กรณีเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2566 ศาลพิพากษาว่า นายไชย์พล วิภา หรือ ลุงพล จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291 317 วรรคแรก ฐานกระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย จำคุก 10 ปี ฐานพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดาปราศจากเหตุอันควร จำคุก 10 ปี ข้อหาอื่นสำหรับจำเลยที่ 1 ให้ยก และยกฟ้องโจทก์สำหรับนางสมพร หลาบโพธิ์ หรือ ป้าแต๋น จำเลยที่ 2 กับให้จำเลยที่ 1 ชำระสินไหมทดแทนทางแพ่ง ให้แก่โจทก์ร่วมทั้งสอง คือพ่อ-แม่น้องชมพู่ เป็นเงินคนละ 1,100,000 บาท
วันนี้ 21 ธันวาคม 2566 ด้านนายสมเกียรติ โรจนวรกมล อดีตทนายความของลุงพล ให้สัมภาษณ์ว่า เมื่อวานนี้ตัวเองรู้สึกเซอร์ไพรส์มาก ที่ลุงพลได้รับการประกันตัว เนื่องจากลุงพลมีอัตราโทษสูงถึง 20 ปี แต่ก็คาดว่าศาลอาจจะมองในเหตุผลที่ว่า ที่ผ่านมาลุงพลมาศาลฯทุกครั้ง ลุงพลมีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง และเวลาลุงพลเดินทางไปไหนก็จะมีเหล่าบรรดายูทูบเบอร์ติดตามไปถ่ายทอดสดตลอดเวลาด้วย ศาลจึงอาจเล็งเห็นว่าลุงพลไม่ได้มีพฤติกรรมหลบหนี จึงให้ประกันตัว
ถามว่าศาลมีโอกาสเชื่อหลักฐาน ที่ไม่ใช่ประจักษ์พยานหรือไม่นั้น ตัวเองมองว่าถ้าเป็นเมื่อก่อนแนวทางคำพิพากษาศาลฎีกาส่วนใหญ่จะยกฟ้อง แต่ปัจจุบันตั้งแต่มีนิติวิทยาศาตร์เข้ามา แนวทางพิพากษาจะเปลี่ยนไปจากเดิมร้อยละ 90 เลยก็ว่าได้ คือจะเชื่อ นิติวิทยาศาสตร์เป็นหลัก อย่างเช่นคดีของน้องชมพู่ศาลก็จะเชื่อในเรื่องของหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ที่เป็นเส้นผม ซึ่งเป็นกุญแจหลักในคดีนี้ ส่วนพยานแวดล้อมอื่นๆ เป็นแค่ส่วนประกอบเสริมเท่านั้น
ทนายสมเกียรติ พูดถึงเรื่องประเด็นเส้นผมอีกว่า สำหรับเส้นผมที่เจ้าหน้าที่เจอในรถของลุงพล ซึ่งเป็นเส้นผมชนิดเดียวกัน มีรอยตัดแบบเดียวกันกับที่อยู่ในศพของน้องชมพู่นั้น ก็เกิดการตั้งคำถามจากสังคมว่าเส้นผมดังกล่าวไปอยู่ในรถของลุงพลได้อย่างไร ที่ผ่านมาทางฝ่ายจำเลย ก็ไม่สามารถหาเหตุผล หาหลักฐานมาหักล้างประเด็นนี้ได้ ซึ่งตรงนี้หากลุงพลพิสูจน์ได้ ศาลก็จะรับฟังทางลุงพล แต่คาดว่าที่ผ่านมา ลุงพลน่าจะพิสูจน์ไม่ได้
คดีนี้ตัวเองขอชื่นชน การทำงานอย่างละเอียดของ พลตำรวจเอกสุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร.ณ ขณะนั้น เนื่องจาก เส้นผมที่ใช้เป็นหลักฐานนั้นไม่ใช่เส้นผมปกติที่หลุดร่วงออกจากศีรษะทั่วไป แต่เป็นผมที่มีรอยตัดเดียวกัน กับที่เจอกับศพบนภูเหล็กไฟ
เมื่อวานนี้ ที่ทนายลุงพลพูดประโยคหนึ่งขึ้นมาว่า “แพ้คะแนน แต่ยังไม่แพ้น็อค” นั้น สำหรับตัวเองมองว่า “ถ้ายกแรกคุณแพ้คะแนน ยกที่สองคุณเหนื่อยแน่”
ในฐานะที่เป็นคนเคยรู้จักกับลุงพล ถ้าตัวเองได้พูดคุยกับเขาตัวเองอยากแนะนำเขาว่า “ ให้ลุงพลยอมรับความจริง” คุณอย่าลืมว่าหากไปถึงชั้นอุธรณ์ กลับคำพิพากษาอาจจะหนักกว่าก็ได้ หากถามความคิดเห็นของตัวเอง ก็มองว่าทิศทางของลุงพลน่าจะแพ้
