จากกรณีที่ครูบาฉ่าย คัมภีรปัญโญ วัดป่าบ่อน้ำพระอินทร์ จ.อุบลราชธานี อ้างว่านั่งอยู่เฉยๆ เหงื่อก็ออกมาเป็นเม็ดสีเล็กๆ วิบวับลูกศิษย์ลองเอามือลูกตัวเนื้อตัว ก็มีเม็ดสีเหล่านั้นติดมือออกมา ไปล้างมือก็มีเม็ดสีหลุดออกมาจากร่างกาย เชื่อว่าเป็นเม็ดพระธาตุ ขณะที่ก่อนหน้านี้ หลวงตาสินทรัพย์ จรณธัมโม เจ้าอาวาสวัดป่าบ่อน้ำพระอินทร์ ก็อยากให้นำไปพิสูจน์เช่นกัน ว่าคืออะไร ในขณะนั้นครูบาฉ่าย ยืนยัน ว่าไม่เชื่อว่าเป็นพระธาตุอะไร น่าจะเป็นรังแคมากกว่า จากนั้นได้อนุญาตให้ทีมข่าวช่อง 8 ส่งมาตรวจที่ห้องLabโดยการตรวจยืนยันทางวิทยาศาสตร์

ล่าสุด ทีมข่าวนำเส้นผม และมีเม็ดสีที่กลุ่มลูกศิษย์เชื่อกันว่าเป็นพระธาตุ ไปให้ รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ช่วยตรวจสอบ

ทันทีที่ทีมข่าวเดินทางไปถึง อาจารย์อ๊อดเห็นผอบ ได้มีการรับเอาไว้ในมือ พร้อมกับยกมือขึ้นและพูดว่า"สาธุ" ซึ่งก็เป็นตามความเชื่อโดยไม่ได้ลบหลู่

จากนั้นอาจารย์อ๊อด ได้ทำการตรวจตามขั้นตอน เบื้องตันได้มีการใช้กล้องจุลทรรศน์ในการส่อง เพื่อแยกหรือดูวัตถุภายใน ด้วยการส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด มีกำลังขยายถึง 100 เท่า สามารถแยกสสารภายในวัตถุตรวจหาแคลเชียม โซเดียม โปรตีน ที่เป็นส่วนประกอบของพระธาตุเส้นผม



โดยการตรวจสอบวัตถุครั้งนี้ ได้มีการแบ่งบางส่วนออกมา ซึ่งอาจารย์อ๊อดและทีมงาน ได้มีการนำเส้นผมออกมา 2 เส้น และวัตถุทรงกลม1ชิ้น แต่เศษสีขาวที่กระจายตัวกัน ไม่ใด้มีการนำออกมาตรวจสอบ เพราะเบื้องตันจากการใช้กล้องจุลทรรศน์สามารถแยกออกชัดเจนว่าเป็นรังแคหรือรากผม จึงทำการตรวจสอบเฉพาะเส้นผมและวัตถุทรงกลมสีส้ม ขณะที่วัตถุทรงกลม สีสัม เมื่อมีการซูมอัตรา 100 เท่า จะสังเกตว่าวัตถุไม่ได้เรียบเนียน มีพื้นผิวขรุขระมีร่องรอย แต่เมื่อมีการตรวจหาสารประกอบ ซึ่งจะต้องมีการแยกว่าเป็น อนินทรีย์สาร หรือว่าอินทรีย์สาร โดยเบื้องต้นจากการตรวจสอบพบว่าไม่ปรากฏค่าของแก้วหรือผลึกแก้ว เบื้องต้นจึงยืนยันว่าไมใช่ลูกแก้ว จึงได้มีการตรวจหาค่าอื่น จนกระทั่งพบว่า เจอสารพลาสติกพอลิเมอร์กาเวล วัตถุของแข็งคล้ายเรซินและมีส่วนผสมของเกลือ
อาจารย์อ๊อด กล่าวสรุปคือ วัตถุดังกล่าวที่ มีการส่งตรวจ จากการตรวจสอบและแยกประเภท มีทั้งหมด 3 ชนิด คือ วัตถุคล้ายเส้นผม วัตถุคล้ายผลึกหรือเสธรังแคหรือเศษไขมัน วัตถุคล้ายลูกทรงกลมหรือลูกแก้ว แต่จากการตรวจสอบพบว่า มีหนึ่งในชนิดที่อยู่ คือ คล้ายผลึกหรือเศษรังแคหรือโคนผม ซึ่งสามารถ ยืนยันได้ชัดเจนจึงไม่จำเป็นต้องนำออกมาตรวจ อาจารย์อ๊อด ยืนยันการตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นเม็ดพลาสติกซึ่งไม่ใช่พระธาตุแต่อย่างใด

