หมู่บ้านวังสายทอง ตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล ซึ่งเป็นอีกหนึ่งหมู่บ้านที่อยู่ติดกับเทือกเขาบรรทัด และจุดเชื่อมต่อไปยังจุดปะทะที่บ้านตระจังหวัดตรัง ซึ่งหมู่บ้านวังไทรทองแห่งนี้อยู่ฝั่งทิศใต้ของเทือกเขาบรรทัด และอยู่ฝั่งตรงกันข้ามกับหมู่บ้านตระ ที่ทีมข่าว ของเราได้นำเสนอไปเมื่อวานนี้ว่าเป็นอีกหนึ่งเส้นทางหลบหนีของเสี่ยแป้ง
วันนี้ ทีมข่าวของเราทดลองเดินขึ้นเขาฝั่งจากบ้านสายทอง พร้อมกับ นายชี ชาวป่ามานิ ซึ่งผืนป่านี้ เป็นผืนป่าที่จะไปเชื่อมไปยังพื้นที่บ้านตระของจังหวัดตรัง เนื่องจากเป็นทางสูงชันการเดินขึ้นเขา จึงเป็นเรื่องยาก
แต่ที่เป็นอุปสรรคและถ้าหากว่าเป็นเส้นทางที่เสี่ยแป้งเดินหลบหนีมายังพื้นที่ของบ้านวังสายทองของจังหวัดสตูลจริง คือการเดินลงจากเนินเขาที่สูงชันมาก บวกกับตามข้อมูลที่บอกว่าไม่ได้ใส่เสื้อและรองเท้า ซึ่งคนป่ามานี้มักจะหาใบไม้มาทำเป็นเสื้อเพื่อป้องกันอากาศหนาวแต่การเดินลงจากป่าที่เป็นเนินเขาสูงชั้นนั้นปกติพวกคนป่ามานิมักจะเดินเท้าเปล่าอยู่แล้ว ซึ่งก็ยอมรับกับทีมข่าวว่าการเดินลงเขานั้นอาจจะยากกว่าการเดินขึ้นเขา
วันนี้ทีมข่าวของเราทดสอบอยู่ในป่าเทือกเขาบรรทัดฝั่งบ้านวังสายทอง พร้อมกับ นายชี คนป่ามานิ โดยนายชีบอกว่าอันดับแรกคือการหาที่พักค้างแรมต้องเลือกสถานที่ที่ไม่ค่อยเปียกชื้น ผิวดินต้องค่อนข้างแห้งเพราะจะไม่ค่อยมีแมลง
และเพื่อป้องกันร่างกายเราสัมผัสกับแมลงโดยตรงให้หาใบไม้ที่อยู่บนบริเวณโดยรอบนำมาวางบนพื้นรองไว้ใช้สำหรับนั่งนอน แล้วให้หากิ่งไม้ ค้ำใบไม้เอาไว้อีกชั้นหนึ่งเพื่อทำเป็นที่พักกันแดดกันลมกันฝน
ซึ่งทีมข่าวของเราทดสอบการใช้ชีวิตแบบที่มีกระแสข่าวว่าเสี่ยแป้งไม่มีเสื้อและรองเท้าใส่ โดยนายชีคนป่ามานิ บอกว่าสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้ ซึ่งหากเจอคนป่าก็จะนำใบไม้มาร้อยกับเถาวัลย์แล้วนำมาคล้องคอใส่เป็นเสื้อเพื่อป้องกันไม่ให้อากาศหนาวเย็นเกินไปและอาจจะป่วยได้ ส่วนการไม่ใส่รองเท้าไม่ต้องกังวลว่าจะเจอสัตว์ร้ายหรือว่าทาห ถ้าหากเราได้ที่ตั้งแล้วเราก่อกองไฟรอบรอบแมลงสัตว์ร้ายรวมถึงทากจะไม่เข้าใกล้
พูดประมาณว่า ถอดเสื้อ ใส่เสื้อจากใบไม้จากคนป่า แต่ต้องเอาใบไม้ ไปรนไฟก่อน แล้วนำมาใส่เป็นเสื้อ ก่อนที่จะไปนอนที่พักกลางป่า พร้อมกับนำกองไฟมารอบๆ
