ซัดสาเหตุค่าไฟแพง !! "เสธ.หิ" แกนนำพรรครวมไทยสร้างชาติ ชี้เพราะ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์" อนุมัติซื้อพลังงาน
19 เม.ย. 66 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายหิมาลัย ผิวพรรณ แกนนำพรรครวมไทยสร้างชาติ ได้โพต์ข้อความถึงกรณีค่าไฟฟ้าแพง ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก
โดยระบุว่า "รัฐบาลยิ่งลักษณ์เร่งอนุมัติทิ้งทวน5000เมกะวัตต์นาน10ปี"
“รู้มั้ยครับ ก่อนผมจะเข้ามาเนี่ย มีการอนุมัติในเรื่องของด้านพลังงาน 5,000 เมกะวัตต์ โดยใครรู้มั้ยครับ? ท่านรู้มั้ย? ก่อนที่จะไม่มีอำนาจเนี่ย เร่งอนุมัติให้ 5,000 เมกะวัตต์ ผมเข้ามา ผมก็หนักใจว่าจะทำยังไงไอ้ 5,000 เมกะวัตต์เนี่ย ก็ได้หาวิธีการเจรจา ทำยังไงมันจะไม่เกิดปัญหา มีการปรึกษาฝ่ายกฎหมาย เขาก็บอก มันทำอะไรไม่ได้เลย เพราะมันเป็นสัญญาที่รัฐบาลก่อนหน้านั้นทำไว้ เมื่ออนุมัติ 5,000 เมกะวัตต์ เขาก็ต้องทำตามสัญญาที่รัฐบาลก่อนหน้าทำไว้ ผมยกเลิกไม่ได้นะครับ”
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อภิปรายชี้แจงประเด็นค่าพลังงาน
ทั้งนี้ ภายหลังจากการที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้อนุมัติทิ้งทวนไว้นั้น ทำให้กฟผ.ลงนามสัญญาซื้อก๊าซไฟฟ้าธรรมชาติจากบริษัทกัลฟ์ สูงถึง 5,000 เมกะวัตต์ไปแล้ว
พรรคเพื่อไทย ควรออกมาชี้แจงว่า ทำไมรัฐบาลยิ่งลักษณ์ถึงทำล็อคผูกพันค่าไฟแพงไว้? ทำไมถึงอนุมัติให้กฟผ.ต้องซื้อไฟฟ้าจากบริษัทกัลฟ์ ถึง 5,000 เมกะวัตต์ เป็นเวลาถึง 10 ปี? ส่งผลทำให้การสำรองไฟฟ้าล้นเกินความจำเป็น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตต้องจ่ายเงินให้เอกชน อิงตามเอกชน ทำให้ประชาชนต้องแบกรับค่าไฟฟ้าที่แพงมหาโหดนี้
ถามว่า ทำไม คสช.ไม่ระงับสัญญา?
ตอบว่า สัญญามีผลผูกพันไปแล้ว เค้าฟ้องร้องกันไปแล้ว แต่ไม่สำเร็จ
ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาว่า “การกระทำของกระทรวงพลังงานทั้งในส่วนของการส่งหนังสือถึงคณะกรรมการ BOI หรือการเรียกผู้ฟ้องคดีเข้าไปเพื่อเจรจาไกล่เกลี่ยยกเลิกสัญญาซื้อขายไฟฟ้านั้น เป็นการกระทำที่ละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี ทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหาย
ดังนั้น ศาลปกครองสูงสุดจึงพิพากษาให้กระทรวงพลังงานยกเลิกหนังสือของกระทรวงพลังงานที่มีถึงสำนักงานคณะกรรมการ BOI ในการให้ชะลอการสนับสนุน การส่งเสริมการลงทุนของโครงการของผู้ฟ้องคดี และให้กระทรวงพลังงานแจ้งสำนักงานคณะกรรมการ BOI ทราบ ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่มีคำพิพากษา
รวมถึงห้ามกระทรวงพลังงานนำผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงการประมูลการรับซื้อไฟฟ้าของโครงการดังกล่าวไปใช้เจรจากับผู้ฟ้องคดี เพื่อยกเลิกสัญญาซื้อขายไฟฟ้าอีกต่อไป ซึ่งคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดดังกล่าวถือเป็นที่สุด