เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 22 ส.ค. 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางมาถึงท่าอากาศยานดอนเมืองแล้วด้วยเครื่องบินส่วนตัว พร้อมเดินทางออกมาทักทายแกนนำพรรคเพื่อไทย และมวลชนเสื้อแดงด้วยรอยยิ้ม โดยบรรยากาศเป็นไปด้วยความคึกคัก


ต่อมานางสาวแพทองธาร ชินวัตร หรือ อุ๊งอิ๊งค์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า "Welcome back to Thailand daddy

ตอนนี้คุณพ่อเดินทางถึงประเทศไทยโดยสวัสดิภาพแล้ว และได้เข้าสู่กระบวนการตามกฎหมายเรียบร้อย ขอบคุณทุกคนที่มารอรับคุณพ่อ ขอบคุณทุกกำลังใจที่ทุกคนส่งมาให้นะคะ อิ๊งค์และครอบครัวรู้สึกซาบซึ้งใจมากๆค่ะ"


เปิด 5 คดี หมายจับ ที่ยังไม่หมดอายุความของนายทักษิณ ชินวัตร

ด้านนายศรีสุวรรณ จรรยา ผู้นำองค์กรรักชาติ รักแผ่นดิน โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า "นักโทษหนีคดีนะจ๊ะมิใช่เทวดา การปฏิบัติของทางการไทยทุกคน ต้องใช้บรรทัดฐานเดียวกันกับนักโทษอื่น เดี๋ยวเจอร้องเรียนเลือกปฏิบัติโดยมิชอบนะ"

ทีมข่าวช่อง8 ประมวล 1 วันของ"ทักษิณ"กลับไทย ในรอบ 15 ปี โดยเมื่อ 07.04น. บินออกสนามบินSeletarสิงคโปร์

เมื่อ 09.02น. เดินทางถึงท่าอากาศยานดอนเมือง ประเทศไทย

เมื่อ10.21น. ถึงศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (สนามหลวง)

เมื่อ 11.42น. เข้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร

โดยในวันนี้ การเคลื่อนไหวของนายทักษิณ ถูกจับตามองอย่างมาก โดยมีการสังเกตเห็นนาฬิกาที่นายทักษิณใส่บนเครื่อง โดยพบว่าใส่นาฬิกาหรู ราคา 315-1,087 ล้านบาท

แต่เมื่อเดินทางถึงไทย เปลี่ยนใส่นาฬิกาอีกเรือน ราคาประมาณ 9,300 บาท


เมื่อมีการเปรียบเทียบภาพของนายทักษิณ ในปี 28 ก.พ. 2551 ที่กราบแผ่นดิน และ 22 ส.ค. 2566 แสดงความจงรักภักดีพระบรมฉายาลักษณ์ในหลวงรัชกาลที่10

พ.ศ. 2544 ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยแรก จากการก่อตั้งพรรคไทยรักไทย คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญว่า ทักษิณ จงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน
ด้วยข้อความอันเป็นเท็จ ปกปิดความเป็นเจ้าของหุ้น

ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัย มีมติด้วยเสียง 8:7 ว่า ทักษิณไม่ได้มีเจตนา

แต่สังคมเคลือบแคลงจนศาลรัฐธรรมนูญถูกร้องเรียนและตุลาการถึง 4 คน ถูกถอดถอน

พ.ศ. 2548 ทักษิณ ขณะเป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยที่ 2 ถูกโจมตีอย่างหนัก จนถึงขั้นถูกขับไล่ให้ลาออกจากตำแหน่งโดยการนำของ สนธิ ลิ้มทองกุล



13 ม.ค. 2549 สนธิและพวก ได้พาผู้ชุมนุมกว่า 3,000 คน เดินเท้าจากสวนลุมพินีถึงทำเนียบรัฐบาล เพื่อกดดันให้ ทักษิณ ลาออกจากตำแหน่ง และมีการทำลายทรัพย์สินทางราชการ แต่ก็โดนสลายการชุมนุมในคืนนั้นไป

23 ม.ค. 2549 ตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ ตัดสินใจขายหุ้นทั้งหมด ในกลุ่มบริษัท ชินคอร์ป ให้แก่บริษัท เทมาเส็ก ได้เงินกว่า 73,271 ล้านบาท

ทำให้ถูกวิจารณ์แรงว่าใช้อำนาจเอื้อต่อผลประโยชน์ของครอบครัว มีคนออกมาประท้วงบนถนนขับไล่ทักษิณอย่างจริงจัง

ทักษิณประกาศยุบสภา ในวันที่ 24 ก.พ. 2549

มี.ค. 2549 กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือม็อบเสื้อเหลือง นำโดยสนธิ ลิ้มทองกุล และพลตรีจำลอง ศรีเมือง ได้นำมวลชนกดดันนายทักษิณ
ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีรักษาการ ประกาศความต้องการให้ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรีแทน

4 เม.ย. 2549 ทักษิณประกาศ ไม่ขอรับตำแหน่งนายกฯ ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยให้การเลือกตั้งครั้งนั้นเป็นโมฆะและกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ เป็นวันที่ 22 ต.ค. 2549

หลัง มิ.ย. 2549 เกิดกระแสข่าวลือ การทำรัฐประหารมาเป็นระยะ ม็อบเสื้อเหลืองทวีความรุนแรงขึ้น

10-21 ก.ย. 2549 ทักษิณติดภารกิจต่างประเทศ ม็อบที่เตรียมจะปิดสนามบิน
เมื่อเดินทางมาถึงไทย

19 ก.ย. 2549 ทักษิณรู้ตัวแล้วว่าจะถูกปฏิวัติ จึงถ่ายทอดสดไปที่สถานีโทรทัศน์ช่อง 9 แต่ยังไม่ทันอ่านแถลงการณ์เสร็จสิ้น ก็ถูกตัดสัญญาณ จากนั้นทีวีทุกช่องก็มีการถ่ายทอดสด การยึดอำนาจของ คปค. นำโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น

28 ก.พ.2551 ทักษิณกลับเข้ามาในประเทศไทย สร้างตำนานภาพก้มกราบแผ่นดิน หลังจากลี้ภัยไปอยู่ในอังกฤษ นาน 1 ปี 5 เดือน ต่อมาศาลให้ประกันตัว จึงขออนุญาตศาลไปต่างประเทศ และไม่กลับมารายงานตัวตามกำหนด

ทักษิณได้ประกาศ ว่าจะกลับไทย ผ่านสื่อต่าง ๆ หลายครั้ง

กระทั่ง 22 ส.ค.2566 เวลาประมาณ 9.00 น.ได้นั่งเครื่องบินส่วนตัว ถึงประเทศไทยในรอบ 15 ปี

ไขคำตอบทักษิณกลับไทยทำไมเปลี่ยนนาฬิกา 300 ล้าน ย้อน 15 ปีลี้ภัยเริ่มที่ใคร