เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม ที่รัฐสภา มีการประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณาวาระการเลือกบุคคลเป็นนายกรัฐมนตรีครั้งที่สอง เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคล ซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 ซึ่งมีผู้เสนอชื่อ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) เพียงชื่อเดียว ให้รัฐสภาพิจารณา และ มีส.ส.รับรอง 299 คนครบตามจำนวนที่กำหนด

ทั้งนี้ ในการพิจารณาดังกล่าวไม่สามารถลงมติตามที่ขั้นตอนได้ เนื่องจากที่ประชุมได้พิจารณาข้อหารือ ตามที่นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ส.ส.ราชบุรี พรรครวมไทยสร้างชาติ เสนอประเด็นให้พิจารณาเพื่อโต้แย้งการเสนอชื่อนายพิธา ให้รัฐสภาโหวตเป็นนายกฯ รอบสอง เพราะมองว่าาการชื่อของนายพิธานั้นเข้าข่ายเป็นญัตติที่รัฐสภาตีตกไปแล้ว หลังจากการประชุมรัฐสภา เมื่อ 13 กรกฏาคมนั้น นายพิธาไม่ได้เสียงเห็นชอบให้เป็นนายกฯ ดังนั้นกรณีเสนอชื่ออีกครั้ง ถือว่าขัดกับข้อบังคับการประชุมรัฐสภาข้อ 41 อย่างไรก็ดีตนยืนยันว่าชื่อของนายพิธาไม่ได้เสียสิทธิ์ต่อการเสนอชื่อให้เป็นนายกฯ แต่ต้องเกิดขึ้นในสมัยประชุมครั้งถัดไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมได้ใช้เวลาถกเถียงกันอย่างดุเดือดเข้มข้น ระหว่าง พรรคขั้วรัฐบาลเดิม กับ 8 พรรคร่วมรัฐบาล รวมถึงฝั่งสว. ซึ่งยกเหตุผลและข้อบังคับ รวมถึงรัฐธรรมนูญว่าด้วยการโหวตนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 สนับสนุนเหตุผลของฝั่งตนเอง ทั้งนี้พรรค ก.ก. ยืนยันว่าการเสนอชื่อบุคคลให้ความเห็นชอบเป็นนายกฯนั้น เป็นเรื่องที่เสนอให้พิจารณา ไม่ใช่การเสนอญัตติตามที่บัญญัติไว้ในข้อบังคับการประชุม

ทั้งนี้ ในช่วงท้ายของการอภิปราย นายชูศักดิ์ ศิรินิล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) อภิปรายตอนหนึ่งว่า ตนขอให้หัวหน้าพรรคการเมืองระลึกด้วยว่า การพิจารณาตามข้อหารือนั้นอาจสร้างบรรทัดฐานที่ไม่ดีของอนาคตการเมืองไทย ทั้งนี้การเลือกนายกฯ ตามบทเฉพาะกาลท มาตรา 272 นั้น มีโอกาสใช้เป็นครั้งสุดท้ายก่อนจะครบ5 ปี ทั้งนี้รัฐธรรมนูญ ยังมมีผลบังคับใช้ และการเลือกนายกฯ​ต้องปฏิบัติตามมาตรา 159 โดยให้สภาฯเลือกแคนดิเดตนายกฯ จากบัญชีของพรรคการเมือง ดังนั้นในอนาคตหากเกิดกรณีที่พรรคการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งไม่พอใจ เพราะจัดสรรปันส่วนไม่ลงตัว และที่ประชุมสภา ไม่รับข้อเสนอของพรรคเสียงข้างมากที่เสนอบุคคลเป็นนายกฯ คนที่จะเป็นแคนดิเดตนายกฯอาจตกม้าตาย เพราะที่ประชุมมโหวตไม่ได้ และหากยึดบรรทัดฐานที่ระบุว่าเสนอชื่อซ้ำไม่ได้อาจจะสร้างบรรทัดฐานที่ไม่ดีในอนาคต

