รู้ไว้ก่อนอันตรายถึงตาย !! วิธีรับมือ"ฮีทสโตรก" มัชจุราชหน้าร้อน หลังร้อนปรอทแตกทั่วไทย ดัชนีพุ่งทะลุ 50 องศาเซลเซียส
นนี้ (6 เม.ย.66) กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์ค่าดัชนีความร้อนสูงสุดค่าดัชนีความร้อนสูงสุด
ภาคกลาง บางนา 50.2 องศาเซลเซียส
ภาคตะวันออก แหลมฉบัง จ.ชลบุรี 49.4 องศาเซลเซียส
ภาคเหนือ จ.เพชรบูรณ์ 40.6 องศาเซลเซียส
ภาคใต้ จ.ภูเก็ต47.9 องศาเซลเซียส
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ศรีสะเกษ 41.5 องศาเซลเซียส
กรมอุตุนิยมวิทยา ยังแจ้งเตือนค่าดัชนีความร้อนระดับเฝ้าระวังเตือนภัยผลกระทบต่อสุขภาพจากความร้อน ซึ่งกรมนามัย กำหนดค่าดังนี้
เฝ้าระวัง อุณหภูมิ 27-32 องศาเซลเซียส อ่อนเพลีย วิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีระษะ ปวดเมื่อยตามตัวจากการสัมผัสความร้อนหรืออกกำลังกาย หรือทำงานใช้แรงงานท่ามกลางอากาศที่ร้อน
เตือนภัย อุณหภูมิ 32-41 องศาเซลเซียส เกิดอาการตะคริวจากความร้อน และอาจเกิดอาการเพลียแดด (Heat Exhaustion) หากสัมผัสความร้อนเป็นเวลานาน
อันตราย อุณหภูมิ 41-54 องศาเซลเซียส มีอาการตะคริวที่น่อง ต้นขา หน้าท้อง หรือไหล่ ทำให้ปวดเกร็ง มีอาการเพลียแดด และอาจเกิดภาวะลมแดด (ฮีทสโตรก) ได้ หากสัมผัสความร้อนเป็นเวลานาน
อันตรายมาก อุณหภูมิมากกว่า 54 องศาเซลเซียส เกิดภาวะลมแดด (ฮีทสโตรก)
ทั้งนี้ช่อง 8 ออนไลน์ขอพาไปทำความรู้จักกับโรคฮีทสโตรก หรือ โรคลมแดด ภัยร้ายสุดอันตรายที่สามารถคร่าชีวิตได้อย่างรวดเร็วพร้อมกับแนะนำวิธีรับมือ
“โรคลมแดด” หรือ “ฮีทสโตรก” ( Heatstroke ) คือ โรคอันตรายที่พบได้บ่อยในช่วงหน้าร้อน และเกิดกับผู้ที่อยู่ท่ามกลางอากาศร้อนมากเกินไป โดยจะสำผลให้เกิดร่างกายมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ อาจส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อหัวใจ สมอง ไต และกล้ามเนื้อทำให้อันตรายถึงแก่ชีวิตได้
กลุ่มเสี่ยง
ㆍผู้ที่ทำงานกลางแดดจัด
ㆍผู้ที่ออกกำลังกายหนักเกินไป
ㆍนักกีฬาสมัครเล่น
ㆍเด็กหรือผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว
อาการ
ㆍมีใช้สูง ตัวร้อน อ่อนเพลีย
ㆍหน้ามืด คลื่นไส้ อาเจียน
ㆍซึม ชักก หมดสติ
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
นำผู้ป่วยเข้าร่ม นอนราบ
ยกเท้าสูงทั้งสองข้าง
ถอดเสื้อผ้าชั้นนอกออก
ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบตัว
ตามคอ หลัง รักแร้ ขาหนีบ ข้อพับ
และนำพัดลมเป๋า ระบายความร้อน
แจ้งสายด่วน 1669
หรือรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที
วิธีการป้องกัน
ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว
ใส่เสื้อผ้าสีอ่อน ไม่หนา
ระบายความร้อนได้ดี
หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดเป็นเวลานาน
หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
หากทำงานหรือเล่นกีฬา ไม่ควรหักโหม
ใช้ครีมกันแดด SPF 15 ขึ้นไป
ควรดูแลเด็กเล็กและผู้สูงอายุเป็นพิเศษ
ขอบคุณข้อมูล โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข