"ศิธา" ปัดให้ท้าย "หยก" หลัง "สาธิต" โต้กลับปมชุดนักเรียน บอกถ้าลูกตัวเองอยู่ในโรงเรียนมีกฎให้ใส่เครื่องแบบก็จะให้ใส่ ย้ำ ตอนรับราชการใส่เครื่องแบบเพราะเขามีระเบียบ มองการปลูกจิตสำนึกให้กับเด็ก ควรบาลานซ์เรื่องสิทธิเสรีภาพด้วย
น.ต.ศิธา ทิวารี แกนนำพรรคไทยสร้างไทย ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่นายสาธิต ปิตุเตชะ โพสต์พาดพิง น.ต.ศิธา เรื่องชุดเครื่องแบบนักเรียน คือ ความเท่าเทียม ไม่ใช่การกดขี่ อย่าเอาแต่ใจว่า การที่บอกว่าเด็กใส่ชุดอะไรไปโรงเรียนก็ได้ หมายความว่าเป็นชุดที่เหมาะสมกับการเป็นนักเรียน หรือจะใส่ชุดนักเรียนก็ได้ แต่ถ้าผู้ปกครองไม่มีเงินซื้อชุดนักเรียน ก็สามารถใส่ชุดอื่นได้เพราะยังมีอีกหลายครอบครัวที่มีความลำบากต่อการจัดหาชุดนักเรียน ซึ่งก็ไม่ควรไปบังคับ เพราะระเบียบวินัยต้องเริ่มจากข้างใน มีระดับความรู้สึกนึกคิดของคน หรืออาจจะเป็นศีลธรรมก็ได้ ซึ่งระดับต่ำสุดของศีลธรรม คือการบังคับให้ต้องฝืนทำ และคนต้องยอมทำเพราะถูกบังคับ แต่เมื่อเด็กคนนั้นไปอยู่ในจุดที่ไม่มีการบังคับ ก็อาจควบคุมอะไรหลายหลายอย่างไม่ได้ เพราะเราไม่ได้ฝึกวินัยตั้งแต่เด็ก นอกจากนี้หลายประเทศทั่วโลกก็ไม่ได้บังคับให้เด็กใส่ชุดนักเรียน ซึ่งหลายประเทศก็มีความเจริญมากกว่าประเทศไทยด้วย จึงอยากถามว่าเด็กไทยมีความรู้สึกนึกคิดด้อยกว่าเด็กต่างชาติหรือไม่ ขณะเดียวกันหากไม่บังคับให้ใส่ชุดนักเรียนจะเกิดความฟุ้งเฟ้อ มีการแข่งแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าราคาแพง เรากำลังจะบอกว่า การบังคับให้ทุกคนทั้งหมดต้องทำเหมือนกันเพื่อให้คนกลุ่มหนึ่งไม่ฟุ้งเฟ้อ ซึ่งถ้าโรงเรียนบอกว่าใส่ชุดอะไรไปก็ได้ การแข่งขันเหมือนกันแต่เมื่อมีการแข่งขันเรื่องการฟุ้งเฟ้อ โรงเรียนสามารถออกกฎห้ามใส่เสื้อคลุมผ้าที่มีราคาแพงก็ได้ ซึ่งก็จะเป็นการออกกฎที่ตรงกับเจตนารมณ์ และไม่รบกวนสิทธิคนอื่น
“ยกตัวอย่างว่าหากเป็นลูกของผมอยู่ในโรงเรียนอยู่ไหนโรงเรียนที่ต้องแต่งเครื่องแบบ ผมก็จะบอกลูกให้แต่งเครื่องแบบให้ถูกต้องตามระเบียบ แต่ถ้าโรงเรียนบอกใส่ชุดอะไรก็ได้ แล้วลูกมาถามก็จะบอกว่าโรงเรียนโรงเรียนไม่ได้บังคับอยากจะใส่ชุดอะไรก็ได้ แต่ถ้าแต่งชุดนักเรียนไปก็น่ารักดี เพราะผมมีปัญญาที่จะซื้อชุดนักเรียนให้ลูก แต่ถ้าคนที่ลำบากในการซื้อชุดนักเรียน จะได้ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องนี้ ซึ่งมันก็มีหลายเหตุผล” น.ต.ศิธา