“ด้วยความเคาพอย่าให้บรรทัดฐานการเมือง ต่อประเด็นลงมติเลือกนายฯ เป็นบรรทัดฐานที่ไม่ดีต่อไปในอนาคต ผมเห็นว่าบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 159 มาตรา 272 และข้อบังคับการประชุมรัฐสสภา ข้อ 136 เป็นบทบัญญัติเฉพาะว่าด้วยการเลือกนายกฯ ดังนั้นจะนำเรื่องข้อบังคับที่เป็นญัตติ ซึ่งเป็นบททั่วไปมาบังคับไม่ได้ ทั้งนี้ไม่มีอะไรห้ามที่จะเสนอ ตรงกันข้ามการพิจารณานั้นต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ” นายชูศักดิ์ อภิปราย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมได้ใช้เวลาถกเถียงและอภิปรายในเหตุผลที่สนับสนุนความเห็นของฝั่งตนเอง ซึ่งใช้เวลานานกว่า 8 ชั่วโมง

และเมื่อเวลา 16.55 น. นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา กล่าวว่าขอให้ที่ประชุมลงมติ ว่า การเสนอชื่อนายพิธาให้รัฐสภาโหวตเป็นนายกฯ อีกรอบขัดกับข้อบังคับการประชุมข้อ 41 หรือไม่ โดยผลการลงมติ พบว่า เสียงข้างมาก 395 เสียง ต่อ 312 เสียง งดออกเสียง 8 เสียงไม่ลงคะแนน 1 คือไม่เสนอชื่อนายพิธาซ้ำ ได้ในสมัยประชุมนี้

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์รับคำร้อง กกต. ปม "พิธา" ถือหุ้นไอทีวี เป็นเหตุให้สิ้นสุดสมาชิกภาพ สส. หรือไม่ และมีมติ 7:2 มีคำสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราวนับแต่วันที่ 19 กรกฎาคมจนกว่าศาลจะมีคำวินิจฉัย ให้ส่งคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาภายใน 15 วัน

โดย ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ เป็นเอกฉันท์รับคำร้อง กกต.ที่ขอให้ศาลวินิจฉัยว่า นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส. พรรคก้าวไกล สิ้นสุดสมาชิกภาพ สส.ลงหรือไม่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101(6) กรณีมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 98 (3) ที่บัญญัติไว้เรื่องลักษณะต้องห้ามลงสมัครรับเลือกตั้ง สส. กรณีเป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใดๆ โดยให้นายพิธาส่งคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาถึงศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน

ทันทีที่ซองเอกสารสีน้ำตาล ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ ที่รับคำร้องวินิจฉัยสถานภาพความเป็นสส.ของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล และสั่งให้นายพิธา หยุดปฏิบัติหน้าที่ทันทีมาถึงมือ นายพิธา ก็ขออนุญาตประธานในที่ประชุม กล่าวอำลา

โดยนายพิธา กล่าวว่า ท่านประธานครับขออนุญาต ณ ปัจจุบันตอนนี้ครับ มีเอกสารจากศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งให้ผมหยุดปฏิบัติหน้าที่ เพราะฉะนั้นคงจะขออนุญาต พูดกับท่านประธานว่า รับทราบคำสั่งและจะปฏิบัติตามคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญจนกว่าจะมีคำวินิจฉัยเป็นอื่น

และขอใช้โอกาสนี้ อำลาท่านประธานจนกว่าจะพบกันใหม่ และฝากสมาชิกรัฐสภาในการดูแลพี่น้องประชาชน ผมคิดว่า ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไปไม่เหมือนเดิมอีกแล้วครับ ตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม แล้วถ้าเกิดประชาชนชนะมาได้แล้วครึ่งทางเหลืออีกครึ่งทาง ถึงแม้ผมจะไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ แต่ขอฝากเพื่อนสมาชิก ช่วยกันดูแลประชาชนต่อไป ขอบคุณครับ

ทันทีที่พูดเสร็จนายพิธา ได้ถอดบัตรประจำตัวสส. ชูขึ้นก่อนจะวางไว้บนโต๊ะในห้องประชุม ท่ามกลางเสียงปรบมืออันกึกก้อง​จากสมาชิกรัฐสภา

และจากนั้น นายพิธา ได้เดินเข้าไปจับมือนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย และชูกำปั้นขวาขึ้น หันไปทาง สส.พรรคก้าวไกล ต่อด้วยการเดินไปจับมือนายสุชาติ ตันเจริญ สส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย

