับมีโลโก้สัญลักษณ์ของกรมสรรพสามิตติดอยู่

 

จากนั้นทีมข่าวได้รับอนุญาตจากทางตำรวจน้ำ พาขึ้นไปดูที่ห้องสิบเวร บริเวณชั้น 2 ของสำนักงานตำรวจน้ำที่ 3 พบว่ามีตู้เซิร์ฟเวอร์ควบคุมควบคุมติดตั้งอยู่ แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจน้ำไม่สามารถเปิดหรือมีกุญแจ เนื่องจากอยู่ภายใต้การกำกับดูแลและควบคุมโดยกรมสรรพสามิต เพียงแค่เจ้าหน้าที่ สรรพสามิตมีการนำเซิร์ฟเวอร์มาฝากเอาไว้ที่ตำรวจน้ำ จากนั้นมีการควบคุมระยะทางไกลที่สำนักงานใหญ่เท่านั้น , และตอนที่ทีมข่าวไปสำรวจดูนั้นก็พบว่าเป็นตู้กระจกมีกุญแจล็อก ด้านในมีระบบครอบคลุมแต่ไม่สามารถเปิดดูได้ และไม่มีจอควบคุมที่ตำรวจน้ำ

 

ทีมข่าวได้มีการบินโดรน เก็บภาพมุมสูง เพื่อดูลักษณะการทำงาน เนื่องจากไม่สามารถปีนขึ้นไปบริเวณเสากล้องส่องทางไกลระบบ cctv ได้ เนื่องจากมีความสูงประกอบกับต้องใช้เจ้าหน้าที่ของสรรพสามิตเป็นคนพาขึ้นไป จึงได้มีการใช้โดรน เก็บภาพลักษณะของการทำงานตัวกล้องแทน

 

ซึ่งจากการบินดูภาพมุมสูง จะเห็นมุมกล้องที่มีการติดตั้งของกล้องตรวจการ หรือกล้องส่อง cctv ซึ่งจะมองเห็นออกไปถึงด้านนอกทะเล และหมู่เกาะ รวมทั้งท่าเรือตำรวจน้ำและท่าเรือประมง แต่จะมีการบดบังทัศนวิสัยเล็กน้อย โดยเฉพาะต้นตาล ที่สูงระดับเดียวกันกับมุมกล้อง จึงทำให้บางมุมอาจจะเป็นจุดลับบางสายตา หรือจุดอับได้

 

และลักษณะกล้องเป็นกล้องรุ่นขนาด ซึ่งภายในจะสังเกตว่ามี 2 เลนส์ โดยเป็นเลนส์ซูมและเลนส์ปกติ ซึ่งเสมือนเป็นกล้องส่องทางไกลแต่ควบคุมด้วยระบบ cctv โดยมีกล้องทั้งหมด2ตัว แบ่งเก็บรัศมีฝั่งซ้ายและฝั่งขวา ฝั่งละ 180 องศา เพื่อที่จะให้สำรวจและตรวจตราบริเวณโค้งน้ำ ฝั่งท่าเรือสัตหีบ

 

ทีมข่าวได้ข้อมูลจาก เจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมระบบกล้องส่องทางไกล cctv ให้ข้อมูลทางโทรศัพท์กับทีมข่าว ว่า ระบบกล้องดังกล่าวเป็นระบบกล้องที่ซูมระยะไกลได้ถึง 5 กิโลเมตร ในลักษณะแนวราบ หากไม่บดบังด้วยหมู่เกาะ หรือต้นไม้ ก็สามารถมองเห็นได้ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน ซูมและเห็นเรือได้ทุกลำ , และกล้องตรวจตราด้วยระบบcctv ชุดดังกล่าว เป็นกล้องสังกัดของกรมสรรพสามิต ซึ่งมีภารกิจใช้สำหรับตรวจตราเรือผิดกฎหมายและเรือน้ำมันเถื่อน แต่มีการนำระบบไปฝากไว้ที่ตำรวจน้ำ และคอยประสานงานทำงานร่วมกัน แต่คนควบคุมและตรวจตราเป็นเจ้าหน้าที่ของสรรพสามิต ซึ่งไม่ใช่ตำรวจน้ำ

 

อีกทั้งกล้องรุ่นดังกล่าวจะมีระบบตรวจจับสัญญาณ GPS ที่มีการติดตั้งบนเรือประมงและเรือพาณิชย์ ในระบบ เอไอเอส แต่ ไม่สามารถตรวจจับสัญญาณ GPS ในระบบ วีเอ็มเอส ได้ เพราะเนื่องจากเป็นระบบคลื่นความถี่ของเรือประมงที่นิยมใช้ และเชื่อว่าเรือลำที่ถูกตรวจยึดมีการใช้สัญญาณ GPS วีเอ็มเอส โดยไม่ใช่ระบบ เอไอเอส ฉะนั้นจึงไม่ขึ้นระบบของสรรพสามิต

 

และหลังเกิดเหตุเกิด ได้มีเจ้าหน้าที่จากตำรวจสอบสวนกลางหรือกองปราบ ได้เข้ามาประสานเพื่อขอดูระบบย้อนหลังเกี่ยวกับการบันทึกของกล้องตรวจตราชุดดังกล่าวแล้ว แต่ปรากฏว่าไม่สามารถบันทึกย้อนหลังได้ทั้งก่อนและหลังเกิดเหตุ เนื่องจากมีเหตุฟ้าผ่า จึงทำให้ระบบบันทึกย้อนหลังหรือตัวเครื่องเอ็นวีอาร์ ซึ่งเป็นระบบบันทึกcctv ไม่สามารถจัดเก็บข้อมูลย้อนหลังได้ จึงทำให้เป็นเพียงแค่ระบบควบคุมและดูแบบเรียลไทม์ และทางสรรพสามิตก็ได้มีการให้เจ้าหน้าที่สอบสวนกลาง เข้ามาทำการตรวจสอบร่วมกับสรรพสามิตแล้ว ก็ไม่สามารถบันทึกย้อนหลังเกี่ยวกับไทม์ไลน์ในวันที่หายได้ แต่ทั้งนี้เพื่อความบริสุทธิ์ใจ ทีมข่าวช่องแปดก็สามารถที่จะทำเรื่องไปยังอธิบดีกรมสรรพสามิต เพื่อประสานขอตรวจสอบได้เพื่อความโปร่งใส ว่าระบบเสียหายจริง

