หมอหมู ชี้ น้องชมพู่เสียชีวิต เข้าข่ายทรมานขาดน้ำ-อาหาร
ทีมข่าวช่อง 8 ได้มาพูดคุยกับ รศ. นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี หรือ “หมอหมู” อาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) พร้อมเผยว่า สำหรับเด็กแบบน้องชมพู่มีการหายตัวไปในวันที่ 11 พฤษภาคมปี 2563 แล้วก็มาพบศพ ในวันที่ 13 ซึ่งมีการคาดว่าน่าจะเสียชีวิตไปแล้ว ประมาณสัก 3 วัน ตอนนั้นเป็นข้อมูลทางแพทย์นิติเวชกับผู้เชี่ยวชาญที่ได้จากการดูของเรื่องตัวหนอนตัวต่าง ๆ ที่พบพร้อมมีการระบุว่าตรวจแล้ว พบเพียงแค่บาดแผลช้ำที่ศรีษะเพียงเล็กน้อย ดูจากลักษณะภายนอก ศพเริ่มเน่าและมีลักษณะให้เห็นว่าน่าจะเป็นจากการขาดน้ำ ประกอบกับในกระเพาะอาหารพบว่ามีของเหลวอยู่ในกระเพราะอาหารปริมาณที่น้อย
ถ้าตามข้อมูล น้องได้ทานอาหารมื้อสุดท้ายตอนเช้า 9 โมง ซึ่งก็อาจไม่ได้มาก แล้วก็คาดว่าน้องน่าจะเสียชีวิตจากการขาดน้ำหรือขาดสารอาหาร แต่ถ้าเกิดมองในภาพมันก็มี 2 มิติ น้องได้ทานมื้อสุดท้ายเมื่อวันที่ 11 ตอน 09.00 น. เพราะฉะนั้นอาจจะไม่เพียงพอที่จะทำให้ตัวน้องเดินขึ้นบนนั้น นี่คือปัจจัยหนึ่งนอกเหนือจากคำว่าเด็กอายุ 3 ขวบ ไม่น่าจะขึ้นไปได้ ขณะเดียวกันก็เป็นปัจจัยหนึ่งคือเรื่องของพลังงานที่ไปเกี่ยวข้องว่า อาจจะไม่เพียงพอให้น้องมีพลังงานเพียงพอที่จะขึ้นไปได้ ประกอบกับในช่วงนั้นเป็นช่วงหน้าฝนแต่ตามข้อมูลก็บอกว่าช่วงเวลาก็ค่อนข้างอากาศร้อนทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำได้มาก
ถ้าถามว่าโดยปกติทั่วไปถ้าเป็นผู้ใหญ่ตามข้อมูลที่มีการทำโดยทั่วไป ก็คือขาดน้ำเนี่ยประมาณหนึ่งสัปดาห์เสียชีวิต ขาดอาหารประมาณหนึ่งเดือนเสียชีวิต แต่มีตัวเลขบวกลบคือในแต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกัน บางคนอาจจะขาดน้ำ 5 วันหรือ 6 วัน แต่พอเป็นเด็กการขาดน้ำจะรุนแรงมากกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากร่างกายของเด็กจะมีองค์ประกอบมากกว่าในตัวผู้ใหญ่ แล้วร่างกายจะมีผลกระทบมากกว่า ที่จะทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำได้เร็วกว่าผู้ใหญ่ เพราะในกรณีแบบนี้จึงมีโอกาสที่จะทำให้เด็กสูญเสียน้ำได้มากกว่า
ในขณะเดียวกันระบบสมดุลในร่างกายของเด็กก็ควบคุมได้ไม่ดีเท่าผู้ใหญ่ เพราะเช่นนั้นการขาดน้ำไม่มากหรือขาดน้ำระดับหนึ่งก็จะทำให้เด็กอันตรายถึงอาการของคนที่ขาดน้ำขาดอาหารนั้น ในเบื้องต้นคือเรี่ยวแรง ไม่สามารถที่จะเคลื่อนไหวหรือขยับเขยื้อนตัวเองได้เหมือนปกติ ขณะเดียวกันถ้าเกิดในช่วงท้าย ๆ ตามข้อมูลของคนที่มีการขาดน้ำ หรือขาดสารอาหาร ก็จะมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องระบบสมองเข้าไปด้วย จะมีประสาทหลอนเห็นภาพเลย ในบางกรณีที่มีการรายงานคือเด็กไม่ค่อยอยู่ในสภาพที่อ่อนแรง แล้วก็ต้องอยู่กับที่ เคลื่อนไหวก็ค่อนข้างลำบาก
สำหรับคดีน้องชมพู่โดยคนทั่วไปก็น่าจะเข้าใจได้ว่าการที่เด็กขึ้นไปอยู่บนเขา ซึ่งข้อมูลน่าจะมีอากาศร้อนและเด็กขาดน้ำ ขาดสารอาหาร ซึ่งคนโดยทั่วไปก็น่าจะเข้าใจได้ว่าน่าจะทำให้เสียชีวิตก็เป็นการเข้าข่ายทรมาน เพียงแต่ว่าอันนี้มันเป็นเรื่องที่พนักงานสอบสวน หรืออัยการ หรือศาลท่านจะพิจารณาในมุมมองลักษณะว่ามีเจตนาไหม แต่ถ้าเกิดเข้าข่ายไม่เจตนา ก็คิดว่าในส่วนตรงนี้มันคงจะหลุดในส่วนของคำว่าเข้าข่ายเรื่องการทรมานไปด้วย
แต่ถ้าเจตนาไปทิ้งเอาไว้ คนทั่วไปต้องทราบว่าการเอาเด็ก 3 ขวบไปทิ้งบนที่สูง ที่อากาศร้อน ก็ขาดน้ำ ขาดสารอาหาร มันเป็นความทรมานอย่างมาก เพราะว่าอากาศร้อน ตัวหนอนมาวางไข่แล้วก็กลายเป็นตัว มันจะมีช่วงเวลาของมันแล้วมาวัดขนาด เพื่อจะย้อนดูระยะเวลาว่าเป็นการเสียชีวิตมากี่วัน เพราะฉะนั้นในขบวนการเน่า ประเด็นของน้องชมพู่ที่มีการตัดสินในแง่ของการตรวจทางการแพทย์ การเสียชีวิตที่มาจากการขาดน้ำหรือขาดสารอาหาร เนื่องจากว่าการตรวจของแพทย์ก็ชัดเจนว่ามีบาดแผลฟกช้ำที่หนังศีรษะเพียงเล็กน้อย ซึ่งการพิจารณาไม่ได้มีการเขียนเกินกว่าความเป็นจริงที่ควรจะเป็นในเรื่องการเสียชีวิต