แล้วตัวเองก็บอกว่า ลุงพลเป็นคนค่อนข้างมีพิรุธ อาจเข้าเครื่องจับเท็จไม่ผ่าน ,มีพฤติกรรมแปลกๆ เช่นเขี้ยวถ่าน,ปักธูปกลับหัว และสำคัญที่สุดคือตอนที่ไปเจอศพน้องชมพู่ ก็ให้สัมภาษณ์กับนักข่าวว่า “คนร้ายเป็นชาย อายุประมาณ 30 กว่า เป็นคนอยู่ในหมู่บ้าน กำลังเดินลงจากเขา ให้เจ้าหน้าที่ไปสกัดจับให้หน่อย” ตัวเองก็สงสัยว่า สิ่งที่คุณพูดมา ลุงพลรู้ได้อย่างไร
ตัวเองทำงานกับลุงพลมา 2 ปี ทำคดีด้วยกันมาหลายคดี ก็ยอมรับว่ามีความอึดอัดมาตลอด ซึ่งตัวเองไม่สามารถตักเตือนอะไรลุงพลได้เลย ซึ่งตัวเองก็ไม่แปลกใจเลยว่าทำไมทนายตั้มถึงถอนตัว
สำหรับลุงพลนั้น ตัวเองมองว่า ลุงพลฉากหน้าอาจดูเรียบร้อย แต่ตัวตนที่แท้จริงของเขา ไม่ได้เป็นอย่างนั้น และลุงพลก็มีอารมณ์กร้าวร้าว
“ทนายเกิดผล” เผยคดี “ลุงพล” มี 2 ทางเลือก รอด-คุก เท่านั้น
ศาลพิพากษาคดีการเสียชีวิตของ “น้องชมพู่” วัย 3 ขวบ จำคุก “ลุงพล” 2 ข้อหารวม 20 ปี ส่วนป้าแต๋นยกฟ้อง ศาลให้ประกันตัว 5 แสนบาท เจ้าตัวร่ำไห้ยอมรับคำตัดสินเตรียมทีมทนายยื่นอุทธรณ์
ส่วนพ่อแม่น้องชมพู่ขอบคุณพยานปากเอก ขณะที่ตำรวจชุดคลี่คลายคดีเผย 8 ประเด็นเป็นหลักฐานสำคัญคลี่คลายคดีมหากาพย์ 3 ปี 7 เดือน
โดยในวันนี้ ทีมข่าวช่อง 8 ได้พูดคุยกับ เกิดผล แก้วเกิด หรือ “ทนายเกิดผล” ในประเด็นคำตัดสิน ซึ่งมองว่า ทางศาลได้มีการตัดสินในโทษที่สูงสุด ทั้ง 2 ข้อกล่าวหา ย่อมมีหลักฐานที่จะมีการเชื่อมโยงข้อมูลวิทยาศาสตร์
ส่วนตัวมองว่า ที่ตัดสินแบบนั้น อาจพบว่าคำให้การมีการปิดบังข้อเท็จจริงและให้การขัดแย้งกับพยานที่เกิดขึ้น
จึงทำการลงโทษข้อหาประมาทต่อผู้อื่น และทำให้ผู้อื่นเสียชีวิต แต่ศาลเชื่อว่า พยานที่ให้ปากคำที่รู้เห็นเห็นเหตุการณ์ว่าใกล้ชิด ในการสอดและขัดแย้งกับสิ่งที่ให้การไว้ และสามารถพิสูจน์สถานที่ได้ซึ่งแตกต่างกับญาติพี่น้องคนอื่นที่ตรวจสอบสัญญาณโทรศัพท์สามารถรู้หมดว่าอยู่ตรงไหนก็เป็นอีกหลักฐานสำคัญ
และในประเด็นเส้นผมนั้น สามารถรวบรวมพยานพิสูจน์ความบริสุทธิ์ความผิดของผู้ต้องหา โดยไม่จำเป็นต้องยินยอม แต่ถ้าเป็นกรณีผู้เสียหาย ถูกกระทำชำเรา จะไปตรวจร่างกายเขาก็ต้องให้มีการยินยอม แต่ถ้าเป็นผู้ต้องหาให้สิทธิ์กฎหมายเก็บวัตถุพยานหลักฐาน โดยไม่ต้องมีการยินยอม และอีกประเด็นคือ เป็นหลักฐานที่ไม่ได้เกิดผลต่อร่างกายเขา
สำหรับการยื่นอุทธรณ์ ไม่สามารถหาหลักฐานเพิ่มเติมเข้าไปอีก เพราะศาลอุทธรณ์จะไม่รับฟังศาลชั้นต้นจำเลยจะต้องอุทธรณ์ได้ไม่เห็นด้วยแนวโน้ม เพราะเป็นการลงโทษ โดยอัยการฟ้อง แต่จะทำการพิจารณาจากหลักฐานที่มีอยู่แล้ว และในการด้วยการประกันตัว จะพิจารณาจาก กรณี จะไปยุ่งกับพยานหลักฐานไหม หลบหนีหรือไม่ มีเงินประกันตามศาลเรียกหรือไม่ อยู่ที่ดุลยพินิจของศาล
สุดท้ายในกรณี การยื่นอุทรณ์นั้น มีแค่ 2 ทางเลือก ในการตัดสืน คือ รอดคุก กับ ติดคุก ไม่มแนวโน้วว่า ยื่นไปแล้วจะได้ลดโทษแน่นอน