"โรม" บุก บช.ปส.ทวงความคืบหน้าคดี "ส.ว.ทรงเอ" จ่อยื่น ป.ป.ช.สอบผู้พิพากษา

วันที่ 13 มี.ค. ที่ กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด (บช.ปส.) นาย รังสิมันต์ โรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล พร้อมด้วย นายอัจฉริยะ เรืองรัตนพงศ์ นำป้ายข้อมูลมาแสดงพร้อมแถลงต่อสื่อมวลชน กรณีการติดตามความคืบหน้าการดำเนินคดี ของ สมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.)คนหนึ่ง เนื่องจากสำนักงานอัยการสูงสุดมีคำสั่งให้ กองบังคับการปราบปรามยาเสพติด 3 (บช.ปส.)ดำเนินคดีของ ทุนมิลัด ที่ปรากฏข้อมูลชื่อ..รายดังกล่าว เข้าไปพัวพันจนนำไปสู่การออกหมายจับ 2 ข้อหา คือ สมคบกันเกี่ยวกับยาเสพติดฯ และฟอกเงินคดีนอกราชอาณาจักร และพบว่ามีการถอนหมายจับเมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2565

นายรังสิมันต์ กล่าวว่า ตั้งใจจะมาที่นี่ไม่ใช่เพื่อยื่นหนังสือ หรือมาร้องเรียนการทำงานของตำรวจ แต่ต้องการชี้แจงเพื่อต้องการคำตอบว่าเหตุใดการทำคดีของ..รายนี้มีความล่าช้า เนื่องจากมีการถอนหมายจับไปเป็นเวลากว่า 162 วันแล้ว ตนเข้าใจว่าช่วงประชุมสภาผู้แทนราษฎร ไม่สามารถออกหมายเรียกได้ แต่หลังประชุมเสร็จ กลับไม่มีการดำเนินการใดทั้งสิ้น แม้แต่หมายเรียกที่เป็นขั้นพื้นฐานของตำรวจในการเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาสอบปากคำ

ส่วนตัวมองว่ากระบวนการของคดีนี้อาจมีการแทรกแซงหรือช่วยเหลือจาก พล... ชื่อย่อ ส นอกราชการ ระดับสูง ที่เข้ามาพยายามช่วยเหลือ พร้อมให้คำแนะนำเรื่องรูปคดี เนื่องจากโทษของพฤติการณ์ดังกล่าวสูงถึงขั้นประหารชีวิต เพราะผู้ถูกกล่าวหามีตำแหน่งหน้าที่สมาชิกวุฒิสภา มีโทษสูงกว่าประชาชน 2-3 เท่า 

นายรังสิมันต์ กล่าวอีกว่า ก่อนมาที่นี่ตนได้ไปยื่นหนังสือถึงพล...ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตรเมื่อวันที่ 28 ก.พ. ที่ผ่านมา และมีหนังสือตอบกลับมาให้กับตนเป็นลายเซ็นของผบ.ตร.แล้ว

ในกรณีที่ตำรวจชุดจับกุมคดี ทุนมิลัด ถูกโยกย้ายจนทำให้คดีไม่มีความคืบหน้า เพราะต้องเสียตำรวจน้ำดีไปปฏิบัติราชการพื้นที่อื่น การโยกย้ายข้าราชการเหล่านี้ทางพล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ต้องมีส่วนรับผิดชอบโดยตรง เพราะมีฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด 

นายรังสิมันต์ กล่าวต่อว่า ส่วนตัวไม่ได้มองว่าการทำหน้าที่ของตำรวจมีความบกพร่องในคดีทุนมิลัด ซึ่งเป็นสำนวนคดีแรก ที่ตำรวจปฏิบัติได้อย่างถูกต้องแล้ว แต่สงสัยว่าทำไมถึงมีการถอนหมายจับชั้นตุลาการ ในส่วนนี้อาจมีการแทรกแซงของพนักงานสอบสวนหรือไม่ ซึ่งเรื่องดังกล่าว ตนเคยยื่นต่อ สำนักงานคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมแล้ว

ส่วนสำนวนคดีที่ 2 ขณะนี้ที่อยู่กับ บช.ปส. ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบออกหมายเรียกหรือหมายจับ พบว่าติดขัด ทั้งที่หลักฐานอยู่ในสำนวนคดีแรกอย่างชัดเจนอยู่แล้ว เรื่องเส้นทางการเงินของบริษัทแห่งหนึ่ง มีความเชื่อมโยงไปยัง ส.ว. รายนี้ แต่กลับมีการอ้างว่าต้องแปลภาษาต่างประเทศจากบทสนทนาระหว่างผู้ต้องหา กับผู้ถูกกล่าวหาจำนวนมาก คดีจึงไม่มีความคืบหน้า

นายรังสิมันต์ ยอมรับว่า ติดใจกับการดำเนินการของ บช.ปส.อย่างเลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้สัปดาห์หน้า ตนจะเดินทางไปยื่นเรื่องที่ คณะกรรมการป้องกันและปรามการทุจริตแห่งชาติ (...) เอาผิดตุลาการทั้ง 3 ท่าน เรื่องมีการถอนหมายจับทันที หลังช่วงเช้าออกหมายจับ ด้วยเหตุผลอ้างว่าเป็นบุคคลสำคัญ ซึ่งตามกฎหมายไม่มี