"พายุโนรู" ทำพิษ ฝนถล่มชัยภูมิ น้ำป่าทะลักท่วมโซนเศรษฐกิจ

 


วันที่ 29 ก.ย. 65 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.ชัยภูมิ ใกล้วิกฤต เนื่องจากเกิดพายุโนรู ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลให้พื้นที่ จ.ชัยภูมิ เกิดฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องมาหลายวัน โดยเฉพาะวันนี้ในพื้นที่ตัวเมืองชัยภูมิ หรือโซนเศรษฐกิจใจกลางเมืองชัยภูมิ ได้เกิดฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องติดต่อกัน วัดปริมาณน้ำฝนได้ 53 มม. ถือว่าหนักสุดเพียงช่วงมีฝนตกเพียงวันเดียวที่ผ่านมาทำให้มีมวลน้ำได้ผุดขึ้นมาตามท่อระบายน้ำ เข้าท่วมตามผิวจราจรตามถนนสายต่าง ๆ ในเมืองชัยภูมิ

ล่าสุดประชาชนในพื้นที่ชุมชนต่าง ๆ ทั่วเขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ ได้รับผลกระทบหนัก น้ำฝนที่รอการระบายได้ทะลักท่วมในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ ถนนหลายเส้น ในตัวเมืองชัยภูมิจมอยู่ใต้น้ำ ตามเส้นทางหลักที่มีประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่น ร้านค้า ย่าน 4 แยกโรงเลื่อยเก่า ถนนชัยประสิทธิ์ มีระดับน้ำท่วมผิวถนนสูง ทางจังหวัดได้เร่งแจ้งเตือนประชาชนในทุกพื้นที่และทางเทศบาล ยังได้เร่งติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่ม เพื่อให้การสูบน้ำออกจากตัวเมืองชัยภูมิได้เร็วยิ่งขึ้นแล้ว โดยเฉพาะชาวบ้านในเมืองชัยภูมิ ต่างหวาดผวาหวั่นว่า ในตัวเมืองจะเกิดน้ำท่วมได้อีกซ้ำเสียหายเหมือนปีที่ผ่านมา และยังคงเฝ้าระวังป้องกันน้ำไหลเข้าบ้านกันเพิ่มมากขึ้นอีกครั้ง

 

 

ซึ่งวันนี้ นายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัด จะเรียกประชุมส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเข้าประชุมเพื่อเตรียมการรับมือพายุโนรู ที่กำลังพัดถล่มในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ จนสร้างความเสียหายใหักับประชาชนใน อำเภอกันทั่วหน้า ประกอบด้วย อ.จัตุรัส อ.หนองบัวระเหว อ.หนองบัวแดง อ.เทพสถิต อ.บ้านเขว้า อ.เกษตรสมบูรณ์ และอ.เมืองชัยภูมิ

โดยได้ตั้งศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขึ้นที่บริเวณศาลากลางจังหวัดชัยภูมิ นอกนั้นยังได้ระดมกำลังจิตอาสาเจ้าหน้าที่ อาสาสมัคร (อส.) จำนวน 1 กองร้อย ได้นำทรายเร่งบรรจุกระสอบเอาตั้งเป็นแนวกันน้ำทะลักท่วมศาลากลางจังหวัด ทั่วทั้ง 5 ประตูเพื่อป้องกันน้ำป่าทะลักเข้าท่วมตึกอาคารศาลากลางและภายในบริเวณศาลากลางจังหวัด

 

 

ทั้งนี้ ทางสถานีอุตุนิยมวิทยาชัยภูมิ ได้คาดการณ์ว่าในช่วงวันที่ 28 ก.ย. – 2 ต.ค. 65 พื้นที่จังหวัดชัยภูมิต้องเฝ้าระวังน้ำท่วมและน้ำป่าไหลหลากในหลายพื้นที่จากอิทธิพลของพายุ “โนรู” ซึ่งจะมาในรูปแบบของพายุซูเปอร์ใต้ฝุ่น (หนักกว่าพายุเตี้ยนหมู่และโพดุล ในปี 64) จึงได้ให้ทางชลประทานทำหนังสือแจ้งไปยังอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ รวมถึงชาวบ้านริมน้ำและในพื้นที่เสี่ยงภัยเร่งอพยพ และขนของขึ้นที่สูงโดยเร็ว นอกจากนี้ยังกำชับให้อ่างเก็บน้ำห้วยยางบ่า จำเป็นต้องเร่งพร่องน้ำอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันมวลน้ำทะลักเข้าสู่ตัวเมือง ซึ่งหากนับจากตอนนี้ยังมีเวลาอีกประมาณ 2 วัน ก่อนที่พายุโนรู จะเข้า