"นิด้าโพล" เผยผลสำรวจ "ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ เบื่ออะไร?" ชี้ส่วนใหญ่ เอือมระบบงานที่ซับซ้อน แต่เกินครึ่งไม่อยากลาออก

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ เบื่ออะไร?” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 14-18 มีนาคม 2567 จากข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานรัฐวิสาหกิจทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความรู้สึกเบื่อของข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐต่อระบบราชการไทย การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่าง โดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

 

 

                จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานรัฐวิสาหกิจเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้รู้สึกเบื่อในระบบหรืองานราชการ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 39.47 ระบุว่า ขั้นตอนการปฏิบัติราชการที่มากมายและยุ่งยากซับซ้อน รองลงมา ร้อยละ 31.53 ระบุว่า ระบบอุปถัมภ์ในระบบราชการ ร้อยละ 28.24 ระบุว่า เงินเดือนน้อย ร้อยละ 22.44 ระบุว่า ตัวชี้วัดทั้งหลาย ร้อยละ 20.38 ระบุว่า โครงสร้างการปกครองหรือสั่งการตามลำดับชั้น ร้อยละ 18.93 ระบุว่า การประสานงานที่ไม่เป็นระบบ ร้อยละ 17.02 ระบุว่า การแข่งขันกันเพื่อแย่งชิงความดีความชอบและตำแหน่งที่สำคัญ ร้อยละ 16.49 ระบุว่า การคอร์รัปชันในระบบราชการ ร้อยละ 16.18 ระบุว่า เจ้านาย ร้อยละ 15.73 ระบุว่า ไม่เบื่ออะไรเลย ร้อยละ 14.05 ระบุว่า เพื่อนร่วมงาน ร้อยละ 11.07 ระบุว่า การทำงานแบบผักชีโรยหน้า ร้อยละ 10.23 ระบุว่า การแทรกแซงของนักการเมือง ผู้มีอิทธิพล ร้อยละ 8.47 ระบุว่า ลูกน้อง ร้อยละ 7.25 ระบุว่า งานที่มีความเสี่ยงจะผิดกฎระเบียบ และร้อยละ 6.41 ระบุว่า ประชาชนที่ไม่เข้าใจในระบบงาน กฎระเบียบของราชการ

 

                ด้านความศรัทธาต่อระบบราชการไทย พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 49.47 ระบุว่า ค่อนข้างศรัทธา รองลงมา ร้อยละ 22.52 ระบุว่า ศรัทธามาก ร้อยละ 21.53 ระบุว่า ไม่ค่อยศรัทธา ร้อยละ 6.34 ระบุว่า ไม่ศรัทธาเลย และร้อยละ 0.14 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

 

                ท้ายที่สุดเมื่อถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการลาออก หรือการย้ายไปอยู่หน่วยงานอื่นของรัฐ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 63.04 ระบุว่าไม่อยากลาออกและไม่อยากย้ายหน่วยงาน รองลงมา ร้อยละ 14.89 ระบุว่า อยากลาออกจากหน่วยงานของรัฐ ร้อยละ 13.44 ระบุว่า อยากย้ายไปอยู่หน่วยงานอื่นของรัฐ ร้อยละ 8.32 ระบุว่า ลาออกหรือย้ายหน่วยงานก็ได้ และร้อยละ 0.31 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ   

  

 

 

 

                เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 12.98 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 21.22 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 17.94 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 28.32 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 15.11 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 4.43 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 30.15 เป็นเพศชาย และร้อยละ 69.85 เป็นเพศหญิง

 

                ตัวอย่าง ร้อยละ 1.15 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 18.93 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 35.57 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 41.91 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 2.44 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 94.96 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 4.35 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.69 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ

 

                ตัวอย่าง ร้อยละ 38.55 สถานภาพโสด ร้อยละ 59.39 สมรส และร้อยละ 2.06 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 8.40 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 5.73 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 58.24 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 27.63 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

 

                ตัวอย่างทั้งหมดเป็นข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ตัวอย่าง ร้อยละ 1.07 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 29.31 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 28.40 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 17.10 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 15.27 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 8.85 ไม่ระบุรายได้