ศาลจังหวัดมุกดาหาร พิพากษาจำคุก "ลุงพล" ผิด 2 ข้อหาหนัก คดีประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และคดีพรากผู้เยาว์ โดยโทษจำคุกคดีละ 10 ปี ส่วน "ป้าแต๋น" ให้ชดใช้สินไหมทางแพ่งให้ "พ่อ-แม่ของน้องชมพู่"
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสองกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ เห็นว่า บริเวณที่พบศพด.ญ.อรวรรณผู้ตายอยู่บนเขาภูเหล็กไฟ ห่างจากจุดที่มีคนพบเห็นผู้ตายครั้งสุดท้ายประมาณ 1.5 กิโลเมตร และเป็นทางลาดชัน ประกอบกับบริเวณตังกล่าวมีการตรวจพบเส้นผมผู้ตายหลายเส้นที่มีลักษณะถูกตัดด้วยของแข็งมีคม จึงเชื่อว่าผู้ตายซึ่งมีอายุเพียง 3 ปีเศษ ไม่สามารถเดินขึ้นไปถึงบริเวณที่ พบศพและใช้ของแข็งมีคมตัดเส้นผมของตนเองได้แต่ต้องมีคนร้ายพาผู้ตายไป
ปัญหาต่อมาต้องวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 เป็นคนร้ายหรือไม่ เห็นว่า ประการแรก ในวันเกิดเหตุ เวลาประมาณ 09.00น. ผู้ตายเล่นอยู่บริเวณหน้าบ้านพักและมีเด็กหญิง ก. พี่สาวผู้ตายนอนเล่นโทรศัพท์เคลื่อนที่อยู่ใกล้เคียง กระทั่งเวลาประมาณ 09.50 น. เด็กหญิง ก. มองหาผู้ตายไม่เห็นจึงออกตามหา ดังนั้น ผู้ตายต้องหายตัวไปก่อนช่วงเวลาดังกล่าว โดยเด็กหญิง ก. เบิกความว่าไม่ได้ยินเสียงผู้ตายร้องแต่อย่างใด เชื่อว่า คนร้ายที่พาผู้ตายไป
ต้องเป็นญาติหรือบุคคลใกล้ชิดในหมู่บ้านที่ผู้ตายรู้จักดี เนื่องจากผู้ตายจะร้องไห้หากถูกคนแปลกหน้าอุ้ม เจ้าพนักงาน
ตำรวจจึงสืบสวนกลุ่มบุคคลดังกล่าว 14 คน แบ่งเป็นญาติ 12 คน และบุคคลใกล้ชิด 2 คน พบว่า 13 คน มีหลักฐาน ยืนยันที่อยู่หรือตำแหน่งอ้างอิงจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ชัดเจน ยกเว้นจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่สามารถยืนยันฐานที่อยู่ใด้แน่ชัดในเวลาที่ผู้ตายหายตัวไป
ประการที่สอง จำเลยที่ 1 ให้การเป็นข้อพิรุธหลายอย่าง อาทิ จำเลยที่ 1 ให้การกับเจ้าพนักงานตำรวจชุดสืบสวนว่าวันเกิดเหตุ จำเลยที่ 1 มีนัดไปรับพระ ส. ที่วัดถ้ำภูผาแอก ขณะเดินทางไปวัด จำเลยที่ 2 โทรศัพท์แจ้งจำเลยที่ 1 ว่าผู้ตายหายตัวไป แต่ครอบครัวของจำเลยทั้งสองมีโทรศัพท์เคลื่อนที่เพียงเครื่องเดียวอยู่กับจำเลยที่ 2 จึงเป็นไปไม่ได้ที่จำเลยที่ 2 จะโทรศัพท์แจ้งเรื่องแก่จำเลยที่ 1อีกทั้งพระ บ. ซึ่งจำวัดอยู่ที่วัดถ้ำภูผาแอกเช่นกันยืนยันว่า วันดังกล่าว เวลาประมาณ 10.00 น.จำเลยที่ 1 เดินทางไปถึงวัดและพูดกับพระ บ. ว่า หลานหายเกือบไม่ได้ไปส่งพระ ทั้งที่ในขณะนั้น จำเลยที่ 1 ซึ่งไม่มีโทรศัพท์เคลื่อนที่ติดตัวต้องยังไม่ทราบเหตุว่า ผู้ตายหายตัวไป
