นักวิชาการ ประเมิน ส่งออกทุเรียนไทย 5 ปี ข้างหน้า มีโอกาสเสียหาย 4 หมื่นล้านต่อปี แนะรักษาความสัมพันธ์ไทย-จีน ควบคุมคุณภาพ เพื่อให้ไทยครองเบอร์หนึ่งต่อไป
เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผอ.ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แสดงผลวิเคราะห์ความเสี่ยงทุเรียนไทย "3 ปัง 10 พัง" ในอีก 5 ปีข้างหน้า (2565-69)
3 ปัง ได้แก่
1. ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างไทยกับจีน
2. ผู้บริโภคจีนมีความต้องการสูง
3. คงคุณภาพทุเรียนให้ดี
10 พัง ได้แก่
1. ความสัมพันธ์ไทย-จีน มีปัญหา
2. ไม่ควบคุมคุณภาพทุเรียน
3. ทุเรียนจากจีนและประเทศเพื่อนบ้าน
4. โดนสวมสิทธิ์ทุเรียน
5. ปัญหาจากการขนส่ง
6. ล้งควบคุมตลาด
7. สภาพภูมิอากาศ
8. ขาดแรงงาน
9. โรคระบาด
10. ผลผลิตไทยเพิ่มมากขึ้น
ราคาทุเรียน 5 ปี (2565-2569)
ราคาขายส่งทุเรียนหมอนทองไทย (เฉลี่ยทั้งประเทศ) ประมาณ 136 บาท/กก. แต่หากจีนนำเข้าทุเรียนไทยน้อยกว่า 10% ราคาขายส่งทุเรียนหมอนทองไทย ณ ตลาดเจียงหนาน ปี 2569 ประมาณ 312 บาท/กก.
ซึ่งเฉลี่ยราคาในปี 2565-2569 ประมาณ 271 บาท/กก. ในทางกลับกับหากจีนนำเข้าทุเรียนไทยเพิ่ม 10-15% ราคาขายส่งทุเรียนหมอนทองไทย ณ ตลาดเจียงหนาน ปี 2569 ประมาณ 362-417 บาท/กก. เฉลี่ยราคาในปี 2565-2569 ประมาณ 313-361 บาท/กก.
รูปแบบการค้าทุเรียนไทย ประกอบด้วย 5 รูปแบบ ได้แก่
1. เกษตรกรขายให้พ่อค้าคนกลาง (ในประเทศไทย) (15%)
2. เกษตรกรขายให้ล้งเพื่อส่งออกไปตลาดค้าส่งในประเทศจีน (50%)
3. เกษตรกรขายปลีกเองที่สวน ขายออนไลน์ และเปิดสวนท่องเที่ยวเชิงเกษตร (ขายในประเทศ) (5%)
4. เกษตรกรขายให้ล้งเพื่อส่งออกไปร้านค้าปลีกผลไม้พรีเมียมในจีน (10%)
5. เกษตรกรเป็นผู้ส่งค้าและเป็นผู้ส่งออกเอง (ไปจีน) (20%)
ทุเรียนปี 2565 ทำเงินสะพัด 7 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2564 เท่ากับ 6 หมื่นล้านบาท (ปี 2564 เท่ากับ 6.4 แสนล้านบาท) หรือ 8.6% เมื่อเทียบกับปี 2564 โดยภาคตะวันออกมีเงินสะพัดมากที่สุด รองลงมาคือ ภาคใต้ และภาคเหนือ ตามลำดับ