สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้ นายชูวิทย์ ได้เคยโพสต์เฟซบุ๊กว่า จะแฉหลักฐานในวันอังคารที่ 25 ก.ค. 66 นี้ ว่า คนอยากเป็นนายกฯ อีกคน มีพฤติการณ์ “นิติกรรมอำพราง” เป็นที่ประจักษ์ แทนที่จะ “ซื่อสัตย์สุจริต” เป็นที่ประจักษ์ เคยร่วมทำนิติกรรมอำพรางช่วยหนีภาษี ทำให้รัฐไม่ได้เงินภาษี 500 ล้านบาท
ล่าสุดวันนี้ 24 ก.ค. นายชูวิทย์ ได้โพสต์เลื่อนกำหนดการแฉ โดยโพสต์ข้อความว่าเลื่อนเปิดข้อมูลเชิงประจักษ์คนอยากเป็นนายกฯ รอสภาฯ ได้วันโหวตนายกฯ ครับ I’ll be back.
นาย จตุพร พรหมพันธุ์ อดีต สส พรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่าตอนนี้เราควรเลื่อนการเลือกนายกรัฐมนตรีออกไปก่อนเนื่องจากการนัดหมายของท่านประธานสภา ไม่ได้มีข้อบังคับว่าจะต้องมีการเลือกนายกรัฐมนตรี และนอกจากนั้นในวันที่ 26 ที่จะถึงนี้ทางท่านประธานสภาก็มีการนัดหมาย 3 ฝ่ายเพื่อขอเลื่อนการเลือกนายกรัฐมนตรีไปก่อน ตามที่ผู้ตรวจการแผ่นดินได้มีการเสนอต่อศาลให้พิจารณาเกี่ยวกับการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีซ้ำ
เพราะฉะนั้นขณะนี้ก็เป็นที่ชัดเจนว่า แต่ละฝ่ายยังไม่มีความพร้อม เพราะการย้ายคั่วสลับข้างมันคือวิกฤติทางการเมืองที่ควรให้เวลาคนไทยได้ตั้งสติ ซึ่งส่วนตัวมองทางออกของวิกฤติทางการเมืองว่าเมื่อเจอทางตันก็ควรให้ทุกฝ่ายมาหารือกันซึ่งประกอบไปด้วยสี่ฝ่าย คือ แปดพรรคร่วมรัฐบาลที่ได้มีการรวมกลุ่มกันที่มีพรรคก้าวไกลและเพื่อไทย / กลุ่มพรรคเสียงข้างน้อย / กลุ่ม สว. / และ กลุ่มรัฐบาลรักษาการ เพื่อตกลงร่วมกันว่าจะให้ประเทศชาติเดินหน้าต่อไปอย่างไร แต่ถ้าหากตกลงกันไม่ได้ก็ให้คืนอำนาจกลับไปที่ประชาชน ซึ่งนี่ถือเป็นช่องทางที่ดีที่สุดสำหรับวิกฤติทางการเมืองครั้งนี้ เพราะดีกว่าการไปคืนอำนาจให้กับทหารที่จะต้องมีการยึดอำนาจกันใหม่ อย่าไปเสียดายเงิน 6,000,000,000 ที่จัดการเลือกตั้งมา รอจ่ายค่าโง่ไปมากมายแล้วเราจะจ่ายค่าฉลาดไปบ้างก็คงจะไม่เป็นไร
ส่วนข้อเสนอที่มีการพูดคุยว่าอาจจะเลื่อนการเลือกนายกรัฐมนตรีไปจนกว่าที่ สว. หมดวาระ เรื่องนี้นายจตุพรมองว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเลื่อนไปนานขนาดนั้น เพราะอย่างไรตอนนี้ก็รู้ว่าถึงทางตันอยู่แล้วมาหารือทั้งสี่ฝ่ายตั้งแต่ตอนนี้เลยดีกว่า
ส่วนแนวทางการหารือทั้ง 4 ฝ่ายนั้น จะออกมาเป็นอย่างไรก็ต้องขึ้นอยู่กับการตกลง เช่นในปีพ.ศ. 2535 เอาคุณอนันต์มาเป็นนายกรัฐมนตรี แล้วก็ยุบสภาทันที มันก็มีอยู่ แต่นี่เป็นแค่ตัวอย่างเท่านั้นแต่ถ้าหากตกลงกันไม่ได้ก็แค่คืนอำนาจให้กับประชาชน ซึ่งส่วนตัวมองว่ามีหลากหลายวิธีการที่จะนำไปสู่การตกลงกันแต่ควรให้มีการตกลงร่วมกันทั้งสี่ฝ่าย
ส่วนกระแสข่าวที่พรรคเพื่อไทยถูกโจมตีว่าหักหลังประชาชนนั้น นายจตุพรมองว่าคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชนนั้น เพราะถ้าหากไปร่วมพรรครัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐและพรรครวมไทยสร้างชาติถือเป็นการตระบัดสัตย์กับประชาชน ไม่ควรทำอย่างยิ่ง ถ้าเพื่อไทยจัดตั้งรัฐบาลไม่ได้ก็ควรยอมรับความเป็นจริง ตอนนายจตุพรมองว่าคนจะฆ่าตัวตายบางทีก็ขาดหมายถึงการที่พรรคเพื่อไทยจะไปจับมือกับสองพรรคดังกล่าวก็เป็นที่ขาดไม่ถึงเหมือนกัน ในฐานะที่เคยเป็นสส. พรรคเพื่อไทยจึงพยายามพูดเพื่อเตือนสติพรรคเพื่อไทย เพราะไม่เช่นนั้นแล้วประชาชนจะเต็มท้องถนนและจะลงเอยด้วยการยึดอำนาจอีกเช่นเคย
กรณีสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินมีการส่งศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยต่อการเลือกโหวตนายกรัฐมนตรีครั้งที่2 โดยการตัดสิทธิ์นายพิธา ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าจะขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือข้อบังคับ นั้น
รศ.ดร.นันทนา นันทวโรภาส คณบดีวิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก เปิดเผยว่า โอกาสในการเลือกโหวตนายกรัฐมนตรีครั้งที่3 ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 27 กค นี้นั้น มีความเป็นไปได้และความเป็นไปไม่ได้ในโอกาสเดียวกัน เพราะทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประธานรัฐสภาคือประธานวันนอ ที่จะใช้อำนาจตามข้อบังคับ 272 ในการชี้ขาดเพราะเนื่องจากมีอำนาจสูงสุดในรัฐสภา โดยไม่จำเป็นต้องเปิดลงมติหรือมีการอภิปราย เพราะประธานสามารถที่จะใช้อำนาจเด็ดขาดได้เพียงคนเดียว แต่ถ้าหากมีการเปิดอภิปรายหรือมีการลงมติซ้ำ ก็จะกลายเป็นกลับไปทำผิดซ้ำ2 เพราะอย่าลืมว่าวันที่ 19 กค ผ่านวิกฤตดังกล่าวไปแล้วครั้งหนึ่ง หากปล่อยให้มีการลงมติซ้ำอีกก็จะซ้ำรอยเดิม และในการประชุมครั้งก่อน ที่มีการกล่าวถึงข้อบังคับในการประชุมสภา เทียบเท่ากับรัฐธรรมนูญ ส่วนตัวยืนยันว่ารัฐบาลนูนสูงกว่า7ชั้น ข้อบังคับเสมือนเป็นกฎหมายจริงแต่มีขึ้นเพื่อที่จะควบคุมการประชุม
ดังนั้นในการที่จะเปิดเลือกโหวตนายกรัฐมนตรีในวันที่ 27 กค. ส่วนตัวจึงมองว่าควรที่จะรอการประชุมวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญก่อน เพราะถือว่าเป็นการให้สิทธิ์ผู้ที่เป็นคดีเดทนายกรัฐมนตรี คือนายพิธา แต่ถ้าหาก ตัดสินใจที่จะเลือกโหวตนายกรัฐมนตรีโดยไม่รอศาลรัฐธรรมนูญ ก็กลายเป็นว่าจะทำให้นายพิธาเสียสิทธิ์โดยทันทีหากผลวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญระบุว่าในการประชุมวันที่19 ก.ค. ขัดต่อบทบัญญัติ ดังนั้นใครจะเป็นคนคืนสิทธิ์ให้กับนายพิธา อย่างไรก็ตาม ความเป็นไปได้มากที่สุด ณ ตอนนี้ คือการรอผลจากศาลรัฐธรรมนูญ และเชื่อว่าหลังจากที่มีการยื่นตีความไปแล้ว ก็คงจะมีการนำมาพิจารณาเป็นกรณีเร่งด่วน เหมือนเช่นเหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านพ้นไป คือการหยิบเอาเรื่องของนายพิธา เกี่ยวข้องกับการถือหุ้นสื่อ ศาลรัฐธรรมนูญรีบหยิบยกเอามาจนกระทั่งมีคำสั่งวินิจฉัย โดยเหตุการณ์ครั้งนี้ก็เชื่อว่าก็ควรจะมีการเร่งรีบเป็นกรณีด่วน เพราะทราบว่าศาลรัฐธรรมนูญมีการประชุมทุกวันพุธ ซึ่งวันพุธก็ตรงกับวันที่ 26 ก.ค. และหากมีคำวินิจฉัยแล้ว ในวันพฤหัสบดี ที่ 27 ก.ค. ก็สามารถเดินหน้าต่อไปได้โดยไม่ต้องเลื่อน เรื่องนี้ก็จะเป็นการคืนความชอบธรรมให้กับนายพิธาและระบบรัฐสภาที่ถูกต้อง
สำหรับประเด็นที่สังคมจับตามองว่าตัวของนายพิธาเพิ่งจะถูกศาลสั่งให้ยุติการปฎิบัติหน้าที่ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ สส. เรื่องนี้เป็นคนละเรื่องกัน โดยนายพิธาสามารถที่จะมีสิทธิ์ถูกเสนอโหวตเป็นนายกรัฐมนตรีได้เพราะเป็นเรื่องของการเลือกนายก ไม่ได้เกี่ยวข้องกับความเป็น สส. ดังนั้นจึงมีสิทธิ์ที่จะเลือกหรือถูกเสนอชื่อได้ตามกระบวนการ