จากกรณีนายศรีสุวรรณ จรรยา ในฐานะนายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน เปิดเผยตามที่ศาลปกครองสูงสุดได้อ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา ในคดีที่สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน และชาวชุมชนสุขุมวิท 19 แยก 2 รวม 16 คน ยื่นฟ้อง ผู้อำนวยการเขตวัฒนา กับพวกรวม 5 คน ตั้งแต่ปี 2559
ซึ่งพื้นที่คอนโดมิเนียมพิพาท ไม่มีทางเข้าออกกว้างอย่างน้อย 12 เมตรติดถนนสาธารณะตามที่กฎหมายกำหนด ขณะที่ทางเข้าออกส่วนหนึ่งเป็นที่ดินที่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้มาจากการเวนคืนเพื่อทำขนส่งมวลชนสาธารณะ
ต่อมาศาลปกครองสูงสุด พิพากษายืนตามศาลปกครองชั้นต้น โดยให้เพิกถอนใบรับหนังสือแจ้งความประสงค์จะก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร หรือเปลี่ยนการใช้อาคาร โดยไม่ยื่นคำขอรับใบอนุญาต
วันนี้ทีมข่าวช่อง 8 เดินทางมาพูดคุยนายศรีสุวรรณ จรรยา ในฐานะนายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ถึงกรณีดังกล่าว โดยบอกว่า กรณีแรกมีคนมาร้องเรียนตนตั้งแต่ปี 2557 คือ ชาวชุมชนสุขุมวิท 19 แยก 1 และ2 รวม 16 คน และสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการก่อสร้าง”แอชตัช อโศก”
โดยชาวชุมชนสุขุมวิท 19 แยก 1 และ2 รวม 16 คน ได้รับความเสียหายบ้านเรือนร้าวบางจุด รวมทั้งถนนทางเข้าได้รับความเสียหายเช่นกัน รวมทั้งอาคารไม้ซึ่งเป็นอาคารเก่าแก่ของสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ ก็ได้รับความเสียหาย ยืนยันก่อนหน้านี้ทั้งชุมชนสุขุมวิท 19 และทางสยามสมาคมเคยร้องเจ้าของโครงการแล้ว แต่เจ้าของโครงการไม่ใส่ใจแก้ปัญหา เป็นเวลาประมาณ2-3 ปี จึงเข้ามาขอความช่วยเหลือกับตน
ต่อมาตนได้ตรวจสอบข้อมูลตอนแรก ทั้งนี้พื้นที่ที่เป็นตึก”แอชตัน อโศก” แต่เดิมเป็นพื้นที่ว่างเปล่าของเจ้าของเดิม เป็นบ้านสองชั้นครึ่งปูนครึ่งไม้ ต่อมาขายพื้นที่หนีไปแล้วก็ขายในราคาแพงเพราะพื้นที่ทั้งหมดของเขาประมาณ 2-3 ไร่ เป็นพื้นที่สวยแต่มีข้อเสียคือเป็นเพื่อนที่ตาบอดไม่มีทางออก เจ้าของพื้นที่เดิมเลยฟ้องเพราะทางเข้าออกก็ถูกเวนคืนจากรฟม.ด้วย ตอนนั้นรฟม.เวนคืนเพื่อจะทำรถไฟใต้ดิน ผลศาลตัดสินให้เขาชนะและได้ทางเข้าออกบ้าน โดยได้พื้นที่ทางเข้าออกกว้าง 6.4 เมตร แล้วต่อมาดีโวลลอปเม้นท์ของแอสตันก็เข้าไปซื้อ
