"โรม" ฟาด "ตู่" ไร้สปิริตไม่ปล่อยบัลลังก์ "อนุชา" ฟาดกลับยังไม่ถึงเวลา
นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคก้าวไกล นัดหมายประชุมร่วมกับนายกสมาคมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้ง อบจ. อบต. เทศบาล เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาท้องถิ่น
โดยก่อนเริ่มประชุม ได้มีหารือนอกรอบกับ 3 นายกฯสมาคม โดยนายกสมาคม อบจ.ได้ขอบคุณพรรคก้าวไกล ที่เล็งเห็นความสำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และถือเป็นนิมิตรหมายที่ดี ยอมรับมีหลายข่าวคราว แต่เมื่อเสียงส่วนใหญ่เลือกพรรคก้าวไกลมาเป็นตัวแทน ซึ่งพรรคก้าวไกลก็มีนโยบายที่จะมารับฟังความคิดเห็น ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นับเป็นสิ่งที่ดี และหากเปรียบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นพีระมิด เราเปรียบเสมือนเป็นฐาน เพราะจะรับรู้ปัญหาต่างๆ และบริบทต่างๆของแต่ละองค์กร ย่อมแตกต่างกันไป
ด้านนายพิธา ยืนยันว่า เป้าหมายสำคัญที่สุดคือการกระจายความเจริญ ดังนั้น การกระจายอำนาจ คือกระบวนการไปสู่การพัฒนาความเจริญ ยืนยันไม่ได้ทำสิ่งที่สุดโต่ง ต้องมีระยะเวลาและแผนแม่บท อีกทั้งต้องเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วม จากนั้น ทั้ง 3 สมาคมได้มีการยื่นหนังสือเป็นข้อเรียบร้อยในการพัฒนาท้องถิ่นให้กับนายพิธา ด้วย
ขณะที่นายพิธา ได้ขอขอบคุณที่ได้ร่วมประชุมกันในวันนี้ และขอบคุณในช่วงที่ผ่านมา ในการร่วมแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปลดล็อคท้องถิ่น ซื้องวดนี้จะมารับฟังอุปสรรค และมองเป้าหมายการทำงานร่วมกันในช่วง 100 วันแรก ที่จะเป็น Quick Win ในการบริหารราชการร่วมกัน จากนั้นในช่วงหนึ่งปีแรกของรัฐบาล เราจะกระจายความเจริญ ก่อนที่จะกระจายอำนาจ จากนั้น ในวาระสี่ปีตั้งเป้าว่าจะทำอย่างไรให้ประชาชนได้รับบริการที่รวดเร็ว ซึ่งต้องได้สร้างความร่วมมือกันของท้องถิ่น
ทั้งนี้ วาระการประชุมเพื่อรับฟังข้อเสนอแนะแนวทางด้านการกระจายอำนาจ รวมถึงประเด็นของวาระผู้บริหารท้องถิ่น ที่มองว่าไม่ควรกำหนดวาระให้อยู่ดำรงตำแหน่ง คราวละ 4 ปี และติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้ เพราะมองว่าควรให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสิน เนื่องจากผู้บริหารมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ดังนั้นหากยังสามารถทำหน้าที่ และมีผลงาน ก็ควรให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจ
ขณะที่ นายรังสิมันต์ โรม ว่าที่ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล แถลงข่าวเรียกร้องขั้วอำนาจเก่าแสดงสปิริตแสดงความยินดีกับพรรคก้าวไกล โดยกล่าวว่าจากที่ติดตามข่าวตั้งแต่จบการเลือกตั้งจนมาถึงวันนี้ ยังไม่เห็นบุคคลในขั้วอำนาจเก่า เช่น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ออกมาแสดงความยินดีกับรัฐบาลใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่แปลก ที่เวลาผ่านมานานขนาดนี้ เรายังไม่เคยได้ยินคำพูดแสดงความยินดีกับผู้ชนะการเลือกตั้งจากปากพลเอกประยุทธ์
นายรังสิมันต์ กล่าวถึงกรณีเรื่องหุ้นไอทีวี พรรคก้าวไกลได้มีการเตรียมความพร้อมไว้หมดแล้ว ยืนยันว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องกลั่นแกล้งทางการเมือง หากดูเรื่องของช่วงเวลา ที่มีการปล่อยข่าวออกมาในช่วงใกล้เลือกตั้งน่าจะมีการหวังผลทางการเมือง ยืนยันว่าเรื่องนี้ทีการเตรียมความพร้อมและเตรียมตัวไว้แล้ว ไม่มีความกังวลใดๆ