ขณะเดียวกัน หลวงตาสิ้นคิด ลงคลิปในยูทูบ โดยมีบางช่วงบางตอนกล่าวถึงเรื่องพระธาตุ ใจความโดยรวมประมาณว่า "พระที่ปฏิบัติกรรมฐานท่านจะเห็นและเชื่อเรื่องพระธาตุ แต่คนทั่วไปไม่เข้าใจเลยไม่เชื่อ หาว่าซื้อในออนไลน์ หลวงตาเกิดมา 60 กว่าปี ก็เห็นพระธาตุมีจริง หลวงตาก็เคยสั่งคนที่โพสต์ให้ลบไปตั้งหลายปี แต่สุดท้ายก็ยังเอาไปโพสต์กันจนเป็นเรื่อง แต่คนสมัยนี้แปลกประหลาด ไม่เชื่ออะไรทั้งนั้น

คนที่เอาไปพูด เอานิสัยตัวเองมาพูดมั้ง สงสัยว่าเคยหลอกคนมาก่อน ถามหน่อยถ้ามันเป็นของปลอม กูจะให้มันไปตรวจไหม แล้วให้ไปตรวจให้ไปเป็นตลับ แต่เอาไปตรวจแค่ 2 เม็ด ที่เหลือไปไหน แล้วตรวจออกมาว่าเป็นของเก๊ แปลว่ามันจะต้องมีของแท้ใช่โหม บางคนหาว่ากูเอาไปขายได้เงินหลักร้อย กูนี่บริจากวันนึงหลักแสน กูจะเอาไปขายเพื่อเงินหลักร้อยหรอ แล้วตอนที่เอาไปตรวจดันส่งไปรษณีย์ แล้วมันหายไปกี่เม็ดละระหว่างส่ง ของพวกนี้มันก็เกิดขึ้นบนโลกทั้งนั้น ไม่ได้มาจากดาวอังคารซะหน่อย

ใบตรวจที่เขาไปตรวจ มีตั้งหลายสถาบันที่อยู่กับหลวงตา ของจริงทั้งนั้น เขาถ่ายวิดีโอไว้ด้วยเวลาตรวจ เขาไม่ได้ตรวจแค่พระธาตุนะ เขาตรวจลึกไปด้วยว่าเม็ดนี้มันเกิดขึ้นได้ยังไง มีใบรับรองเป็นอัญมณีขายได้ด้วย เหลืออีกสถาบันเดียวที่รอผลตรวจยืนยันอีกครั้ง ถ้าผลออกมาจะรับผิดชอบยังไง พวกที่ว่ของเก๊ของปลอม มึงอย่าเล่นไปนะ มึงอยากพิสูจน์หรือไง แล้วมึงจะรับผิดชอบยังไง รับผิดชอบไหมละที่พูดๆ กันอยู่ นี่ว่าจะไม่พูดแต่วันนี้ขอพูดสักหน่อย"

วันนี้ ผู้สื่อข่าวช่อง 8 ขออธิบายว่า ตั้งแต่วันแรกที่ทีมข่าวลงพื้นที่ ทีมข่าวได้รับผอบมาอันนึง จากมือหลวงตาสิ้นคิด โดยในนั้นมีเม็ดสีจำนวนไม่เกิน 4 เม็ด ปะปนมากับเส้นผม จากนั้นทีมข่าวก็ได้นำผอบดังกล่าว ส่งทางไปรษณีย์มาให้อาจารย์อ๊อดตรวจสอบ โดยทีมข่าวยืนยันว่า เม็ดสีที่อาจารย์อ็อดทำการตรวจสอบนั้น คือเม็ดสีอันเดียวกับ ที่ทีมข่าวได้รับมาจากทางวัด และขอยืนยันว่าทีมข่าวช่อง8 ไม่มีการสลับสับเปลี่ยนเม็ดสี ก่อนการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์อย่างแน่นอน ส่วนที่ทางวัดออกมาให้ข้อมูลว่าให้เม็ดสี กับทีมข่าวมาจำนวนมากนั้น ขอยืนยันว่าทีมข่าวมีการได้รับมาไม่เกิน 4 เม็ด