ช่วงแรกแอชตันได้ขออนุญาตก่อสร้าง อาคารประมาณ 8-9 ชั้น เป็นอาคารชุดอยู่อาศัย จำนวน 23 units ดำเนินมาถึงปี 2557 ทางได้มีการยื่นคำขออนุญาต รฟม. ย้ายตำแหน่งทางเข้า-ออกขยับไปอยู่บริเวณด้านที่ติดกับสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ และขยายความกว้างเป็น 13 เมตร เห็นว่าก่อสร้างผิดกฎหมายและส่งผลกระทบต่อชุมชนจึงยื่นเรื่องร้องศาลปกครอง
กรณีที่สองหาก ศาลยังไม่ได้สั่งเด็ดขาดให้รื้อถอนอาคารก่อสร้างของ “แอชตัน อโศก” โดยทันที แต่ทางอนันดาจะต้องเร่งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ตนเสนอแนะว่าทางออกที่ดีที่สุดคือซื้อที่ดินทำทางเข้าออก บริเวณสยามสมาคม หรือซื้อที่ดินถัดไปตรงเทอร์มินอล 21 ซึ่งนอกจากจะได้ทางเข้าออกมีความกว้าง 12 เมตร ถนนอโศกมนตรีซึ่งเป็นทางหลักก่อนถึงทางเข้าออกก็มีความกว้างประมาณ 18 เมตร ถูกต้องตามหลักกฏหมาย
แต่หากจะแก้ปัญหาด้วยการไปกว้านซื้อพื้นที่สุขุมวิท 19 แยก 3 เพื่อทำเป็นทางเข้าออก ในทางกฎหมายไม่สามารถทำได้ เพราะทางเข้าออกคอนโดซอยสุขุมวิท 19 แยก 3 ถึงแม้จะได้ตามที่กฎหมายกำหนดกว้าง 12 เมตร แต่ถนนสุขุมวิท 19 ซึ่งเป็นทางหลักก่อนถึงทางเข้าออกมีความกว้างไม่ถึง 18 เมตรตามที่กฎหมายกำหนด ก็ผิดหลักกฏหมายอีก
กรณีที่สามคำพิพากษาศาลสูงสุดไม่ได้บอกให้รื้อ แต่ทางอนันดาก็ต้องเร่งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นทำอย่างไรให้ถูกต้องตามกฏหมาย โดยสัปดาห์หน้าจะไปร้องผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 2 เรื่อง 1. บังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษา สั่งให้มีการหยุดใช้อาคารนี้เป็นการชั่วคราว และ2. ร้องให้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบว่าเจ้าหน้าที่กทม. คนใดเกี่ยวข้องกับการออกใบอนุญาตการก่อสร้างอาคารฉบับนี้
ชี้ทางเจ้าของโครงการติดกระดุมเม็ดแรกผิดตั้งแต่ต้น จะมาอ้างว่าได้รับใบอนุญาตจากหน่วยงาน เพราะจริงๆตามข้อกฎหมายทำไม่ได้ ย้ำที่ตนยื่นเรื่องเพื่อให้แก้ปัญหาให้ถูกต้องตามข้อกฎหมาย ตอนนี้ศาลสั่งเพิกถอนใบอนุญาตการก่อสร้าง ทางต่อไปที่ทำได้ก็คือไปกว้านซื้อที่ทำทางเข้าออกและไปขอใบอนุญาตการก่อสร้างใหม่แค่นั้น
ต่อมาทีมข่าวได้พูดคุยกับรศ.เอนก ศิริพานิชกร ประธานสาขาวิศวกรรมโยธา และประธานคณะกรรมการภัยพิบัติ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ ถึงกรณีที่เกิดขึ้น
