จากกรณีที่มีพ่อเฒ่าชาวเชียงราย ได้มีหนังสือส่งมาที่บ้านขอให้หยุดการกระทำอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ทำด้ามไม้กวดที่มีลวดรายเผาไฟคล้ายผู้จดลิขสิทธิ์ ทำให้พ่อเฒ่าวัย 84 ปี กินไม่ได้นอนไม่หลับ ไม่คิดว่าจะไปทำเหมือนใครเพราะวิธีการทำมีมาตั้งแต่โบราณ

วันที่ 29 ธ.ค. 2566 ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่ไปยังที่บ้านของนายหลั่น อายุ 84 ปี อาศัยอยู่ที่บ้านป่ากล้วย ม.11 ต.สันทราย อ.เมือง จ.เชียงราย พบว่าเป็นร้านค้าขายของชำเล็ก ๆ อาศัยอยู่ด้วยกัน 2 ตายาย หน้าร้านมีไม้กวดขาย 5 ด้าม ไม้กวดดอกหญ้า 3 ด้าม ไม้กวดทางมะพร้าว 2 ด้าม พร้อมกับมีลวดลายด้ามไม้กวดลนไฟ ซึ่งก็ดูตามปกติมีทั่วไป



จากการสอบถามนายหลั่น ทราบว่า ได้ทำอาชีพไม้กวาดตั้งแต่อายุประมาณ 50 ปี จนถึงปัจจุบัน 84 ปี ทำมาแล้ว 34 ปี ซึ่งสมัยทำครั้งแรกขายด้ามละ 25 บาท ปัจจุบันขายด้ามละ 50 บาท จนเลี้ยงลูกโตได้ 2 คน ลูกชายคนโตอายุ 50 ปี คนเล็ก 49 ปี

ซึ่งเมื่อวานที่ผ่านมา ได้มีหนังสือจาก นส.อรพิณ เป็นหนังสือลิขสิทธิ์ทางการค้า ได้มีการจดทรัพย์สินทางปัญญา ตั้งแต่วันที่ 19 เม.ย. 2542 โดยมีการอ้างว่านายหลั่นได้ทำด้ามไม้กวดลนไฟคล้ายของ ผู้จนสิทธิบัตร “ขอให้นายยุติการทำลวดลายให้เกิดขึ้นบนไม้โดยลมควันไฟด้วย”
ซึ่งทางด้านนายหลั่นถึงกับงง ตนเองทำมาตั้งนานไม่คิดเลยว่าวันหนึ่งจะมีคนมาร้องให้หยุดทำด้านไม้กวดลนไฟ ที่เป็นลวดลายสลับกันไปมา ซึ่งที่ตนเคยเหตุตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายายเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน



ด้านนายหลั่น ยังพาผู้สื่อข่าวให้ดูวิธี การทำด้ามไม้กวดลนไฟ โดยนำไม่ไผ่ไปลนบนเตาแก๊ส พอเกิดความร้อนด้ามไม้ไผ่จะไหม้ จึงหมุนไปมาทำเป็นลายควันไฟ จากนั้นหากมีไม้ไผ่งอ จะนำไปดัดกับตนไม้ให้ตรง ซึ่งตนเองก็จะทำเพียงยามว่าง ทำได้วันละคงไม่เกิน 2 ด้าม ทำแก้เหงาเพราะแก่แล้ว

ซึ่งนายหลั่นก็ไม่เคยเห็นวิธีการทำที่ว่าเหมือนกับของคู่กรณี ที่กล่าวหาตน หลังจากนี้จะมีการดำเนินคดีอย่างไร ตนเองก็ไม่รู้เพราะไม่เคยพบแบบนี้มาก่อน หากมีการฟ้องร้องขึ้นศาลก็คงต้องสู้กันไปแบบชาวบ้าน เพราตนเองเห็นแบบนี้มาตั้งนาน ที่ไหนก็มีทำ

ล่าสุดผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามสอบถาม นส.อรพิณ ผู้จดสิทธิ์บัตร แต่ไม่พบจึงได้ไปสอบถามนายถนอม สง่าวงค์ ผู้ใหญ่บ้านป่าไผ่ ทราบว่า บ้านผู้ใหญ่บ้านเองใกล้กับบ้าน นส.อรพิณ หรือ ป้าคำ โดยเล่าว่า ป้าคำไม่เคยมีโรงงานทำไม้กวาด และไม่สามารถทำไม่กวาดด้วยตนเอง โดยจะอาศัยชาวบ้านที่อยู่ในหมู่บ้านรวมสิบกว่าคนทำให้ แล้วนำไปส่งตามร้านค้า และนำออกบูธสินค้า otop ทั่วไป