นายแพทย์ทศพร เสรีรักษ์ สส.แพร่ พรรคเพื่อไทย ได้นำภาพเหมือนเหมือนนายพิธา ซึ่งวาดด้วยตนเองถึง 2 วันมามอบให้

ขณะที่นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ได้ขอบคุณนายพิธา ที่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ และเคารพในกติกาของสภาฯ ซึ่งที่ผ่านมา ท่านได้ทำหน้าที่ในสภาแห่งนี้ด้วยดีตลอดมา

ก่อนออกจากห้อง นายพิธา ได้ ถูกกำปั้นทั้ง 2 ข้างและหันไปทางเพื่อนสมาชิกอีกครั้ง และสมาชิกในห้องก็ปรบมือให้กับนายพิธา อีกครั้งเช่นกัน และก่อนพ้นชายคาห้องประชุม นายพิธา ได้หันมาโบกมือเป็นอำลาครั้งสุดท้าย


เครือข่ายภาคประชาชนรวมตัวกัน 20 กลุ่ม คัดค้านความล้มเหลวการเมืองไทย รวมพลังแสดงความคิดเห็นการเมือง เตรียมจัดกิจกรรมฌาปนกิจ ส.ว. ที่ลานหน้าอนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย คุณสิกิตตรี เกิดมงคล มีรายงานสถานการณ์ ระบุว่า โดยบรรยากาศภายในผู้ร่วมชุมนุม พร้อมใจใส่เสื้อสีดำเพื่อร่วมกิจกรรมในวันนี้ เนื่องจากทางแกนนำได้ประกาศจะมีกิจกรรมฌาปนกิจส.ว. ช่วงเย็นนี้ เป้าหมายของการชุมนุมต้องการเรียกร้องสามข้อ 1.ประนามส.ว.ที่งดออกเสียงโหวตนายกรัฐมนตรี 2.ต้องการให้ 8 พรรคร่วมรัฐบาลอย่าทิ้งพรรคก้าวไกล แม้ตอนนี้พรรคก้าวไกลจะถอยให้พรรคอื่นจัดตั้งรัฐบาลแล้ว 3. ขอให้ 8 พรรคอย่าลืม MOU ที่ลงนามร่วมกันก่อนหน้านี้

รวมทั้งไม่พอใจการล้มเหลวการเมืองไทย เนื่องจากวันนี้ที่ประชุมรัฐสภามติที่ประชุมเสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี ซ้ำสองไม่ได้ ถือเป็นการล้มเหลวการเมืองไทย

โดยมีการขึ้นปราศรัยจากภาคประชาชนนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ประธานสหภาพพันธมิตรแรงงานประชาธิปไตย กล่าวถึง ความบอบช้ำทางการเมือง โดยพรรคการไกลเดินหน้าแก้ไข ม.112 เพราะมีคนคิดเห็นทางการเมืองถูกจับกุม ซึ่งเป็นการทำลายภาพพจน์ ถือเป็นการกลั่นแกล้งนายพิธาทางการเมือง

ในขณะที่มีกลุ่มนักศึกษาที่ร่วมชุมนุมวันนี้ บอกกับทีมข่าวว่า ตนเห็นถึงความล้มเหลวทางการเมือง ถึงเวลาที่ประเทศต้องเปลี่ยน จึงมาร่วมชุมนุมในครั้งนี้ โดยตอนนี้ยังมองไม่เห็นอนาคตของประเทศ เพราะเสียงประชาชนที่เลือกนายกรัฐมนตรีไม่มีค่า ชี้จะมาร่วมชุมนุมหากมีการรวมพลังอีก

ในส่วนการดูแลมาตรการความปลอดภัยมีตำรวจจากสน.สำราญราษฎร์ ตำรวจจราจร และชุดป้องกันปราบปราม รวม 100 นาย ที่มาคุมเข้มความปลอดภัย