หลังจากเสร็จสิ้นการลาดตระเวนของชุดปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดนราธิวาส ทางเจ้าหน้าที่ ได้พาทีมข่าวมาดูจุดพักซึ่งเป็นฐานสกัดกั้นนักโทษหลบหนีออกจากเทือกเขาบรรทัด เป็นกระท่อมของชาวบ้านซึ่งทางตำรวจได้ประสานขอความช่วยเหลือขอเป็นฐานสกัดกั้นชั่วคราว โดยมีการผูกเปลนอนกับเสากระท่อม แล้วใช้พื้นที่ส่วนกลางเป็นจุดนั่งกินข้าวและเป็นที่ทำครัวชั่วคราว โดยพี่เจ้าหน้าที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ที่นี่ประมาณ 8 วันแล้ว หลังลาดตระเวนก็ต้องจัดเวรเฝ้ายามสับเปลี่ยนกันตลอดเพื่อไม่ให้เกิดสิ่งผิดปกติเล็ดลอดสายตาในบริเวณนี้
ทีมข่าวยังได้พูดคุยกับร.ต.ต.ธัญพิสิษฐ์ บุญทอง ผู้บังคับหมวด ฉก.นปพ.นธ.1 บอกว่า เจ้าหน้าที่จะลาดตระเวนสองครั้งคือช่วงเช้ากับช่วงบ่าย และจะมีการติดต่อสื่อสารกับศูนย์ปฏิบัติการเพื่อรายงานผลลาดตระเวนทุกครั้ง ในส่วนของร่องรอยของเสี่ยแป้งระหว่างที่ลาดตระเวนยังไม่พบร่องรอย แต่ในส่วนของจุดซ่อนตัวบนผาบริเวณบนเขาที่พบมีลักษณะคล้าย ทัพที่ถูกทำขึ้น ยังไม่สามารถระบุได้ว่าใช้ของเสี่ยแป้งหรือไม่ แต่เพิ่งถูกค้นพบเมื่อประมาณวันที่ 16 พฤศจิกายนที่ผ่านมา
ในส่วนการทำงานของเจ้าหน้าที่มีการสื่อสารกับชาวบ้านเพราะระยะหลังชาวบ้านโวยว่าเจ้าหน้าที่ไม่ให้ชาวบ้านขึ้นเขาเพื่อไปกรีดยาง แต่ทางผู้ปฏิบัติงานได้ไปทำความเข้าใจแล้วว่าเสี่ยงอันตรายซึ่งชาวบ้านแถวนี้ก็น่ารักไม่ขึ้นไปกรีดยางและให้ความช่วยเหลือกับเจ้าหน้าที่ ยืนยันเป็นความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่หากใครขึ้นบนเขาหากถูกลูกหลงถูกนักโทษยิง คือความผิดของเจ้าหน้าที่จึงต้องเข้มงวดทุกคนที่ขึ้นเขา
ขณะที่การกินการอยู่ก็เป็นไปอย่างเรียบง่ายมีกองอำนวยการที่จะมาส่งข้าวกล่องเจ้าหน้าที่ที่ประจำอยู่ที่ฐานรวมทั้งบางครั้งเจ้าหน้าที่ก็จะต้มน้ำหรือทำครัวชั่วคราวเอง นอกจากนั้นก็ขึ้นอยู่กับแต่ละฐานว่าจะมีการครีเอตที่พักที่อาศัยอย่างไร อย่างฐานสกัดกั้นที่นี่ก็จะมีการออกแบบสปาห้องอาบน้ำ ทำชั้นวางครีมอาบน้ำ และมีการออกแบบฝักบัว โดยใช้ขวดน้ำเจาะเป็นรูคล้ายๆฝากตัวแล้วก็ต่อกับเสาซึ่งมีสายยางน้ำไปเกี่ยวกับเสาด้านบน ก็จะกลายเป็นสปาอาบน้ำชั้นดีของเจ้าหน้าที่เพื่อคลายเครียดจากการปฎิบัติงาน และต้องห่างครอบครัวเป็นเวลาหลายวัน
ต่อมาในโซเชียลได้มีการแชร์ภาพแป้งอยู่บนเรือ ทำให้มีข่าวลือออกมาว่า แป้งนั้นได้หลบหนีเจ้าหน้าที่ ไปหาญาติที่มาเลเซียแล้ว แต่ก็ยังไม่มีการยืนยันว่าเป็นภาพเก่าหรือไม่
นอกจากนี้ทีมข่าวยังได้พูดคุยกับดาบตำรวจสมพร สุขจันทร์ อายุ 42 ปี ผู้บัญคับหมู่ กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดนราธิวาส เปิดใจ การปฎิบัติการไล่ล่าเสี่ยแป้งพร้อมกับลาดตระเวนในป่าเพื่อตามหาร่องรอย โดยได้นำเสื้อเกราะกันกระสุนแบบเครฟลา หรือเสื้อเกราะอ่อน มาโชว์ ซึ่งในทีมปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่จะต้องมีเสื้อเกราะทุกคนเพื่อพกติดตัว แต่ไม่นิยมใส่ระหว่างปฎิบัติการ