ประการที่สาม พยานโจทก์ปากนาย ว. และนาง พ. ให้การในขั้นสอบสวนว่า พยานเห็นจำเลยที่ 1 อยู่บริเวณสวนยางพาราซึ่งเป็นทางเดินที่สามารถเข้าถึงจุดที่ผู้ตายหายตัวไป ในช่วงเวลาที่คนร้ายลงมือกระทำความผิด โดยขณะที่มีการสอบสวนเรื่องนี้ จำเลยที่ 1 พยายามไปพูดคุยกับนาย ว. ให้ นาย ว. บอกเจ้าพนักงานตำรวจว่า นาย ว.พบจำเลยที่ 1ในช่วงเวลา 07.00 น. ไม่ใช่ช่วงเวลา ที่เกิดเหตุ เพื่อไม่ให้เจ้าพนักงานตำรวจสงสัยจำเลยที่ 1 หากจำเลยที่ 1ไม่ได้กระทำความผิด เหตุใดต้องพูดจาในลักษณะดังกล่าวกับพยานที่ให้การต่อเจ้าพนกงานตารวจ ตามข้อเท็จจริงที่ตนรู้เห็น แม้ต่อมาในขณะสืบพยาน นาง พ. จะเบิกความว่า ตนไม่ได้เห็นจำเลยที่ 1 บริเวณสวนยางพาราแต่ก็เป็นการกลับคำภายหลังเกิดเหตุกว่า 2 ปี ซึ่งอาจทำเพื่อช่วยเหลือจำเลยที่ 1 คำให้การในชั้นสอบสวนของนาง พ.จึงมีน้ำหนักน่าเชื่อถือยิ่งกว่า
ประการสุดท้าย ภายหลังเจ้าพนักงานตำรวจตั้งข้อสงสัยว่า จำเลยที่ 1 เป็นคนร้าย จึงมีการเข้าตรวจคันรถยนต์จำเลยที่ 1 พบเส้นผม 16 เส้น และวัตถุพยานอื่น โดยผลการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ประกอบกับคำเบิกความของพยานผู้เชี่ยวชาญปรากฏว่า เส้นผม 1 เส้น ที่ตกอยู่ในรถยนต์จำเลยที่ 3 มืองศาของรอยตัด หน้าตัด และพื้นผิวด้านข้างตรงกันกับเส้นผมผู้ตาย 2 เส้น ซึ่งตรวจเก็บได้จากบริเวณที่พบศพผู้ตาย เส้นผมทั้ง 3 เส้น ดังกล่าว จึงถูกตัดในคราวเดียวกันด้วยวัตถุของแข็งมีคมชนิดเดียวกัน เชื่อว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้ใช้ของแข็งมีคมตัดเส้นผมผู้ตาย แต่ด้วยเหตุที่เส้นผมมีขนาดเล็กมาก จำเลยที่ จึงไม่สังเกตว่ามีเส้นผมผู้ตายเส้นหนึ่งตกอยู่ในรถยนต์ของตน
ทั้งนี้ การสืบสวนสอบสวนของเจ้าพนักงานตำรวจในคดีนี้ไม่ไต้มุ่งเป้าไปยังจำเลยที่ 1 มาแต่แรก หากเกิดจากการรวบรวมพยานหลักฐานและตั้งข้อสันนิษฐานอย่างเป็นลำดับขั้นตอนดังวินิจฉัยไว้ข้างต้น โดยไม่ปรากฏว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องคนใดมีสาเหตุโกรธเคืองหรือมูลเหตุชักจูงใจในการใส่ร้ายจำเลยที่ 2 จึงเชื่อว่า จำเลยที่ 1 เป็นคนร้ายที่พาผู้ตายขึ้นไปบน เขาภูเหล็กไฟปัญหาต่อมาต้องวินิจฉัยว่า ขณะพาผู้ตายขึ้นไปบนเขาภูเหล็กไฟ จำเลยที่ 1 รู้หรือไม่ว่า ผู้ตายถึงแก่ความตายแล้ว หรือยังมีชีวิตอยู่ เห็นว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับโจทก์ร่วมทั้งสองหรือผู้ตายมาก่อน จึงไม่น่าเชื่อว่า จำเลยที่ 1มีเจตนาฆ่าหรือเจตนาทอดทิ้งผู้ตาย ประกอบกับรายงานการตรวจศพผู้ตายพบรอยช้ำใต้หนังศีรษะ บริเวณหน้าผาก