ประเด็นแรกทางเจ้าของโครงการยื่นเรื่องขอใบอนุญาตก่อสร้างกับทางกรุงเทพมหานคร ตอนนั้นทางกทม. มีข้อสงสัยในส่วนของเช่าพื้นที่รฟม. เพื่อเป็นทางเข้าออก ว่ามีความกว้างตรงทางเข้าออก 12 เมตรหรือไม่ตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งหากทางเจ้าของโครงการได้เจรจาตกลงกับทางรฟม. เรียบร้อยก็ไม่น่ามีปัญหา อีกทั้งถนนอโศกมนตรีก็มีความกว้าง 18 เมตร ทำให้ทางกทม. ก็รับรองใบอนุญาตก่อสร้างในตอนนั้น
แต่ว่า ณ วันนี้ศาลปกครองสูงสุดพิพากษา สั่งเพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้าง เนื่องจากทางเข้าออกดังกล่าวไม่ได้ติดถนนสาธารณะ เนื่องจากเป็นที่ดินของ รฟม. และไม่ได้เปิดให้ประชาชนสัญจรทั่วไป จึงขัดกับวัตถุประสงค์ในการใช้ที่ดิน คือ เพื่อกิจการรถไฟฟ้า ดังนั้น การใช้ที่ดินของ รฟม. จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือเป็นคำพิพากษาของศาลเป็นที่สิ้นสุด ทางออกเจ้าของโครงการต้องหาทางแก้ไข
กรณีที่สองตน มองว่าทางออกของแอชตันที่ดีที่สุดคือกว้านซื้อที่ดินสุขุมวิท 19 เพื่อทำทางเข้าออกให้ได้ประมาณ 12 เมตร แล้วยื่นขอใบอนุญาตก่อสร้างกับศาล โดยขอความเห็นใจแม้ว่าความกว้างของถนนสุขุมวิท 19 อาจจะไม่ถึง 18 เมตร แต่ขอเป็นกรณีพิเศษเพราะไม่เช่นนั้นลูกบ้าน 700 ห้องจะได้รับความเดือดร้อน แล้วให้ศาลเป็นผู้พิจารณา
แต่ในส่วนที่จะกว้านซื้อที่ดินสยามสมาคมตนมองว่าเป็นไปได้ยาก เพราะมีทรัพย์สินบางอย่างในสยามสมาคมเป็นของแผ่นดิน และก่อตั้งที่ย่านอโศกมนตรีมาเป็นเวลานานหลายปีแล้ว อีกทั้งมีชาวต่างชาติมาทำงานที่นี่ ส่วนตัวเคยคุยกับทางเจ้าของสยามสมาคมยืนยันว่าไม่ขายที่ดิน
กรณีที่สาม ทางเลือกซึ่งเป็นทางออกและเป็นไปได้น้อยมาก หลังจากรฟม. เวนคืนที่ดิน ก็ให้ทางรฟม.ปรับเป็นพื้นที่สำหรับใช้ประโยชน์ของประชาชน ซึ่งลูกบ้าน 700 ห้องที่อยู่ในคอนโดก็จะสามารถเข้าออกได้ แต่พื้นที่นี้จะไม่ใช่เฉพาะแค่เป็นทางเข้าออกคอนโดเท่านั้น คนอื่นก็สามารถมาใช้ประโยชน์ได้เช่นออกกำลังกายหรือจัดกิจกรรมต่างๆ ซึ่งหากวันไหนที่จัดกิจกรรมลูกบ้านคอนโดก็จะเข้าออกลำบากถ้าหากต้องผ่านทางนี้โดยใช้รถ
ทั้งนี้มองอีกว่า ท่าทางแอชตันจะไม่ดำเนินการอะไรเลยจะยื้อปัญหาให้เหมือนกับโรงแรมแห่งหนึ่งในซอยร่วมฤดี สูง 18 ชั้น และ 24 ชั้น ที่มีปัญหาเกี่ยวกับทางสาธารณะในซอยไม่กว้างพอให้สร้างได้ จนมีการฟ้องร้องกัน ที่สุดแล้วศาลปกครองสุงสุดมีคำพิพากษา ให้ กทม.และ ผอ.เขตปทุมวัน ใช้อำนาจสั่งรื้อถอนในปี 2557 แต่จนถึงปัจจุบันนี้อาคารดังกล่าวก็ยังคงอยู่ และเปิดให้บริการเป็นโรงแรมได้ด้วย แต่ก็ยังมีคดีความต่อเนื่องกับหน่วยราชการมาจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งโรงแรมเสียค่าปรับทุกปี ตนก็มองว่าการทำแบบนั้นเป็นการยืดเยื้อให้ทางแอชตันรีบแก้ปัญหา