เนื่องจากลักษณะเสื้อเกราะเครฟลา มีน้ำหนักเยอะทำให้ไม่สะดวกในการลาดตระเวนหรือไล่ล่า อีกทั้งเป็นอุปสรรคหากต้องเปิดฉากปะทะกับเสี่ยแป้ง เพราะไม่สะดวกตัวในการเคลื่อนไหว เพราะต้องหาที่กำบังเป็นต้นไม้ รวมทั้งหมอบพื้น แต่หากเป็นการปฎิบัติการไล่ล่าผู้ต้องหาในเมืองการใส่เสื้อเกราะเครฟลาเหมาะสมและสะดวกกว่า
ซึ่งทีมข่าวได้ทดลองนำเสื้อเกราะเครฟลามาสวมใส่และเดิน พบว่า น้ำหนักของเสื้อเกราะตัวหนึ่งประมาณ 2 กิโลกรัม และหากสวมใส่และต้องเดินในระยะพักยาวเป็นอุปสรรคในการเดินทาง เพราะเราต้องแบกน้ำหนักของเสื้อเกราะในการเดินป่าส่งผลให้ไม่สะดวกต่อการลาดตระเวน
โดยตนเคยร่วมปฏิบัติการไล่ล่าผู้ต้องหาหลายคดีในภาคใต้ เคยไปไล่ล่าจับกลุ่มกลุ่มก่อการร้ายบนเทือกเขาบูโด ในปี 2550 ซึ่งหากมาเปรียบเทียบกับการลาดตระเวนและไล่ล่าหาตัวเสียแป้งบนเทือกเขาบรรทัดในครั้งนี้ถือว่าภูมิศาสตร์เทือกเขาบูโดและเทือกเขาบรรทัดแตกต่างกันมาก เพราะเทือกเขาบูโดแม้จะมีภูมิศาสตร์ที่ยากลำบากต่อการค้นหาแต่ผู้ต้องหาหนีลงเขาได้ไม่กี่ทาง แต่ในส่วนภูมิศาสตร์ของเทือกเขาบรรทัดเป็นรอยต่อระหว่างสามจังหวัดคือตรัง พัทลุง และสตูล รวมทั้งเป็นพื้นที่กว้างมาก ทำให้เป็นอุปสรรคมากต่อการค้นหาร่องรอยหรือหาตัวของนักโทษ
นอกจากนั้นประวัติของเสี่ยแป้งเป็นคนในพื้นที่ตำบลตะโหมดอยู่แล้ว อีกทั้งขึ้นเขาลูกนี้หลายครั้งตั้งแต่เด็ก และยังเคยเป็นทหารพราน การใช้ชีวิตอยู่บนเขารวมถึงการคุ้นเคยกับชาวบ้านและคุ้นเคยเส้นทางบนเขาย่อมมีมากกว่าเจ้าหน้าที่ที่ออกปฏิบัติการค้นหา ตอนจึงไม่แปลกใจว่าหากเสี่ยแป้งจะใช้ชีวิตอยู่บนเทือกเขาบรรทัดและยังรอดทั้งสัตว์มีพิษหรือเรื่องการกินกันอยู่ได้จนถึงทุกวันนี้ เพราะเขาคุ้นเคยกับพื้นที่นี้
ทั้งนี้ตนอยากฝากถึงทั้งชาวบ้านและนักข่าวที่ขึ้นเขา อยากให้ระวังในเรื่องของความปลอดภัย เพราะเรายังไม่ทราบว่าเสี่ยแป้งหลบซ่อนตัวอยู่ที่ใดของเทือกเขาบรรทัด ขณะเจ้าหน้าที่ชุดไล่ล่าและชุดลาดตระเวนก็ยังต้องมีปืนติดตัวตลอดเพราะหากเจอกับนักโทษจะต้องมีการยิงปะทะ จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่ขึ้นเขาแล้วจะปลอดภัยทุกกรณี ซึ่งในส่วนทีมเจ้าหน้าที่ก็ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความลำบากในการค้นหา ก็ต้องระวังตัวอยู่ตลอดเวลาเช่นกัน