 

ขณะที่เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา ลูกเรือ 11 คน จาก 28 คน ที่ตกเป็นผู้ต้องหาหลังจากที่ถูกตำรวจจับกุมตัวได้เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2567 พร้อมกับเรือ 5 ลำที่มีการบรรทุกน้ำมันได้ที่บริเวณอ่าวไทยในจุดของใกล้เเท่นขุดเจาะน้ำมันปิโตรเลียม ซึ่งในเรือทั้ง 5 ลำมี น้ำมันอยู่ในเรือ และมีลูกเรือทั้งหมด 28 คน ทั้งสัญชาติไทน เมียนมา สปป.ลาว และกัมพูชา เเต่ส่วนใหญ่จะเป็นคนไทย ประมาณ 90% ทำหน้าที่เป็นลูกเรือ ควบคุมเรือ โดยในได้มีการเเจ้งข้อหาร่วมกันพยายามนำเข้าหรือส่งออกของที่ยังไม่ผ่านวิธีทางศุลกากร ก่อนที่ต่อมาเรือที่บรรทุกน้ำมัน ที่ถูกยึดไว้เป็นของกลางจะหายไป 3 ลำ แต่กลุ่มผู้ต้องหาที่เข้ามารายงานตัววันนี้ไม่ใช่กลุ่มทีอยู่ในเรือ 3 ลำที่หายไป

 

โดยทนายความได้นำลูกเรือทั้ง 11 คนมายัง กองกำกับการ 2 กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (กก.2บก.ปอศ) เพื่อมารายงานตัว ซึ่งก่อนหน้านี้ทั้งหมดได้มีการประกันตัวออกไป โดยลูกเรือส่วนใหญ่ปฏิเสธให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน มีเพียงรายเดียวที่บอกสั้นๆเพียงว่า "ผมอยู่แต่ในเรืออย่างเดียว ผมไม่ได้ไปด้วย" ก่อนจะเข้าห้องไป ไปห้องสอบสวนทันที

 

ขณะที่ พันตำรวจเอกชัชวาล ชูชัยเจริญ ผู้กำกับการ กองกำกับการ 2 กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ) บอกว่า วันนี้เรียกตัว ผตห.ในคดีขายน้ำมันเถื่อน 5 ลำ ที่จับกุมได้ เมื่อวันที่ 19 มีนาคม ตอนนั้นมีผู้ต้องหา 28 คน โดยหลังทราบเรื่องว่ามี ลูกเรือบางส่วนนำเรือของกลางพร้อมน้ำมันหนีไปจากจุดที่ควบคุม ทางเราจึงได้ประสานไปยังทนายความที่เป็นนายประกันให้ โดยนำหมายเรียก ให้ผู้ต้องหาทั้ง 28 คน ที่ได้รับการประกันตัวออกไป จำนวน 3.1 ล้านบาท (ทั้งหมด) ให้พาผู้ต้องหามารายงานตัว เพื่อตรวจสอบว่ามีใครบ้างที่หายไป ซึ่งวันนี้มาเพียง 11 คน และมีอีก 2 คน คนไทยและเมียนมาที่ไม่ได้มา ซึ่งได้กำชับทางทนายให้รีบพามารายงานตัว / ส่วนที่หลบหนีไปกับเรือของกลาง จำนวน 15 คน หลังจากนี้จะไปหารือกับอัยการสูงสุด เนื่องจากเป็นคดีนอกราชอาณาจักร ว่าจะออกหมายหรือไม่

 

ส่วนเมื่อถามว่าเหตุใดในคดีแรกถึงให้ประกันตัวผู้ต้องหาทั้ง 28 คน เนื่องจาก เรือลำที่บรรทุกน้ำมัน มีการชำรุดต้องสูบน้ำออกตลอดเวลา หากจะต้องใช้บุคลากรอื่นมาดูแลจะไม่ครอบคลุม จึงมีการพิจารณาให้ประกัน และให้มาดูแลเรือ ซึ่งทนายได้สัญญาว่าจะไม่หลบหนี

 

ส่วนลูกเรือที่หลบหนีไปนั้นจะมีการเพิกถอนใบประกันและเตรียมออกหมายจับ

 

ส่วนคดีลักเรือไปนั้นเป็นหน้าที่ของกองปราบในการตรวจสอบหาข้อเท็จจริง ว่ามีพฤติการณ์ในการลักเรือหรือไม่ ซึ่งหลังจากผู้ต้องหารายงานตัวเสร็จแล้วจะประสาน ตำรวจกองปราบจะไปขยายผลว่า มีส่วนร่วมกับการลักเรือหรือไม่ หากมีพยานหลักฐานเชื่อมโยงทางกองปราบก็จะแจ้งข้อหาลักเรือ รวมถึงผู้ต้องหา 15 คนที่หนีไปด้วย

ประภาคารต้นเหตุปล่อยเรือน้ำมันเถื่อนหนี ช่อง 8 สืบเจอฟ้าผ่าจับโป๊ะตำรวจรับบาป