น.ต.ศิธา ยังกล่าวอีกว่า ในช่วงที่ตนรับราชการ ก็ใส่เครื่องแบบเพราะราชการกำหนด ก็ใส่เครื่องแบบเพราะราชการกำหนดแบบนั้น แต่ตอนนี้ตนไม่ใช่ข้าราชการแล้วก็ไม่ได้แต่งเครื่องแบบ ส่วนในรัฐสภา ไม่ได้มีการบังคับให้ใส่เครื่องแบบรัฐสภา ดังนั้นบางคนก็แต่งกายด้วยเครื่องแบบ บางคนก็แต่งกายด้วยสุภาพเรียบร้อยดังนั้นสำหรับโรงเรียนตนมองว่า การปลูกจิตสำนึกให้กับเด็ก ควรบาลานซ์เรื่องสิทธิเสรีภาพด้วย
น.ต.ศิธา กล่าวอีกว่า เมื่อวานนี้ตนก็ได้พูดเรื่องโรงเรียนด้วยว่าถ้าโรงเรียนมีข้อกำหนดอยู่แล้วหากเด็กเข้าไป ก็ต้องทำ ก็ต้องทำตามกฎ และตนไม่ได้ให้ท้ายว่า เด็กที่ไม่ทำตามระเบียบโรงเรียนไม่ควรถูกลงโทษ เพราะควรทำตามระเบียบของโรงเรียน ดังนั้นก็ให้ว่าไปตามบทลงโทษ แต่ความผิดเหล่านี้ไม่ใช่ให้ผลสภาพการเป็นนักเรียน แต่ถ้าระเบียบที่บังคับให้เด็กต้องทำ แต่ถ้าระเบียบที่บังคับให้เด็กต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ จะมีเรื่องของจริยธรรมและศีลธรรม ถ้าไม่ทำแล้วจะมีความผิด แต่ถ้าเด็กรู้ว่า ทำเพราะควรทำ เด็กจะเป็นคนที่พัฒนาตัวเองได้ดี
เมื่อถามย้ำว่านายสาธิตได้ตั้งคำถามว่ามีการเชียร์กันเกินไปหรือไม่ น.ต.ศิธา กล่าวว่า ตอนนี้คนมีความคิดสุดโต่งสองข้าง คือ 1.ต้องบีบบังคับเอียงไปทางเผด็จการและ 2.คือสิทธิเสรีภาพ ซึ่งประเทศเราเป็นประเทศประชาธิปไตยไม่ใช่สิทธิเสรีภาพ ไม่ใช่การเปิดโอกาสให้ทำอะไรทุกอย่างได้ คำว่าประชาธิปไตยคือการปกครองการปกครอง การปกครองคือการจำกัดสิทธิ์ของคน แต่ก็พอจะมีสิทธิเสรีภาพดีที่สุดดีที่สุดเท่าที่จะไม่ไปล่วงละเมิดผู้อื่น เพราะฉะนั้นถ้าโรงเรียนมีกฎระเบียบแบบนี้เด็กก็ควรทำตาม หากทำผิดโรงเรียนก็ควรลงโทษตามกฎ แต่ไม่ใช่เอาหลายเรื่องมาโยงกัน
”ขอยกตัวอย่างความผิดที่ไม่ใส่ชุดนักเรียน การทำสีผม มีบทลงโทษความผิดตามขั้นตอน หากทำผิดหลายครั้งก็อาจจะไม่ให้เข้าเรียน หรือให้พ้นสภาพความเป็นนักเรียนก็เป็นไปได้ แต่ ณ ขณะนี้ยังไม่ถึงขั้นตอนนั้น อย่างไรก็ตามยืนยันว่าผมไม่ได้ให้ท้ายหยก แต่การพิจารณาโทษเด็กที่อายุ 15 ปีซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะแล้วทำความผิดแค่นี้ โรงเรียนบอกว่าไม่รับ เมื่อกลับไปดูในเนื้อหา แล้วมาบอกว่าไม่ได้มามอบตัวตามเวลา ทั้งที่ผู้ปกครองกับตัวเด็กก็ยืนยันว่ามามอบตัวและจ่ายเงินแล้ว แค่ไหนก็ต้องไปดูว่าจริงๆแล้วผิดแค่ไหน”