"อย่าไปให้ความสำคัญกับความเห็นทางการเมืองของนายวิษณุ ในอดีตนายวิษณุอาจเป็นอาจารย์ด้านกฎหมาย แต่นายวิษณุไม่ได้ถูกทุกเรื่อง มองว่าแทนที่จะให้สัมภาษณ์ในลักษณะนี้ ควรจะไปบอกให้พลเอกประยุทธ์ มีสปิริต เก็บข้าวของออกจากทำเนียบ"นายรังสิมันต์ กล่าว
ด้านนายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าการที่พรรคก้าวไกลออกมาระบุว่านายกรัฐมนตรี ไม่เก็บข้าวเก็บของและออกมาพูดว่ารัฐบาลไม่โชว์สปิริตและไม่มีการมอบหมายหรือไม่มีการดำเนินการในลักษณะเหมือนเตรียมเก็บของ เพื่อที่จะออกจากทำเนียบรัฐบาล ตนคิดว่าเป็นการพูดที่เกินกว่าเหตุ
ทั้งนี้ รัฐบาลชุดนี้ยังไงจะทำหน้าที่จนกว่าจะมีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ และอยากให้เข้าใจ ไทม์ไลน์ ตรงกันไม่ใช่วันที่มีการเลือกนายกรัฐมนตรีแล้วตรงนั้น ก็ถือว่ายังไม่เสร็จสิ้นต้องให้มีครม.ใหม่ เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณก่อน นั่นถึงจะเรียกว่าเป็นการยุติของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ฉะนั้น ไม่มีเหตุผลอะไร ที่เราจะต้องเก็บเข้าเก็บของโชว์สปิริตในการที่จะไม่มาทำงาน เวลานี้เราต้องเข้ามาทำหน้าที่ แม้กระทั่งตามกระทรวงต่างๆรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรียังต้องเข้ามาทำงานทำเนียบรัฐบาลตามปกติ
ส่วนกรณีที่นายจเด็จ อินสว่าง สมาชิกวุฒิสภา ที่ให้ตั้งรัฐบาลแห่งชาติ เพื่อออกจากความขัดแย้ง ล่าสุด นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงข้อเสนอของนายจเด็จว่า การออกจากความขัดแย้ง เราต้องการรัฐบาลแห่งชาติหรือรัฐบาลแห่งประชาชน" เพราะ 8 พรรคที่ตั้งร่วมจับมือกันตั้งรัฐบาล ก็มาจากเสียงประชาชนเกินครึ่ง ดังนั้นหากเราเคารพในเสียงของประชาชน นี่คือจุดเริ่มต้นของความขัดแย้ง เพราะหากเราทำตรงกันข้าม นั้นคือต้นเหตุคือความขัดแย้ง
"ผมพร้อมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีของคนทุกคน พร้อมที่จะเป็นรัฐบาลแห่งประชาชน ไม่ได้เป็นแค่รัฐบาลแห่งชาติเพียงอย่างเดียว" นายพิธา ระบุ
ขณะที่อีกประเด็นที่ถูกจับตามอง ภายหลังจากที่นายพิธาขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี และ นั่งรมว.กลาโหม เรื่องของการปฏิรูปกองทัพ
โดยวันนี้ที่กระทรวงกลาโหม พ.อ.จิตนาถ ปุณโณทก รองโฆษกกระทรวงกลาโหม ที่การประชุม โดยบอกว่ามีความพร้อมแผนปฏิรูปกองทัพ ลดงบประมาณ
โดยจะยุติแผนการเสริมสร้างกองพลทหารราบที่ 7 และกองพลทหารม้าที่ 3 ของกองทัพบก ปรับลดกำลังทหารในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ จำนวน 1,656 อัตรา ประหยัดได้ 600 ล้านบาท , รวมถึงปรับลดนายทหารชั้นยศสูง ให้เหลือ 50% , และปิดการบรรจุกำลังพล และลดกำลังพลในปี 2560-2564 ไปแล้วกว่า 8,000 นาย ประหยัดงบประมาณได้จำนวน1,500 บาท และปี 2570 ปรับลดกำลังลงประมาณ 12,000 นาย ประหยัดงบกำลังพลลงได้ 2,900 ล้านบาท
ด้านนายพิธา บอกว่าเป็นสัญญาณที่ดี ในปี 2570อาจจะกลับไปสู่การเกณฑ์ทหารแบบสมัครใจ ซึ่งแต่ก่อนเคยเป็นคณะกรรมาธิการงบประมาณ แล้วมีตัวแทนกลาโหมเข้ามาชี้แจง และได้มีโอกาสเห็นเอกสารแผนปฏิรูปกองทัพเตรียมจะทำตั้งหลายปี แต่ยังไม่มีการเริ่ม ซึ่งถือว่าสอดคล้องกับข้อเสนอของพรรคตั้งแต่ยังเป็นพรรคอนาคตใหม่ด้วยซ้ำ สำหรับแผนงานของกระทรวงกลาโหมที่มีการแถลงมา