"ดอน" แจงประชุมอาเซียนปม"เมียนมา" ไม่มีลงนาม ชี้รอรัฐบาลใหม่ไม่ได้ เหตุ ส.ส.เพิ่งรับรอง ยันไทยต้องรักษาผลประโยชน์ของประเทศ เผย 7 ประเทศเข้าร่วมหวังหาทางแก้ปัญหา
นายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงกรณีการจัดประชุมหารืออย่างไม่เป็นทางการนอกกรอบอาเซียน กรณีเมียนมาว่าไม่มีอะไรกระทบเพราะหลังจากประชุมไปแล้วผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหลายหวังให้จัดประชุมอีก ซึ่งต้องมีเหตุและผลในการจัดไม่ใช่อยู่ดีๆจะจัดขึ้นมา เพราะเราจัดมาแล้ว 2 ครั้ง
ขณะเดียวกันเมื่อตอนที่ประเทศกัมพูชาเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมก็ได้ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับเมียนมา ซึ่งเราต้องหาทางให้ปัญหานี้ลุล่วงไปทั้งในโอกาส รูปแบบและวิธีการต่างๆ ซึ่งครั้งนี้ก็เป็นวิธีอื่นๆ ที่ได้ประโยชน์ เพราะว่าหากจัดการประชุมแล้วไม่ได้ประโยชน์ก็คงไม่มีประเทศไม่มากันอีก และครั้งนี้ก็มีประเทศที่เข้าร่วมประชุมมากกว่าครั้งก่อน
ส่วนผลของการพูดคุยเมื่อวานนี้ (19 มิ.ย.) มีสาระสำคัญในที่ประชุมอย่างไร นายดอน กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่สามารถพูดได้ มีการตกลงกันภายในที่ประชุมกันแล้ว แต่บอกได้ว่าเป็นประโยชน์ และมีการพูดคุยในเรื่องหรือประเด็นที่ไม่เคยพูดคุยมาก่อน ซึ่งถูกฝ่ายพยายามหาทางออก และเมียนมาก็พยายามดำเนินการต่างๆ เช่น เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา เมื่อมีการรัฐประหารได้ประกาศว่าจะจัดการเลือกตั้ง ให้เป็นการหาทางออก ซึ่งอาเซียนก็ไม่ได้มีการคิดถึงทางออกในเรื่องนี้ แม้กระทั้ง 5 ข้อในโรดแมพก็ยังไม่มี
นายดอน ยังกล่าวอีกว่า เพื่อให้พวกเราที่ติดตามไม่เพียงพอ หรืออาจจะพลาดไปในประเด็นนี้ เพราะว่าภาครัฐต้องดูแลผลประโยชน์ของประเทศไทย ซึ่งผลประโยชน์ของประเทศไทยสำคัญที่สุด ของคนไทยในการดำเนินการเรื่องนี้ ของรัฐบาลพวกเรามองข้ามตรงนี้ไปหมดเลย นึกว่าเราต้องเดินตามอาเซียนอย่างเดียว อาเซียนเขาก็เดินตาม 5 ข้อ แต่ 5 ข้อไม่มีคำตอบ เพราะฉะนั้นเราไม่เหมือนอาเซียนอีกประการหนึ่งก็คือ มีชายแดนติดกับพม่ากว่า 2,400 กว่ากิโลเมตร แต่เขาไม่มีเพื่อนอาเซียนทั้งหลายไม่ได้มีพรมแดนต่อกัน แต่เขาก็ไม่ได้เดือดร้อน และไม่ได้มีความรู้สึกว่าต้องรีบหาทางออก ปัญหาต่างๆถ้ามันยืดเยื้อก็จะกระทบกับประเทศไทย ผลประโยชน์ของคนไทย พ่อค้าไทย นักลงทุนต่างประเทศที่มาลงทุน ซึ่งจะเห็นว่าเรื่องต่างๆข้างบ้านของไทยกระทบตลอดเวลา และเกิดขึ้นไม่หยุดไม่หย่อน
นายดอน กล่าวว่า ต้องมองประเด็นเหล่านี้ด้วย เวลาเราทำงานเราใช้ก้อนหินทุกก้อน มอง 360 องศา ทั้งหมดอยู่บนพื้นฐานผลประโยชน์ของประเทศและคนไทย เพื่อนอาเซียนของเราอยู่ไกลไม่มีชายแดนต่อกัน เขาก็ว่าไปตามทฤษฎี ปัญหาเกิดขึ้นแต่ไม่ได้เห็นปัญหาวันต่อวันที่เกิดขึ้น ซึ่งเรามีปัญหาเกือบทุกวัน ปัญหาอาชญากรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการค้ามนุษย์ ปัญหาอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (สแกมมิง) ใน ทำงานการหลอกคนในภูมิภาคต่างๆไปทำงาน ปัญหายาเสพติด การค้าอาวุธ
