กรมอุตุนิยมวิทยา เผยภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ โดยเฉพาะ 54 จังหวัด ฝนตกหนักบางแห่ง เตือนพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ส่วน กทม.ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่

วันที่ 9 กันยายน 2566 กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ และอ่าวไทย เริ่มมีกำลังแรงขึ้น ทำให้บริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบริเวณภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้

บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน คลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

  • ภาคเหนือ ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ ตกหนักบางแห่ง บริเวณเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก กำแพงเพชร สุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส
    อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่ ฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง บริเวณเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์ อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส
  • ภาคกลาง ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ตกหนักบางแห่ง บริเวณนครสวรรค์ ลพบุรี และสระบุรี อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-35 องศาเซลเซียส
  • ภาคตะวันออก ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ ตกหนักบางแห่ง บริเวณนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
  • ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ทะเลคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
  • ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ตกหนักบางแห่ง บริเวณระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ทะเลคลื่นสูง 1-2 เมตร
  • กรุงเทพและปริมณฑล ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส

 

ทั้งนี้ พายุโซนร้อน “ยุนยาง” (YUN-YEUNG) ได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันแล้ว คาดว่าจะอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง บริเวณชายฝั่งตอนกลางของประเทศญี่ปุ่นในระยะต่อไป โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางในช่วงวันและเวลาดังกล่าว