แม้ว่าประเทศไทยจะถูกยกระดับขึ้นมาเป็นเทียร์ 2 จากปัญหาการค้ามนุษย์ แต่การจับกุมผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ไม่ใช่แนวทางแก้ปัญหาเดียว
การให้ความรู้ด้านกฎหมาย และบทลงโทษเกี่ยวกับความผิดเรื่องค้ามนุษย์ น่าจะเป็นแนวทางการป้องกัน และแก้ปัญหาในระยะยาว เพื่อสร้างจิตสำนึกให้คนไทยไม่เข้าไปเกี่ยวข้องทั้งการค้ามนุษย์ และค้าประเวณี พ
ลตำรวจตรีกรไชย คล้ายคลึง ผู้บังคับการตำรวจปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ หรือ ปคม. เปิดเผยถึงมาตรการป้องกัน และปราบปรามการค้ามนุษย์ หลังประเทศสหรัฐอเมริกาได้ประกาศในรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ หรือTIP Report ยกระดับประเทศไทยจากระดับ “เทียร์ 3”คือ ประเทศที่ไม่มีความก้าวหน้าและความพยายามที่ชัดเจนในการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ ขึ้นไปอยู่ในกลุ่มที่ 2 บัญชีรายชื่อประเทศที่ต้องจับตามองหลังจากประเทศไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่มต่ำสุดหรือ เทียร์ 3 มาติดต่อกัน 2 ปี เหตุผลส่วนหนึ่งของการถูกยกระดับขึ้น พลตำรวจตรีกรไชย เล่าว่ารัฐบาลจัดให้มีแผนกการพิจารณาคดีเกี่ยวกับการค้ามนุษย์โดยเฉพาะ หรือที่เรียกว่า แผนกคดีค้ามนุษย์ พิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์เป็นไปอย่างรวดเร็ว และที่สำคัญคือความเอาจริงเอาจังกับการแก้ปัญหาของรัฐบาล
แม้ว่าจะมีศาลคดีค้ามนุษย์โดยตรง แต่การทำสำนวนคดีของตำรวจยังคงเป็นเรื่องที่ผู้บังคับการตำรวจ ปคม. ให้ความสำคัญ โดยเฉพาะ การคัดแยกเหยื่อออกจากผู้กระทำความผิด เพราะ บางรายสมัครใจหลบหนีเข้ามาทำงาน แต่เมื่อมีเจ้าหน้าที่เข้าจับกุม จะอ้างตัวเป็นเหยื่อเพื่อให้พ้นผิดในรอบ 1 ปีที่ผ่านมาที่พลตำรวจตรีกรไชย เข้ามาดูแลงานปราบปรามการค้ามนุษย์จะสามารถจับกุมได้เกือบ 100 คดี จากกว่า 300 คดี และนำตัวผู้ต้องหากว่า 100 คนมารับโทษตามกฎหมายได้
พลตำรวจตรีกรไชย ระบุว่า การปราบปรามเป็นเพียงวิธีการหนึ่งในการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ แต่หากสามารถวางแนวทางในการป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำความผิดขึ้น คือ ทางออกที่ดีที่สุด