ต่อมาทีมข่าวเดินทางไปที่ซอยสุขุมวิท 19 เพื่อสำรวจภายหลังที่รศ.เอนก ศิริพานิชกร ประธานสาขาวิศวกรรมโยธา ชี้ทางออก “แอชตัน อโศก” คือกว้านซื้อที่ดินสุขุมวิท 19 เพื่อทำทางเข้าออกให้ได้ประมาณ 12 เมตร โดยไม่ได้ระบุให้กว้านซื้อที่ดินแยก 1 , 2 หรือ3
ทีมข่าวไปสำรวจบริเวณซอยสุขุมวิท 19 แยกที่ 1 พบว่าตนซอยเป็นโรงแรมซาช่า เป็นโรงแรมตึกขนาดใหญ่ 4 คูหา ซึ่งบริเวณด้านข้างอีก 2 คูหาก็เป็นของทางโรงแรมซึ่งปล่อยให้ภาคเอกชนเข้าเช่า ส่วนบริเวณด้านในซอยเป็นบ้านตึกแถวรวมทั้งหมด 15 คูหา ส่วนใหญ่เป็นคนไทยที่มาซื้ออยู่อาศัย และบางส่วนซื้อแต่ไม่ได้อยู่แล้วปล่อยเช่า
ต่อมาทีมข่าวเดินทางไปที่ซอยสุขุมวิท 19 แยก 2 เพื่อสำรวจต่อ พบว่า ต้นซอยแยก 2 เป็นร้านเสื้อผ้า 2 คูหาของคุณแซม ลูกครึ่งอินเดีย และด้านข้างที่ติดกันเจ้าของ2 คูหาเป็นร้านนวดแผนไทย มีคนไทยเป็นเข้าของ ซึ่งในซอยพบ มีบ้านเดี่ยว 2 ชั้น อยู่ 2 หลัง และตึกแถวในซอยอีก 1 คูหา มีคนไทยเป็นเจ้าของทั้งหมด ในซอยแยก 2 กำแพงคอนโดที่กั้นกับชุมชนไม่ใช่ลักษณะปิดทึบ แต่มีประตูเล็กให้คนในคอนโดได้เข้าออกเพื่อทะลุมาถนนสุขุมวิท19 โดยสามารถเดินผ่านได้เท่านั้น รถเล็กผ่านไม่ได้
จากการสำรวจพบว่า มีเพียงบ้านเดี่ยว 2 ชั้น ที่อยู่ในซอยติดกำแพง “แอชตัน อโศก” ที่ต้องการขายเท่านั้น โดยติดป้ายประกาศขายที่รั้วประตูบ้าน คนในซอยแยก 2 ไม่ประสงค์ให้ข้อมูลกับทีมข่าว
จากนั้นเราไปสำรวจที่ซอยสุขุมวิท 19 แยก 1 ต่อ ซึ่งวานนี้ทีมข่าวได้ลงพื้นที่สำรวจแล้วครึ่งหนึ่ง โดยต้นซอยมีตึกแถว 2 คูหา คุณอ้วน คนไทยเป็นเจ้าของ ยอมขาย หากให้ราคาคูหาละ 250 ล้าน , และที่ติดกันด้านข้าวตึกแถว 4 หลัง คุณแซม ลูกครึ่งไทย-อินเดีย เป็นเจ้าของ ยอมขายเช่นกันหากให้ราคาคูหาละ 300 ล้าน
ส่วนในซอย เป็นตึกแถวบ้านพักคนทั้งหมด 15 คูหา ส่วนใหญ่คนไทยเป็นเจ้าของ ทั้ง 15 คูหาปฏิเสธไม่ขาย เพราะอยู่ที่นี่มานาน 30-40 ปี
ทีมข่าวยังได้พูดคุยกับคุณสุดา อายุ 40 ปี บอกว่า ตนได้รับผลกระทบมากตั้งแต่มีการก่อสร้างคอนโด โดยตนพักอาศัยกับแม่อายุ 90 กว่าปี ช่วงระหว่างก่อสร้างแม่ตนนอนไม่หลับเกือบทุกคืนเพราะต้องสะดุ้งตื่นเสียงจากการก่อสร้าง เพราะทาง “แอชตัน อโศก” ทำการก่อสร้างถึงเที่ยงคืน ซึ่งไม่เป็นตามกฎหมายที่ส่งเสียงดังได้ถึง 22.00 น.