ด้านคณะศิษย์ที่พักสงฆ์วัดป่าบ่อน้ำพระอินทร์ ได้แถลงชี้แจงผลตรวจสสารที่ออกมาจากร่างกายของพระครูบาฉ่าย หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า "พระธาตุ" ซึ่งหมายถึงธาตุ 4 ในร่างกายมนุษย์ที่สวนฉัตรรวีวัฒน์ เขตหนองจอก กรุงเทพฯ โดยการนำผลการทดลอง และผลจากการส่งตรวจ ที่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. , สำนักงานปรมาณูแห่งชาติ กรมทรัพยากรธรณี ,กรมวิทยาศาสตร์บริการ และสถาบันอัญมณีแห่งชาติ(git)พบว่าเม็ดสสารนั้นมีองค์ประกอบจากสิ่งมีชีวิตอยู่ และเมื่อคณะศิษย์ตรวจพบสารสำคัญ คือในเม็ดสสารมีโปรตีนเป็นองค์ประกอบเช่นเดียวกับเส้นผมของมนุษย์ โดยสามารถตรวจพิสูจน์ได้ด้วยความรู้พื้นฐานในการตรวจโปรตีนทั่วไป ด้วยคอปเปอร์ซัลเฟต และโซเดียมไฮดรอกไซด์ ซึ่งหักล้างผลตรวจของอาจารย์ อ๊อด ที่ให้ข่าวว่า พระธาตุจากวัดนี้ เป็นเม็ดพลาสติกโดยสิ้นเชิง โดยคณะศิษย์ได้ทดสอบเปรียบเทียบกับเม็ดพลาสติกสารกันขึ้นเรน ที่มีขายทั่วไปตามท้องตลาดแล้ว ซึ่งสิ่งเหล่านั้นจะไม่มีโปรตีนจากการตรวจพิสูจน์แต่อย่างใด ทั้งนี้ ทางคณะศิษย์ฯ ไม่ได้ต้องการเอาชนะใคร หรือนำเอาผลตรวจที่ได้ไปอวดอ้างอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ที่ผิดต่อหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า แต่การพิสูจน์ครั้งนี้ต้องการ ชี้ให้เห็นถึงความมหัศจรรย์ของสสารที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้เองตามธรรมชาติเท่านั้น

ขณะเดียวกัน ล่าสุด เพจเฟซบุ๊ก ของ NSTDA-สวทช. ออกมาโต้กลับ ระบุว่า ศูนย์บริการวิเคราะห์ทดสอบ สวทช. ขอชี้แจงในกรณีที่มีลูกค้าได้นำตัวอย่าง เป็นเม็ดสีชมพูใสมาให้ทดสอบทางห้องปฏิบัติการได้นำไปทดสอบด้วยเทคนิคทางด้านเอ็กซเรย์ (EDXRF) และเทคนิคFTIR พบว่า ในตัวอย่างมีธาตุซัลเฟอร์ และธาตุซิลิคอนเป็นองค์ประกอบ และจากสเปคตรัม เมื่อเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลแล้ว ผลที่ได้ตรงกับลักษณะของซิลิกาเจล

ดังนั้น การเผยแพร่ข่าวอ้างถึงผลพิสูจน์ "พระธาตุ" จาก สวทช. พบโปรตีนในสสาร จึงไม่เป็นความจริง

ขณะที่ดร. เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ โพสต์ข้อความระบุว่า "ผลตรวจจาก สวทช. ยืนยัน "พระธาตุ" เป็นแค่เม็ดซิลิก้าเจล"วุ่นกันใหญ่ครับวันนี้ หลังจากมีข่าวว่า คณะศิษย์ครูบาฉ่าย ได้เอาผลพิสูจน์

"พระธาตุ ครูบาฉ่าย" จากสถาบันระดับชาติ อย่าง สวทช. (และอีก 4 สถาบัน)
มาบอกว่า มีโปรตีนในวัตถุที่ออกมาจากร่างกายของครูบา โดย คณะศิษย์ที่พักสงฆ์วัดป่าบ่อน้ำพระอินทร์ ได้แถลงชี้แจงผลตรวจสสารที่ออกมาจากร่างกายของพระครูบาฉ่าย หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า "พระธาตุ"โดยการนำผลการทดลอง และผลจากการส่งตรวจ ที่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. ,สำนักงานปรมาณูแห่งชาติกรมทรัพยากรธรณี ,กรมวิทยาศาสตร์บริการ และสถาบันอัญมณีแห่งชาติ(git)พบว่าเม็ดสสารนั้นมีองค์ประกอบจากสิ่งมีชีวิตอยู่ และเมื่อคณะศิษย์ตรวจพบสารสำคัญ คือในเม็ดสสารมีโปรดีนเป็นองค์ประกอบเช่นเดียวกับเส้นผมของมนุษย์ ซึ่งต่อมา มีการประสานงานกันให้วุ่น (ทั้งที่เป็นวันเสาร์) สอบถามกันใน สวทช. กันใหญ่ ว่าเรื่องเป็นยังไงกันแน่

และตอนนี้ ก็มีคำแถลงจาก สวทช. มาแล้ว ว่า ไม่จริงครับ !