ขณะที่อีกจุด หน้ารัฐสภา มีการรวมตัวของมวลชน โดยคุณณัฐวุฒิ ปงลังกา ผู้สื่อข่าวช่อง8 รายงานว่า เมื่อเวลา 17.45น. หลังปิดประชุมสภา เลือกนายกรัฐมนตรี สมาชิก สส.ของก้าวไกล บางส่วน ได้เดินทางออกจากสภา ผ่านประตู3 เพื่อเดินทางกลับ ได้มีกลุ่มมวลชนบางส่วน ยืนตะโกนให้กำลังใจ “ก้าวไกล สู้ๆ” ซึ่งบางส่วนได้ขอบคุณกำลังใจ อีกส่วนหนึ่ง มีการโอบกอบแทนคำขอบคุณ

ด้าน นายปิยรัฐ จงเทพ สมาชิก พรรคก้าวไกล เผย สั้นๆว่า ขอบคุณทุกกำลังใจ แม้เราจะไม่ได้ตั้งรัฐบาลวันนี้ หรือไม่ได้เป็นนายก็ตาม ก็หวังว่าโอกาสหน้สจะได้โอกาส และเสียงที่ถ้วมท้นกว่านี้

นายชวน หลีกภัย ส.สบัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ อดีตประธานรัฐสภา กล่าวถึงการประชุมรัฐสภาวันนี้ ว่า ตนติดตามตั้งแต่เช้าเห็นว่าใช้เวลายืดยาว ซึ่งในการประชุมครั้งหน้าสำหรับการวินิจฉัยเรื่องการเสนอชื่อคนเดิมก็ถือว่ามตินี้จบไปแล้ว ดังนั้นสัปดาห์หน้าประธานรัฐสภาจะนัดประชุมเรื่องอะไรยังไม่ทราบ

ทั้งนี้เห็นว่านายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ซึ่งทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม พยายามทำให้ดีที่สุด แต่เมื่อมีความคิดเห็นแตกต่าง จึงทำให้แต่ละฝ่ายต่างพยายามแสดงความเห็น ซึ่งน่าเห็นใจประธาน เพราะสามาชิก 750 คน จึงคุมไม่ง่ายนัก และในบางเรื่องก็อาจจะต้องหารือฝ่ายกฎหมาย ซึ่งทราบว่าฝ่ายกฎหมาย ก็มีความเห็นแตกต่างกันอยู่ สามารถเป็นไปได้ทั้ง 2 ด้านคือ ทั้งเสนอชื่อนายพิธาได้และไม่ได้ แต่เมื่อมีมติออกมาแล้วก็จบไป โดยยึดตามข้อบังคับการประชุมที่ 41 แต่อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่ารัฐธรรมนูญอยู่เหนือกฎหมาย ซึ่งมีสิทธิ์คิดได้ทั้งนั้น

สำหรับกรณีที่มีการตั้งข้อสังเกตว่าประธานรัฐสภาสามารถใช้ดุลยพินิจในการชี้ขาดได้เลยนั้น นายชวนกล่าวว่า ต้องแล้วแต่ดุลยพินิจ ซึ่งตนคิดว่า ประธาน พยายามยึดตามข้อบังคับและกฎหมาย ซึ่ง ได้ให้ความเห็นไว้ตั้งแต่ต้นว่ามีบางฝ่ายให้ความเห็นไว้กับท่าน ว่าหมวดว่าด้วยการเลือกนายกรัฐมนตรีกำหนดไว้เป็นพิเศษ ซึ่งไม่ได้อยู่ในหมวดว่าด้วยข้อบังคับที่ 41 โดยเรื่องนี้มาจากการให้สัมภาษณ์ของนายวันมูหะมัดนอร์ ดังนั้นความเห็นที่ให้กับประธานมีหลากหลาย จึงขึ้นอยู่กับการตัดสินใจ ก็ตามและคิดว่าประธานอยากให้สภาเป็นผู้ตัดสิน

เมื่อถามว่า การเลือกนายกรัฐมนตรี จะจบเมื่อไหร่ใช้เวลาอีกนานแค่ไหนนั้นนายชวน กล่าวว่าต้องถามประธานรัฐสภา และต้องรอดูว่าในสัปดาห์หน้าจะมีอะไรและนัดประชุมอย่างไร

มวลชนร่ำไห้สภาฯ คว่ำโหวตพิธา นาทีจารึกชูกำปั้น "ประเทศไทยไม่เหมือนเดิม"