ป้าคำได้นำไม้กวาดที่มีลวดลายลมควันไปจดสิทธิ์บัตร และได้ไปพบเห็นที่ไหนก็จะไปร้องขอให้ยุติการทำ สร้างความเดือนร้อนไปทั่ว เมื่อป้าคำไปเห็นจะยื่นหนังสือทุกคน ที่ผ่านมานับสิบกว่าคน “ตาหลั่นเป็นรายล่าสุด”

ต่อมาก็มีปัญหากับคนทำไม้กวดในหมู่บ้านตนเอง และก็มีปัญหาในหมู่บ้านตามมาหลากหลาย จนชาวบ้านไม่กล้าที่จะเข้ามาร่วมงานกับป้าคำ กระทั่งป้าคำได้ย้ายไปสั่งให้หมู่บ้านอื่นทำไม้กวาดมาส่ง ต้องมีลวดลายลนควันไฟ ตามที่ต้องการมาส่งตนเอง และก็มีปัญหาไปทั่ว ป้าคำไปพบเห็นที่ไหนมีการลมควันบนไม้ไผ่ แกก็จะร้องไปทั่วทำให้ทุกคนเอือมละอา

ล่าสุด ที่บ้านตาหลั่น พบที่หน้าบ้านตาหลั่นไม่มีไม่กวาดวางขาย ทราบว่า ทาง อบต.ตำบลสันทราย ถูกป้าคำบุกไปต่อว่าให้ทางเจ้าหน้าที่ ขอให้ไปเตือนตาหลั่นให้หยุดขายไม้กวาดลายลมควันทันที ทางเจ้าหน้าที่ อบต. จึงประสานให้ทางผู้ใหญ่บ้านป่ากล้วย ไปบอกให้ตาหลั่นที่ทำไม้กวาดหยุดเอาไม้กวาดที่มีลวดลายออกมาขาย ทำให้ตาหลั่นเก็บไม้กวาดหน้าบ้านเข้าในบ้านทั้งหมด ซึ่งตาหลั่นก็ไม่รู้ทำอย่างไร เมื่อเจ้าหน้าที่มาขอร้องให้เลิกทำไม้กวาดลมควัน ซึ่งตนเองไม่คิดว่ามีพบเหตุการณ์แบบนี้ เคยเห็นแต่ในทีวี ตอนนี้มาพบกับตัว

ตาหลั่นยังกล่าวอีกว่า สาเหตุที่ลมควันบนไม้ไผ่ เกิดจากที่ไม้ไผ่คดไปมาไม่ตรง ต้องนำไปลนไฟ แล้วค่อย ๆ ดัดให้ไม้ไผ่ตรง จึงนำมาทำไม้กวาดได้ ด้ามไม้ไผ่จึงเกิดเป็นลวดลานลมควันไฟ



โดยทีมข่าวช่อง 8 ได้พูดคุยกับทนายเดชา กิตติวิทยานันท์ หรือทนายคลายทุกข์ ถึงกรณีดังกล่าวว่า กฎหมายลิขสิทธิ์เป็นเรื่องของการสร้างสรรค์ เป็นความคิดริเริ่มที่ใครจะริเริ่มอะไรขึ้นมา ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนกับพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทรัพย์สินทางปัญญา

ดังนั้นกรณีนี้ ในการจดลิขสิทธิ์เป็นงานสร้างสรรค์ เป็นความคิดของไทย ก็มีกฎหมายรับรองคุ้มครอง สมมุติว่าคุณตาอาจทำใช้มานานแล้วหลายสิบปี ก็ไม่ต้องกลัวว่าใครจะมาฟ้อง เรื่องละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะว่ามันเป็นการทำโดยสุจริต ถึงแม้จะซ้ำหรือเหมือนกับของบุคคลอื่นก็ไม่มีความผิดเพราะถือว่าเป็นการการทำมาหากินโดยสุจริต แต่ความคิดมันอาจจะต่างหรือเหมือนกัน เราไม่สามารถที่จะหยุดกระทำการได้ ให้สบายใจได้ ไม่ต้องเป็นห่วง

ระวังถูกจับ! ใช้ไม้กวาดลายไฟ สาวใหญ่อ้างมีลิขสิทธิ์ พ่อเฒ่างงโดนสั่งห้ามขาย