"นิด้าโพล" ชี้ประชาชน 67.40% ไม่เห็นด้วยนโยบาย ยาบ้า 5 เม็ด ผู้เสพคือผู้ป่วย

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง ยาบ้า 5 เม็ด กับผู้เสพ คือ ผู้ป่วย”  ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 18-20 มีนาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับประมวลกฎหมายยาเสพติดที่ยึดหลัก “ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย” การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

 

          จากการสำรวจเมื่อถามถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาดของยาเสพติดในปัจจุบัน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 57.63 ระบุว่า ยาบ้าหาซื้อได้ง่าย รองลงมา ร้อยละ 56.79 ระบุว่า ยาบ้ามีราคาถูก ร้อยละ 36.26 ระบุว่า กัญชาหาซื้อได้ง่าย ร้อยละ 35.57 ระบุว่า พืชกระท่อม/น้ำกระท่อม หาซื้อได้ง่าย ร้อยละ 35.27 ระบุว่า นโยบายของรัฐบาลไม่มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 34.27 ระบุว่า กัญชามีราคาถูก ร้อยละ 33.89 ระบุว่า พืชกระท่อม/น้ำกระท่อม มีราคาถูก ร้อยละ 31.07 ระบุว่า มาตรการการปราบปรามยาเสพติดไม่มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 30.08 ระบุว่า มาตรการการป้องกันยาเสพติดไม่มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 26.03 ระบุว่า ผู้บังคับใช้กฎหมายหย่อนยานในการดำเนินการ ร้อยละ 22.60 ระบุว่า สภาพทางสังคมทำให้คนเสพยาเพิ่มขึ้น ร้อยละ 20.76 ระบุว่า นโยบายถือครองยาบ้าไม่เกิน 5 เม็ด ถือว่าเป็นผู้เสพ ร้อยละ 17.63 ระบุว่า สภาพทางเศรษฐกิจทำให้คนเสพยาเพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.44 ระบุว่า นโยบายผู้เสพ คือ ผู้ป่วย ร้อยละ 11.91 ระบุว่า ผู้เสพไม่มีจิตสำนึกเอง ร้อยละ 11.07 ระบุว่า มาตรการการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดไม่มีประสิทธิภาพ และร้อยละ 1.22 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

 

          ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อประมวลกฎหมายยาเสพติดที่ยึดหลัก “ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย” พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 67.40 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย รองลงมา ร้อยละ 12.60 ระบุว่า เห็นด้วยมาก ร้อยละ 9.85 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย และไม่ค่อยเห็นด้วย ในสัดส่วนที่เท่ากัน และร้อยละ 0.30 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

 

          สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อการครอบครองยาบ้าไม่เกิน 5 เม็ด ถือว่าเป็นผู้เสพที่ต้องได้รับการบำบัดรักษาและไม่ต้องโทษจำคุก พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 78.85 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย รองลงมา ร้อยละ 7.79 ระบุว่า เห็นด้วยมาก และไม่ค่อยเห็นด้วย ในสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ 5.50 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย และร้อยละ 0.07 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

 

          ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับปริมาณการครอบครองยาบ้าเพื่อเสพที่จะเข้ากับหลักการ “ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย” พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 59.85 ระบุว่า ยืนยันว่าไม่เห็นด้วย/ไม่ค่อยเห็นด้วยกับหลักการ “ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย” รองลงมา ร้อยละ 23.66 ระบุว่า ไม่เกิน 1 เม็ด ร้อยละ 8.40 ระบุว่า ประมาณ 2-3 เม็ด ร้อยละ 3.66 ระบุว่า ประมาณ 4-6 เม็ด ร้อยละ 1.53 ระบุว่า ประมาณ 10-12 เม็ด ร้อยละ 0.76 ระบุว่า ประมาณ 7-9 เม็ด ร้อยละ 0.08 ระบุว่า ประมาณ 13-15 เม็ด และร้อยละ 2.06 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

 

 

          เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.55 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 17.94 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.43 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.82 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.71 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 48.24 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.76 เป็นเพศหญิง

 

          ตัวอย่าง ร้อยละ 16.72 อายุ 15-25 ปี ร้อยละ 17.02 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.09 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 25.50 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 22.67 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 95.27 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.66 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 1.07 นับถือศาสนาคริสต์และศาสนาอื่น ๆ

 

          ตัวอย่าง ร้อยละ 38.93 สถานภาพโสด ร้อยละ 58.78 สมรส และร้อยละ 2.29 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 23.13 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 40.53 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.40 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 25.04 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 3.90 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

 

          ตัวอย่าง ร้อยละ 8.09 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 16.18 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 20.23 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 11.76 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 14.81 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 20.53 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 8.40 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

 

          ตัวอย่าง ร้อยละ 26.11 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 19.24 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 26.95 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 11.60 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 3.74 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 3.89 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 8.47 ไม่ระบุรายได้