องค์การอนามัยโลกเผย โอมิครอนสายพันธุ์ BA.2 น่ากังวล เนื่องจากแพร่ไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ชี้ ถึงแม้ไม่รุนแรง แต่ยังคงต้องจับตาดูกันต่อไป

 

สืบเนื่องจากวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้แถลงการณ์เกี่ยวกับ BA.2 สายพันธุ์ย่อยของโอมิครอนว่า กลุ่มที่ปรึกษาทางเทคนิคเกี่ยวกับการปรับสายพันธุ์ของไวรัสซาร์ส-โควี-2 ซึ่งก่อให้เกิดโรคโควิดขององค์กรอนามัยโลก หรือ กลุ่ม SARS-CoV-2 Virus Evolution (TAG-VE) ที่อยู่ระหว่างการดำเนินการทำงาน เพื่อหารือเกี่ยวกับหลักฐานล่าสุดของโอมิครอน รวมถึงสายพันธุ์ย่อยทั้ง 2 สายพันธุ์ได้แก่ BA.1 และ BA.2.

จากข้อมูลที่มีอยู่เกี่ยวกับการแพร่เชื้อ ความรุนแรง การติดเชื้อซ้ำ การวินิจฉัย การรักษา และผลกระทบของวัคซีน ซึ่งกลุ่มดังกล่าวได้เน้นย้ำว่า สายพันธุ์ย่อย BA.2 ควรได้รับการพิจารณาว่าเป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวลต่อไป ทั้งนี้ กลุ่มที่ปรึกษาเน้นว่า BA.2 ควรได้รับการตรวจสอบโดยหน่วยงานด้านสาธารณสุขต่อไป

โดย 'โอมิครอน' เป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวลในปัจจุบัน เนื่องจาก เป็นสายพันธุ์หลักที่แพร่ไปทั่วโลก อ้างอิงจากสถิติที่รายงานไปยัง 'GISAID Omicron' ซึ่งประกอบด้วยสายพันธุ์ย่อยหลายสายพันธุ์ โดยแต่ละสายพันธุ์ย่อยนั้น ได้รับการตรวจสอบโดยองค์การอนามัยโลก และพันธมิตร ซึ่งสายพันธุ์ที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ BA.1, BA.1.1 (หรือ Nextstrain clade 21K) และ BA.2 (หรือ Nextstrain clade 21L) โดยสามารถพบได้ทั่วโลก จากรายงานพบว่า สัดส่วนของ BA.2 นั้นเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับ BA.1 ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่าการแพร่กระจายของเชื้อทั่วโลกนั้นลดลง

ทั้งนี้ โอมิครอนสายพันธุ์ BA.2 นั้น แตกต่างจาก BA.1 ในลำดับพันธุกรรม ซึ่งรวมถึงความแตกต่างของกรดอะมิโนบางอย่างในโปรตีนสไปค์ และโปรตีนอื่น ๆ จากการศึกษาพบว่า BA.2 มีความได้เปรียบในการเติบโตมากกว่า BA.1 ซึ่งการศึกษากำลังดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำความเข้าใจสาเหตุของความได้เปรียบในการเติบโตนี้ แต่ข้อมูลเบื้องต้นชี้ให้เห็นว่า BA.2 นั้นสามารถแพร่เชื้อได้ดีกว่า BA.1 ซึ่งปัจจุบันยังคงเป็นสายพันธุ์ย่อยของโอมิครอนที่พบได้บ่อยที่สุด นอกจากนี้ แม้ว่าการแพร่กระจายของ BA.2 จะเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนเมื่อเทียบกับสายพันธุ์ย่อยอื่น ๆ ของโอมิครอนได้แก่ BA.1 และ BA.1.1 แต่โดยภาพรวมทั่วโลก การรายงานการแพร่นั้นเชื้อลดลง

ด้าน การศึกษากำลังประเมินความเสี่ยงของการติดเชื้อซ้ำด้วย BA.2 เมื่อเปรียบเทียบกับ BA.1 อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเบื้องต้นจากการศึกษาการติดเชื้อซ้ำในระดับประชากรแนะนำว่า หากติดเชื้อ BA.1 ให้การป้องกันการติดเชื้อ BA.2 ซ้ำ จะเป็นการดีที่สุด

ในขณะที่ ข้อมูลจากห้องปฏิบัติการเบื้องต้นที่ประเทศญี่ปุ่นสร้างขึ้น โดยใช้แบบจำลองจากสัตว์ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันต่อ SARS-CoV-2 ซึ่งเน้นว่า BA.2 อาจทำให้เกิดโรคที่รุนแรงกว่าในแฮมสเตอร์ เมื่อเทียบกับ BA.1 พวกเขายังพิจารณาข้อมูลในความเป็นจริงเกี่ยวกับความรุนแรงในคนจากแอฟริกาใต้ สหราชอาณาจักร และเดนมาร์ก ซึ่งมีภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีน หรือการติดเชื้อตามธรรมชาติสูง ซึ่งยังไม่มีรายงานความแตกต่างด้านความรุนแรงระหว่าง BA.2 และ BA.1.

อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลกจะยังคงเฝ้าติดตามโอมิครอนสายพันธุ์ BA.2 อย่างใกล้ชิด และขอให้ประเทศต่าง ๆ ระมัดระวังตัว เพื่อติดตาม และรายงาน ตลอดจนทำการวิเคราะห์ และเปรียบเทียบระหว่างสายพันธุ์ย่อยต่าง ๆ ของโอมิครอนต่อไป