เกาะกระแสการเมือง โดยเฉพาะการจับตา โหวตเลือกนายกรัฐมนตรีครั้งที่2 วันที่ 19 ก.ค.66
ขณะที่ท่าทีของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี โดยวันนี้ได้ย้ายห้องประชุม ครม.จากตึกสันติไมตรี มาที่ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 เนื่องจากตึกสันติไมตรี เตรียมพื้นที่จัดงานสโมสรสันนิบาต
โดยก่อนประชุม พลเอกประยุทธ์ อารมณ์ดีทักทายสื่อมวลชนกล่าวสวัสดีถึง 3 ครั้ง โดยเมื่อสื่อมวลชนถามว่าจะสนับสนุน พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ หากมีการเสนอชื่อโหวตชิงนายกฯในวันที่ 19 กรกฎาคมหรือไม่ พลเอกประยุทธ์ไม่ตอบ เพียงแต่กล่าวสวัสดี และยิ้มให้สื่อมวลชน
ภายหลังประชุมเสร็จ พลเอกประยุทธ์ ปฏิเสธการให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีเสร็จสิ้นโดยเดินออกจาก โดยระหว่างเดินจากตึกบัญชาการ 1 มายังตึกไทยคู่ฟ้า ผู้สื่อข่าวพยายามสอบถาม ว่าได้มีการพูดคุยกับพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคพลังประชารัฐแล้วหรือไม่ หลังจากที่พรรคเพื่อไทยพยายามฝ่าทางตันเสนอชื่อของนายเศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย ชิงนายกรัฐมนตรี โดยมีชื่อของพรรคก้าวไกลร่วมรัฐบาล ซึ่งอาจทำให้สมาชิกวุฒิสภาไม่โหวตเลือก และอาจเปลี่ยนชื่อของพลเอกประวิตรแข่ง โดยพลเอกประยุทธ์ตอบว่า “ไม่ได้คุย ไม่ได้คุย ไม่ได้คุย”
เมื่อถามว่าหากเป็นพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำจะต้องรัฐบาลจะทำให้การเมืองเดินไปได้ง่ายหรือไม่ พลเอกประยุทธ์ กล่าวว่า “ไม่ทราบสิจ๊ะ ก็ไม่เกี่ยวข้อง และนายกฯไม่เคยไปยุ่งเกี่ยวอะไรกับเขาอยู่แล้ว”
เมื่อถามว่าพลเอกประยุทธ์ จะช่วยคุยกับ ส.ว.หรือไม่เนื่องจากเป็นคนแต่งตั้ง พลเอกประยุทธ์ กล่าวว่า “เขามีวุฒิภาวะเขามั้ง ไม่ต้องไปสั่งเขาหรอก”ก่อนที่จะเดินขึ้นตึกไทยคู่ฟ้าในทันที
กรณี เฟซบุ๊ก CSI LA โพสต์ภาพพร้อมข้อความระบุ เอกสารหลุด บิ๊กแดง
ไปเจอกับทักษิณที่ลังกาวีก่อนเลือกตั้ง แสดงให้เห็นว่า ดีลลับลังกาวี เกิดขึ้นจริง
ล่าสุดวันนี้(วันที่ 18 ก.ค .2566) แหล่งข่าวจากกองทัพ ระบุถึง การเดินทาง พล.อ.เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.สส.) ร่วมคณะของ พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ อดีต ผบ.ทบ. ไป ลังกาวี มาเลเซีย เมื่อ วันที่ 5-7 พ.ค.2566 และถูกโยงว่ามีการพบ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ดีลลับการเมืองก่อนเลือกตั้งว่า ไม่ได้เกี่ยวข้องใดๆทางการเมือง และไม่ได้ไปพบเจอ อดีตนายกฯ ตามที่มีข่าวปรากฏในโซเชียลมีเดีย แต่อย่างใด แต่ไปเพื่อพบปะกับ แกนนำกลุ่มก่อความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามที่มีการนัดหมายไว้ ว่า ต้องการพบ เพื่อคลี่คลายปัญหา และ สนับสนุนให้การเจรจาเดินหน้าไปได้ด้วยดี โดยเป็นการประสานในการเปิด ช่องทางการติดต่อสื่อสาร อีกช่องทางหนึ่ง สำหรับการประสานงานในการแก้ปัญหา อีกทั้งในขณะนี้ การดำเนินการของคณะพูดคุยชะลอ ออกไป เพราะทางกลุ่มเคลื่อนไหว รอมีรัฐบาลใหม่ ก่อน
ส่วนกรณีที่ พล.อ.อภิรัชต์ เดินทางไปด้วยนั้น เนื่องจาก พล.อ.อภิรัชต์ สนใจ
ติดตามแก้ปัญหาความไม่สงบในชายแดนใต้ มาเพราะสมัยเป็นพันเอก ก็ลงไปอยู่ชายแดนใต้ และมีสายข่าวอยู่ในฝั่งมาเลเชีย และเมื่อครั้งเป็น ผบ.ทบ. เคยเดินทางไป อาเจะห์ ศึกษาแนวทางการแก้ปัญหา และยังคงติดตามสถานการณ์ มาตลอด แต่ไม่ได้ เปิดเผย เพราะมีหน่วยงานที่มีหน้าที่ทำงานอยู่ แต่มันเป็นคอนเนกชั่นส่วนตัว ที่ทำให้ประสานพูดคุยกันได้ จะได้รู้ความต้องการของเขา และทางออกในการแก้ปัญหา
สำหรับ พล.อ.เฉลิมพล คอยติดตามการแก้ปัญหาชายแดนใต้มาตลออเช่นกันทำงานร่วมกับ พล.อ. อภิรัชต์ มา ที่ผ่านมาก็ทั้งการลงพื้นที่ไปตรวจเยี่ยม และ สนับสนุนอุปกรณ์พิเศษ ให้กองกำลังชายแดน ในการทำงาน
"คาดว่าคงมีคนพยายามที่จะเชื่อมโยง กับการเมือง เพราะที่ผ่านมา มีการปล่อย
ข่าวลือ พาดพิง พล.อ.อภิรัชต์ มาตลอด แต่ พล.อ.อภิรัชต์ ก็เลือกที่จะนิ่ง ไม่ชี้แจง ตอบโต้ แต่ไม่ขี้แจง ไม่ได้หมายความว่าเป็น เรื่องจริง เพราะอยู่ในสถานภาพ ที่ไม่ได้มายุ่งเกี่ยวใดๆทางการเมือง ขออย่าโยง" แหล่งข่าวใกล้ชิดในกองทัพ ระบุ