"ช่อ-ไอติม" นำทีมคณะก้าวหน้า-พรรคก้าวไกล ยื่น ชื่อประชาชน 80,772 รายชื่อต่อประธานรัฐสภา เดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญหมวด 14 ว่าด้วยการปกครองส่วนท้องถิ่น ให้มีเลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ

 

วันที่ 11 ก.ค. 2565 ..พรรณิการ์ วานิช กรรมการบริหารคณะก้าวหน้า และ นายริษฐ์ วัชสินธุ ผู้จัดการการสื่อสารและการรณรงค์นโยบายพรรคก้าวไกล ตัวแทนจากคณะก้าวหน้าและพรรคก้าวไกล นำรายชื่อประชาชนจำนวน 80,772 รายชื่อจาก 77 จังหวัดทั่วประเทศไทยร่วมแสดงพลัง ร่วมแก้ไขรัฐธรรมนูญหมวด 14 ว่าด้วยการปกครองส่วนท้องถิ่น ปลดล็อกทุกพื้นที่ในไทยให้กำหนดอนาคตตัวเองได้ จากแคมเปญ " ขอคนละชื่อ #ปลดล็อกท้องถิ่น " มายื่นต่อนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยมีนางผ่องศรี ธาราภูมิ คณะทำงานทางการเมืองของประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นตัวแทนรับเรื่อง

..พรรณิการ์ วานิช กรรมการบริหารคณะก้าวหน้า กล่าวว่า ในการยื่นร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญครั้งนี้เป็นการแก้ไขหมวดว่าด้วยการกระจายอำนาจ ซึ่งมีประชาชนที่เราตรวจสอบคุณสมบัติแล้วจำนวน 80,772 รายชื่อ จากประชาชน 77 จังหวัดทั่วประเทศ และมีส่วนหนึ่งต้องนำออกไป เนื่องจากอายุยังไม่ถึงเกณฑ์ที่จะเข้าชื่อเสนอแก้ไขกฎหมายได้ และตลอด 3 เดือนของการรณรงค์ที่ถือว่าใช้เวลาอย่างรวดเร็ว ทั้งที่ช่วงแรกคิดว่าเรื่องดังกล่าวน่าจะเป็นเรื่องยากลำบากในการอธิบาย แต่ด้วยคำคำเดียวก็ทำให้ทุกคนเข้าใจ ว่าเป็นการแก้ไขกฎหมายเพื่อให้ปลดล็อกท้องถิ่น สามารถเลือกผู้บริหารสูงสุดของจังหวัดได้ด้วยตนเอง โดยเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เราให้ความสนใจและเป็นนโยบายตั้งแต่พรรคอนาคตใหม่ ที่เห็นว่าควรยุติราชการรวมศูนย์ รวมทรัพยากร งบประมาณ อำนาจไว้ที่ส่วนกลาง แต่ควรให้ท้องถิ่นได้บริหารได้ด้วยตนเอง เรื่องนี้เราได้ดำเนินการสองส่วนคือจากบนลงล่าง คือการผลักดันแก้ไขกฎหมาย และล่างขึ้นบนคือการพบปะประชาชนในจังหวัดต่าง ๆ

..พรรณิการ์ ยังกล่าวว่าการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว จะทำให้รัฐส่วนกลางไม่สามารถเอากฎหมายไปครอบ และละเมิดวิถีชีวิตของจังหวัดต่าง ๆ รวมทั้งการออกกฎหมายโดยไม่เข้าใจปัญหาของคนในพื้นที่ได้ เป็นการปลดปล่อยศักยภาพของทุกจังหวัด

 

ด้าน นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ผู้จัดการการสื่อสารและการรณรงค์นโยบายพรรคก้าวไกล ในฐานะตัวแทนพรรคก้าวไกล กล่าวว่า การลงชื่อของประชาชน แสดงถึงความตื่นตัวที่อยากเห็นการบริหารจัดการบ้านเมืองโดยเนื้อหาของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เรานำมายื่นจะเป็นการปลดล็อกท้องถิ่นใน 3 เรื่อง คือ

1. การกระจายอำนาจให้สามารถเลือกผู้นำของตัวเอง ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นกระแสที่เกิดขึ้นหลังการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ที่แต่ละจังหวัดต่างเห็นว่าทำไมกทม.สามารถเลือกผู้นำของตนเองได้ ทั้งที่จังหวัดอื่นๆ ก็น่าจะมีโอกาสเช่นกัน
2. การกระจายงาน โดยเฉพาะงานสาธารณะที่ถูกตัดสินใจจากส่วนกลาง ก็จะเป็นการปลดล็อกให้ท้องถิ่นมีความอิสระในการบริหารโดยเฉพาะระบบสาธารณูปโภค
3. การกระจายงบประมาณ ที่ปัจจุบันจะพบว่าท้องถิ่นได้รับงบประมาณเพียงร้อยละ 29 จากทั้งหมด ไม่รวมงบฝากที่นำไปแปะไว้กับจังหวัดต่าง ๆ ก็จะพบว่าจริง ๆ แล้วจังหวัดต่าง ๆ ได้รับงบประมาณเพียงแค่ร้อยละ 23 เท่านั้น

นายริษฐ์ กล่าวอีกว่า การมายื่นครั้งนี้มีความคาดหวังว่าประธานรัฐสภาจะบรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระพิจารณา และ สส. , สว.เห็นชอบกับข้อเสนอของเรา โดยอย่ามองว่าร่างดังกล่าวเป็นร่างของพรรคก้าวไกลหรือคณะก้าวหน้า แต่ให้มองว่าเป็นร่างของประชาชนทุกคน และไม่ว่าความคาดหวังในครั้งนี้จะสำเร็จหรือไม่ ก็จะยังคงผลักดันเรื่องการกระจายอำนาจต่อไป ซึ่งหวังว่า ปรากฏการณ์ของร่างนี้จะสะท้อนว่าการเมืองเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ เช่นเดียวกับร่าง พร.สมรสเท่าเทียมที่ได้รับความเห็นชอบจากสภาฯ