หากทาง “แอชตัน อโศก” จะมากว้านซื้อที่ดินในย่านสุขุมวิท 19 ไม่ว่าจะแยก 1,2,3 คุณต้องทำประชาคมกับชุมชนทั้งหมดเพื่อแจ้งให้ทราบ แล้วลงข้อมูลว่าบ้านไหนจะขายบ้านไหนไม่ขาย เช่นหาก แยก 1 ที่ตนอยู่ มีบ้านพักหลังนึงที่ไม่ขายแต่นอกนั้นขายหมด คุณก็ซื้อพื้นที่ทั้งซอยไม่ได้เพื่อทำทางเข้าออก
ส่วนตัวไม่ขายเพราะไม่ได้เดือดร้อนเรื่องเงิน และก็คิดว่าคนอื่นในซอยก็ไม่ขาย เพราะส่วนใหญ่คนที่มาอยู่ในสุขุมวิท 19 มีฐานะกันหมด หากทาง “แอชตัน อโศก” จะกว้านซื้อถือเป็นเรื่องยาก
โดยนางนิด อายุ 54 ปี เป็นเจ้าของบ้านตึกแถวในซอยสุขุมวิท แยก 3 และยังเป็นผู้ที่ไปร้องเรียนนายศรีสุวรรณ เรื่อง”แอชตัน อโศก”ส่งผลกระทบต่อคนในชุมชนสุขุมวิท 19 บอกว่า ตนและคนในซอยสุขุมวิท 19 แยก 1 ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้าง ”แอชตัน อโศก” มาหลายปีแล้ว
จากนั้นยังได้นำเหล็กขนาด 1 เมตรครึ่ง มาให้ทีมข่าวดู ซึ่งเหล็กที่นำมาให้ดูตกลงใส่รถเก๋งสีฟ้าของตนเมื่อปี 2558 ส่งผลให้ตนต้องซ่อมรถเก๋ง โดยทำหลังคาและทำสีใหม่ ตอนนั้นทาง ”แอชตัน อโศก” เยียวยาตนค่าซ่อมจำนวน 8,000 บาท ยังไม่รวมบ้านพักอีก4 หลังท้ายแยก 3 ที่มีท่อนเหล็กตกลงมาใส่หลังคาบ้านทะลุ ตอนนั้น ”แอชตัน อโศก” ก็เป็นคนมาซ่อมแซมบ้านให้จำนวน 4 หลัง ซึ่งจะสังเกตเห็นว่าบ้านที่อยู่ท้ายซอยเหมือนถูกรีโนเวทใหม่ แต่จริงๆได้รับผลกระทบจากการก่อสร้าง ”แอชตัน อโศก”
รวมทั้งกำแพงที่กั้นระหว่างสุขุมวิท 19 แยกสามและ ”แอชตัน อโศก” ซึ่งเป็นกำแพงทึบคนในคอนโดไม่สามารถเข้าออกได้ เคยพังลงมาก่อนหน้านี้ถึง 2 ครั้ง เพราะทาง ”แอชตัน อโศก” เจาะเสาเข็ม ซึ่งทางเจ้าของโครงการก็ต้องมาแก้ไขซ่อมอยู่หลายรอบ แล้วยังมีถนนส่วนบุคคลและแยก 3 อีก ที่มีรอยร้าว จึงเป็นเหตุผลให้ตนและคนในชุมชนบางส่วนไปร้องเรียนเพื่อขอให้ทุบ “แอชตัน อโศก”
และจากการที่ตนได้พูดคุยกับเจ้าของบ้านพักส่วนตัว 15 คูหารวมทั้งโรงแรมที่อยู่ต้นซอยสุขุมวิทแยก 3 ขอยืนยันว่าไม่ขายให้ ”แอชตัน อโศก” เพื่อทำทางเข้าออก
ทีมข่าวช่อง 8 ได้ตรวจสอบเรื่องนี้เพิ่มเติม พบว่าในอดีต ที่ดินตรงนี้เป็นพื้นที่ตาบอด เจ้าของเดิมทราบว่า รฟม. เวนคืนพื้นที่เพื่อเอามาทำสารธารณประโยชน์ ทำให้ที่ดินโดนปิดกลายเป็นที่ตาบอด ด้านเจ้าของที่เลยร้องต่อศาล ขอเปิดทางพื้นที่เข้า-ออก ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เปิดพื้นที่ได้กว้าง 6 เมตร ต่อมาเกิดการซื้อขายที่ดิน หลังจากนั้นเกิดการสร้างคอนโดแอชตัน เดิมทีหาสร้างเป้นบ้านพักที่อยู่อาศัย หรือตึกไม่เกิน 8 ชั้นสามารถทำได้ แต่ตามกฏหมาย พื้นที่เข้า-ออกพียง 6 เมตร ไม่สามารถสร้างคอนโดสูง 50 ชั้นไม่สามารถทำได้
โดยในอดีตผู้บริหารเคยยืนยันว่าจะช่วยเหลือในเรื่องนี้ ซึ่งก็คือคุณชานนท์ เรืองกฤตยาประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Ananda Development Group มีการพูดสั้นในอดีตว่า เราเองไม่สบายใจ ยืนยันว่าจะสู้จนชนะ ผมจะไม่ยอม ผมและผู้บริหารทุกท่านจะอยู่เคียงข้างทุกคนจนกระทั่งถึงที่สิ้นสุด
ด้านการรถไฟเองได้พูดถึงเรื่องนี้สั้นๆว่า เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับการรถไฟ ไม่จำเป็นต้องเยียวยา จ่ายคืนให้กับเอกชน