"นิด้าโพล" เผยผลสำรวจ "การชุมนุมหลังจัดตั้งรัฐบาล" คนส่วนใหญ่เบื่อม็อบต้านรัฐบาล ร้อยละ 57.71 % หวั่นทำเศรษฐกิจแย่ลง

 

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “การชุมนุมหลังจัดตั้งรัฐบาล” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 14-16 มิถุนายน 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการชุมนุมหลังจัดตั้งรัฐบาล การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็น จากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการชุมนุมต่อต้านนายกรัฐมนตรีหรือรัฐบาลใหม่ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 26.72 ระบุว่า จะมีการชุมนุมต่อต้าน แต่ไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้น รองลงมา ร้อยละ 25.42 ระบุว่า จะไม่มีการชุมนุมต่อต้านใด ๆ ทั้งสิ้น ร้อยละ 25.19 ระบุว่า ไม่มั่นใจ ร้อยละ 22.44 ระบุว่า จะมีการชุมนุมต่อต้าน และมีความรุนแรงเกิดขึ้น และร้อยละ 0.23 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ด้านสิ่งที่จะทำหากรัฐบาลใหม่ นายกรัฐมนตรี ไม่ได้มาจากพรรคการเมืองที่เลือก พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 38.63 ระบุว่า ยอมรับในรัฐบาลใหม่อย่างเต็มใจ รองลงมา ร้อยละ 22.52 ระบุว่า ไม่ยอมรับ แต่จะไม่เข้าร่วมชุมนุมต่อต้านรัฐบาลใหม่ ร้อยละ 16.87 ระบุว่า จำใจต้องยอมรับในรัฐบาลใหม่ ร้อยละ 14.43 ระบุว่า เฉย ๆ ไม่สนใจว่าใครจะเป็นนายกรัฐมนตรี หรือรัฐบาล ร้อยละ 7.02 ระบุว่า ไม่ยอมรับ และจะเข้าร่วมชุมนุมต่อต้านรัฐบาลใหม่แน่นอน และร้อยละ 0.53 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่ทราบ

สำหรับความกังวลของประชาชนหากเกิดการชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลใหม่ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 56.87 ระบุว่า ภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ลง รองลงมา ร้อยละ 37.18 ระบุว่า การเกิดความรุนแรงจากการชุมนุม (เช่น การทำลายทรัพย์สิน การทำร้ายซึ่งกันและกัน) ร้อยละ 32.98 ระบุว่า การเกิดความขัดแย้งของคนในชาติ ร้อยละ 29.16 ระบุว่า การก่อรัฐประหาร ร้อยละ 21.45 ระบุว่า การกระทำที่ไม่เคารพกฎหมาย และ/หรือละเมิดสิทธิผู้อื่น ร้อยละ 18.63 ระบุว่า สภาพการจราจรที่ติดขัดจากการชุมนุม ร้อยละ 12.21 ระบุว่า การแทรกแซงจากต่างชาติ ร้อยละ 3.82 ระบุว่า ไม่มีความกังวล และร้อยละ 1.98 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่สนใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความเบื่อหน่ายกับเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาล พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 57.71 ระบุว่า เบื่อมาก รองลงมา ร้อยละ 20.46 ระบุว่า ค่อนข้างเบื่อ ร้อยละ 12.75 ระบุว่า ไม่เบื่อเลย ร้อยละ 8.09 ระบุว่า ไม่ค่อยเบื่อ และร้อยละ 0.99 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่สนใจ

 

 

 

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.24 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 18.32 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.44 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.74 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.71 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง

ตัวอย่าง ร้อยละ 12.90 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.79 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.93 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.64 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 23.74 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 95.72 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.59 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.69 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ

ตัวอย่าง ร้อยละ 32.06 สถานภาพโสด ร้อยละ 65.95 สมรส และร้อยละ 1.99 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 24.81 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 36.49 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.32 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 25.50 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 4.88 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 8.09 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 17.18 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 19.77 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ ร้อยละ 12.44 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 16.26 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 19.31 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 6.95 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ตัวอย่าง ร้อยละ 21.91 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 19.31 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 28.78 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 10.76 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 4.12 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 2.83 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 12.29 ไม่ระบุรายได้