ด้านช้ายและท้ายทอยเป็นจ้ำ ๆ จึงอาจเป็นกรณีที่ผู้ตายหมดสติไป ส่วนจำเลยที่ 1 ไม่ใต้ตรวจดูให้ดีเลยพาผู้ตายไปทิ้งไว้บนเขาภูเหล็กไฟ การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายส่วนที่โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันเคลื่อนย้ายศพฯ นั้น เห็นว่า ภายหลังวันเกิดเหตุจนถึงวันที่พบศพผู้ตายโจทก์ไม่มีพยานคนใดเบิกความว่าเห็นจำเลยทั้งสองขึ้นไปบนเขาภูเหล็กไฟ แม้ผลการตรวจเส้นผม 3 เส้น จากบริเวณที่พบศพผู้ตายมี mtDNA ตรงกับจำเลยที่ 2 แต่การตรวจหา mtDNA นั้น ไม่สามารถใช้ระบุตัวบุคคลได้ เพียงแต่ระบุได้ว่าเป็นเส้นผมของบุคคลที่อยู่ในสายมารดาเดียวกับผู้ตายเท่านั้น เส้นผมดังกล่าวจึงไม่จำต้องเป็นของจำเลยที่ 2 เพียงผู้เดียวเห็นควรยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยทั้งสองในข้อหานี้
พิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 251, 317 วรรคแรก ฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย จำคุก 10 ปี ฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดาโดยปราศจากเหตุอันสมควร จำคุก 10 ปี ข้อหาอื่นสำหรับจำเลยที่ 1 ให้ยก และยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 กับให้ จำเลยที่ 1 ชำระค่าสินไหมทดแทนทางแพ่งให้แกโจทก์ร่วมทั้งสอง
อนึ่ง คดีนี้อธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 และผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดมุกตาหาร ตรวจสำนวนและทำความเห็นแย้งว่าพยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสองมีข้อสงสัยตามสมควร ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยที่ 1 เห็นควรพิพากษายกฟ้อง จึงให้รวมไว้ในสำนวน ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 11 (1)
ขณะเดียวกันในเวลาประมาณ 10:00 น. ก่อนที่ทางฟังโจทก์และฟังจำเลยจะได้มีการขึ้นไปฟังคำพิพากษาภายในศาลจังหวัดมุกดาหาร ก็มีมีเรื่องเข้าใจผิดเกิดขึ้นเล็กน้อย หลังมียูทูบเบอร์ฝั่งลุงพลได้ออกมาวิ่งตะโกนชูมือ กรีดร้องดีใจ แล้วบอกว่าศาลได้ยกฟ้องแล้ว และทางลุงพลป้าแต๋นรวมถึงทนายความกำลังจะเดินทางไปแถลงข่าวที่โรงแรม จนทำให้เหล่าบรรดาแฟนคลับของลุงพลต่างวิ่งตะโกนดีใจ และร้องไห้ออกมาด้วยความตื้นตัน