"ศูนย์บริการวิเคราะห์ทดสอบ สวทช. ขอชี้แจง ในกรณีที่มีลูกค้าได้นำตัวอย่าง
เป็นเม็ดชมพูใสมาให้ทดสอบ ทางห้องปฏิบัติการได้นำไปทดสอบด้วยเทคนิค
ทางด้านเอ็กซเรย์ (EDXRF) และเทคนิค FTIR พบว่า ในตัวอย่างมีธาตุซัลเฟอร์และธาตุซิลิคอนเป็นองค์ประกอบ และจากสเปคตรัม เมื่อเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลแล้ว ผลที่ได้ตรงกับลักษณะของซิลิกาเจล

ดังนั้น การเผยแพร่ข่าวอ้างถึงผลพิสูจน์ "พระธาตุ" จาก สวทช. พบโปรดีนใน
สสาร จึงไม่เป็นความจริง"

ป.ล. มีท่านที่ได้ดูการไลฟ์ของคณะลูกศิษย์ครูบาฯ แจ้งว่า ข่าวที่เขียนนั้น ไม่ต้องกันในไลฟ์ด้วยครับ โดยบอกว่า
ผมดูไลฟ์สดมาแล้ว การพบโปรตีน คือ ทดลองเอง ส่วนผลตรวจจาก 5 สถาบันบอก ว่าเป็น โอปอล ซิลิก้า และตรงกับอาจารย์อ็อด แต่ผมเชื่อ ผลตรวจจาก 5 สถาบันนะ


ขณะเดียวกัน มีแถลงการณ์ #กรมทรัพยากรธรณี ขอชี้แจงข้อเท็จจริงจากกรณีมีผู้นำวัตถุเม็ดสีชมพูมาขอรับริการตรวจวิเคราะห์ ผลการตรวจวิเคราะห์เคมีทางวิชาการ ไม่พบมีสารประกอบของโปรตีนในตัวอย่างที่ทำการวิเคราะห์แต่อย่างใด

กรมทรัพยากรธรณีได้ทำการตรวจสอบทางวิชาการ จากตัวอย่างดังกล่าวโดยใช้เครื่องมือทางห้องปฏิบัติการ (XRD และ micro XRF) โดยผลการวิเคราะห์พบเป็นสารประกอบที่ไม่มีรูปผลึกมีธาตุซิลิกอนและออกซิเจน เป็นองค์ประกอบ และเมื่อเผาตัวอย่างที่อุณหภูมิ700 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที ผลการวิเคราะห์พบโซเดียมซัลเฟตเป็นส่วนประกอบ

สรุปได้ว่า ผลการตรวจสอบของ กรมทรัพยากรธรณี ไม่ได้ระบุมีการรายงานว่าพบโปรตีนในตัวอย่างดังกล่าวแต่อย่างใดกรมทรัพยากรธรณี ขอชี้แจ้งข้อเท็จจริงดังกล่าว เพื่อสร้างความเข้าใจต่อสาธารณชนได้รับทราบโดยทั่วกัน#ข่าวปลอม #fakenews


จากกรณีที่มีการอ้างใบรายงานผลการตรวจสอบอัญมณีของสถาบัน ว่าได้ตรวจสอบวัสดุที่เรียกว่าพระธาตุ ตามที่เป็นข่าวนั้น ทางสถาบันขอชี้แจงว่า จากการตรวจสอบข้อมูล พบว่าสิ่งที่ส่งตรวจดังกล่าวเป็นวัตถุทรงกลม ขนาดประมาณ 3.5 มิลลิเมตร จากการตรวจสอบด้วยเครื่องมือขั้นสูง พบว่าวัตถุดังกล่าวมีองค์ประกอบหลักเป็น ซิลิกา และจากการตรวจสอบโครงสร้างทางผลึกพบว่าเป็นสารซิลิกาชนิดที่ไม่มีโครงสร้างทางผลึก หรือเรียกว่าเป็นแร่อสัณฐาน (Amorphous) ประกอบกับผลการตรวจสอบคุณสมบัติอื่นๆ ทางอัญมณี สามารถสรุปได้ว่า
ตัวอย่างตังกล่าวคือ "โอปอ" และจากการตรวจสอบด้วยกล้องกำลังขยายสูง ยังพบสีขังตามรอยแตกในเนื้อที่ชัดเจนซึ่งบ่งชี้ว่ามีการปรับปรุงคุณภาพด้วยการย้อมสี ทั้งนี้สถาบันขอยืนยันว่าวิธีการตรวจสอบเป็นไปตามหลักมาตรฐานการตรวจสอบอัญมณีที่เป็นสากล ดังนั้นทางสถาบันจึงขอชี้แจงข้อเท็จจริงเพื่อป้องกันความสับสน มา ณ โอกาสนี้

เป็นเรื่อง! สถาบันระดับชาติโต้ไม่เคยตรวจเจอพระธาตุครูบาฉ่าย ชี้แค่สารกันชื้น