นายดอน กล่าวอีกว่า ในจำนวนประเทศอาเซียนทั้งหมด มีประเทศไทยประเทศเดียวที่เป็นที่รับรู้และอาเซียนก็รับรู้ว่า ต้องการหาทางออกจากเมียนมาให้เร็วที่สุด เพราะเรากระทบมากที่สุด เราต้องมองกันมุมนี้ อย่าไปมองว่าอาเซียนเขาว่ากันอย่างโน้นอย่างนี้
เมื่อถามว่ามี มีประเทศอาเซียนเข้าร่วมทั้งหมดกี่ประเทศ นายดอน กล่าวว่า มีทั้งหมด 9 ประเทศ เข้าร่วม 7 ประเทศ มีสองประเทศที่มีชายแดนติดกับเมียนมา ซึ่งก็คือประเทศอินเดียกับประเทศจีน ซึ่งเดือดร้อน และอยากมาประชุมเพื่อรับรู้หาทางแก้ไข
ส่วนจะมีการส่งเรื่องนี้ให้กับรัฐบาลชุดใหม่ดำเนินการหรือไม่นั้น นายดอน กล่าว นี้เป็นปกติ เราดูผลประโยชน์ของประเทศไทย อะไรที่เป็นผลประโยชน์ของประเทศไทย ผู้ที่เกี่ยวข้อง และมีหน้าที่รับผิดชอบก็ต้องดูแล
"ใครก็ตามที่เห็นเรื่องนี้และรับรู้เรื่องนี้ ก็คงจะต้องรู้ว่าจะต้องทำอะไรต่อ ไม่จำเป็นต้องส่ง เรื่องส่งเป็นเรื่องปกติ จะต้องทำเรื่องเจ้าหน้าที่ของกระทรวงจะต้องทำเรื่องต่อๆกันไป แต่พวกเราบุคคลธรรมดาด้วยช้ำ ควรจะรับรู้ว่าปัญหานี้มีผลกระทบต่อตัวเองอย่างไร ไม่ใช่ไปเดินตามที่ข่าวสารหรือเป็นการเล่าข่าวเพื่อให้เกิดอคติ และปัญหาตามมา" นายดอน ระบุ
นายดอน กล่าวถึง เรื่อง นี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมา 30 - 40 ปีแล้ว ก็มีการทะลักหลั่งไหลเข้ามาหลังสู้รบ ซึ่งรัฐบาลเองก็ได้ดูแล และผลักดันออกไป ซึ่งขณะนี้ก็ทำแบบเดียวกัน เราไม่อยากให้การสู้รบยืดเยื้อเพราะจะเกิดผลกระทบต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย และการค้าชายแดน ซึ่งหลายประเทศที่มา ก็ไม่ได้มีการแสดงท่าทีแต่จะรอดูว่าเหตุการณ์จะมีความสงบเมื่อใด ซึ่งเราเองก็ต้องพยายามให้ขาวที่ถูกต้องและแม่นยำ ครบถ้วนสมบูรณ์ ไม่ใช่ไปรับรู้มาจากเรื่องโน้นเรื่องนี้แล้วเอามาขยายความ
เมื่อถามย้ำว่าเรื่องดังกล่าวจะไม่รอรัฐบาลใหม่มาดำเนินการใช่หรือไม่ นายดอน กล่าว ผลประโยชน์ของประเทศไทยรอได้เหรอ ถ้าเรามีโอกาสช่วยดูแลให้เร็วที่สุด เราก็ต้องพยายามทำ และเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่เพราะเราได้ดำเนินการทำมาแล้วและอยู่ในช่วงของการดำเนินการ เพราะฉะนั้นเราก็ต้องทำต่อ และยังไม่ส่งผ่าน เพราะขณะนี้ ส.ส.เพิ่งจะรับรู้ว่ามีกี่คน ทั้งหมดในฐานะที่ทำงานให้กับประชาชนและประเทศ เราเองก็ต้องทำ บางคนถามว่าจะเหนื่อยเกินไปหรือเปล่า ของประเทศซึ่งเรื่องนี้ตนเองไม่ได้มองว่าเหนื่อยหรือไม่เหนื่อยแต่มองที่ประโยชน์ของประเทศ ซึ่งเรื่องนี้ยังไม่มีการลงนาม เป็นการรับรู้พัฒนาการต่างๆ เพื่อนำมาสู่การตัดสินใจในภายหลัง ซึ่งเป็นเรื่องปกติของการประชุมหารืออย่างไม่เป็นทางการ