แต่สุดท้ายเรื่องนี้เป็นการเข้าใจผิด เนื่องจากศาลยังไม่ได้มีการอ่านคำพิพากษา แต่ได้มีการชี้แจงว่าในข้อหาพรากผู้เยาว์ และข้อหาทอดทิ้งเด็ก ได้นำมารวมกันเป็น 1 ข้อหา เป็นพรากผู้เยาว์ จึงทำให้จากเดิมที่มี 4 ข้อหา จึงทำให้เหลือเพียง 3 ข้อหา และหลังจากทราบข้อเท็จจริง แฟนคลับของลุงพลก็มีท่าทีสงบลงและต่างนั่งเฝ้ารอกันที่บริเวณหน้าศาลจังหวัดมุกดาหาร
“ลุงพล” หน้าเครียด พูดไม่ออก หลังศาลตัดสินจำคุก
“ลุงพล” และ “ป้าแต๋น” พร้อมด้วยนายสุรชัย ชินชัย หรือ “ทนายเบิ้ม” และทีมทนายความได้เดินทางกลับมาที่โรงแรมในเมืองจังหวัดมุกดาหาร ซึ่งลุงพลมีสภาพที่อิดโรยและมีสีหน้าเคร่งเครียดกว่าทุกครั้ง ส่วนป้าแต๋น ไม่เครียด และยิ้มได้ปกติ ซึ่งการเดินทางมาที่โรงแรมครั้งนี้ เป็นการแถลงข่าวกับสื่อมวลชนครั้งแรกหลังจากได้รับการประกันตัว ซึ่งก่อนการแถลงข่าวมี FC ของลุงพล หอบช่อดอกไม้มามอบให้เพื่อเป็นกำลังใจจำนวนมาก
โดย “ลุงพล” เปิดเผยความรู้สึกเพียงสั้นๆ เท่านั้น เนื่องจากยังพูดไม่ออก และมีท่าทีจะร้องไห้ว่า “ตนน้อมรับคำตัดสินของศาลชั้นต้น ตนได้รับทราบคำสั่งเรียบร้อย ซึ่งต่อไปก็เป็นหน้าที่ของทีมทนาย” เมื่อถามว่าลุงพลผิดหวังสำหรับผลคำสั่งของศาลหรือไม่นั้น เจ้าตัวไม่ตอบ บอกเพียงว่า “ผมไม่ค่อยรู้ และไม่ค่อยเข้าใจอะไรมาก ขอให้ทีมทนายความอธิบายแทน พร้อมขอขอบคุณ FC ทุกคนที่ให้กำลังใจ”
หลังจากนี้จะขอมอบให้ทุกอย่างเป็นหน้าที่ของทีมทนายความต่อสู้ และพิสูจน์ว่า “ตนไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิด“ หนูอยากให้ทุกคนสบายใจและเข้าใจว่า “ตน และป้าแต๋นไม่เกี่ยวข้อง”
ด้าน “ป้าแต๋น” บอกว่า “ขอบคุณ FC ทุกคนที่คอยติดตาม และให้กำลังใจ ตนเชื่อว่า FC ทุกคนรู้ว่ากระบวนการยังไม่จบ ยังมีอีก 2-3 ศาลให้ต่อสู้ แต่วันนี้ตนพร้อมน้อมรับผลคำตัดสินของศาล แต่จะขอสู้ต่อในชั้นอุทรณ์ต่อไป” เมื่อถามว่าป้าแต๋นอยากจะพูดอะไรตอบโต้หรือไม่ หลังก่อนหน้านี้เคยให้สัมภาษณ์หลังศาลตัดสินในวันนี้ เจ้าตัวตอบว่า “รอให้ถึงศาลฎีกาก่อน แล้วจะพูดตอบโต้”
ขณะที่นายสุรชัย ทนายความ ระบุว่า จำเลยของตนเคารพ และน้อมรับคำพิพากษาของศาล และขอบคุณศาลท่านที่อนุญาต-เมตตาปล่อยตัวชั่วคราวในระหว่างการต่อสู้คดี ซึ่งในคดีนี้ศาลมีดุลยพินิจตัดสินแล้วว่าลุงพลผิดใน 2 กระทง มีโทษจำคุก 20 ปี
ส่วนในรายละเอียดของคดี ศาลชั้นต้นได้ฟังข้อเท็จจริง และเชื่อว่า น้องชมพู่ไม่มีทางขึ้นภูเหล็กไฟได้ด้วยตัวเอง ด้วยรายงานการสืบสวนของทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ รวมทั้งพยานบุคคลที่มาเบิกความว่าเด็กในวัยนี้ สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้วันละ 6 ชั่วโมงเท่านั้น จึงไม่เชื่อว่าสามารถขึ้นเขาเหล็กไฟได้
ในกรณีนี้เมื่อศาลท่านไม่เชื่อ ก็ต้องมาดูต่อว่าใครจะเป็นผู้พาไปได้ โดยตามรายงานของทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ คนที่เข้าถึงผู้ตายได้ ต้องเป็นเครือญาติ ซึ่งเครือญาตมีทั้งหมด 14 คน จึงขีดเส้น “ลุงพล” คนเดียว เนื่องจากว่ามีข้อพิรุธ ว่าในช่วงเวลา 09.11 - 09.49 น. ของวันที่ 11 พฤษภาคม 2563 ลุงพลไม่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจนว่าอยู่ที่ไหนกันแน่ ศาลท่านเชื่อกระบวนการทางอากาศ แต่ในทางต่อสู้ประเด็นนี้ เราได้นำพยานบุคคลมาหักล้าง โดยการเบิกความของพยาน
ส่วนกรณีเส้นผม 1 เส้นที่พบในรถยนต์ เป็นกลุ่มเส้นผมที่พบอยู่ข้างศพของน้องชมพู่ โดยได้เข้าสู่กระบวนการพิสูจน์หลักฐาน จนสามารถเชื่อมโยง และฟังได้ว่า “ไม่มีคนอื่นพาไป นอกจากลุงพลคนเดียว” ซึ่งศาลท่านชื่ออย่างนั้น วันนี้จึงมีคำพิพากษาใน 2 ข้อหา คือ กระทำการโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปีไปเสียจากบิดา โดยศาลท่านมองว่าลุงพลไม่มีเจตนาฆ่าเด็ก ทำให้ลุงพลถูกตัดสินจำคุก 2 ข้อหา รวมโทษ 20 ปี / ส่วนข้อหาอำพรางซ่อนเร้นศพของทั้ง 2 จำเลย ศาลฯยกฟ้อง ซึ่งวันนี้ถือว่าสิ้นสุดว่าใครเป็นคนพาเด็กไป แม้ในคดีนี้จะไม่มีประจักษ์พยานที่เห็นได้อย่างชัดเจน
สำหรับในประเด็นการจ่ายค่าสินไหมทดแทนในคดีแพ่ง ทางโจทก์เรียกค่าปลงศพ 300,000 บาท แต่ศาลให้จำเลยที่ 1 ชดใช้เป็นเงิน 150,000 บาท / ส่วนค่าขาดรายได้ในการอุปการะเลี้ยงดู ทางฝ่ายโจทก์เรียก 5 ล้านบาท จากการคำนวญหากเด็กมีชีวิตอยู่ จะได้รายได้ต่อปี ปีละ 60,000 บาท ดังนั้นศาลให้จ่ายเป็นเงิน 1,020,000 บาท
โดยหลังจากนี้จะเป็นหน้าที่ของทีมทนายที่จะเขียนคำอุทธรณ์ เพื่อยื่นต่อศาลภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันนี้ แต่ด้วยเอกสารที่มีหลายแฟ้ม จึงต้องใช้เวลาในการเขียนข้อโต้ตอบโต้และคัดค้าน เพื่อให้ศาลพิจารณาพิพากษาอีกครั้ง ซึ่งในครั้งต่อไปจะเป็นศาลอุทธรณ์ภาค 4 จังหวัดขอนแก่น คาดว่าจะใช้เวลา 1-2 ปี / โดยทิ้งท้ายในวันนี้ว่า “ลุงพลไม่มีจิตใจโหดร้ายที่จะฆ่าเด็ก วันนี้เป็นการแพ้ในยกที่ 1 แต่ไม่ได้แพ้นอค“
หลังจากที่ศาลได้อ่านคำพิพากษาและปล่อยตัวชั่วคราวลุงพลทำให้กลุ่มเอฟซีได้มีโอกาสเข้าพบลุงพล พร้อมกับนำดอกไม้มามอบให้เป็นจำนวนมาก