"อดีต กรธ." ชี้ คดีนายกฯตั้ง "พิชิต" 50/50 มอง กรณีถามกฤษฎีกาไม่ครบ อาจเป็นข้อมัดนายกฯ ปัดความรับผิดชอบไม่ได้ เหตุเป็นผู้บังคับบัญชา ลุ้นโทษจะถึงถอดถอนหรือไม่ แจง "คำว่าซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์" ต้องชัดแจงต่อประชาชน เชื่อ ปมสภาทนายความไม่คืนตั๋วทนายให้"พิชิต" ศาลน่าจะหยิบขึ้นมาพิจรณาด้วย
นายชาติชาย ณ เชียงใหม่ อดีตกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงคดีนายกรัฐมนตรี ในแง่มุมของข้อกฎหมาย โดยมองว่า ศาลรัฐธรรมนูญ น่าจะพิจารณาใน 3 ประเด็น คือ 1.ท่านนายกฯมีเจตนาอย่างไรรู้หรือไม่รู้ ยกตัวอย่าง แม่ค้าเลือกผลไม้ รู้ทั้งรู้ว่ามันไม่น่าจะเป็นเกรด A แต่ก็พยายามที่จะให้มันเป็นเกรด A มันก็ถือว่าเราทำหน้าที่โดยไม่สุจริตต่ออาชีพ กรณีนี้ก็เช่นกัน // 2. รู้ว่าของมีตำหนิแต่ก็ยังไปเสนอขาย เข้าข่ายฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง ซึ่งศาลต้องพิจารณาและกำหนดบรรทัดฐานในเรื่องนี่ด้วย เพราะที่ผ่านมานายกก็สู้ว่าไม่เคยมีการบัญญัติคำว่ามาตรฐานทางจริยธรรมร้ายแรงไว้ว่ามันคืออะไร และ 3. ต้องดูผลของการกระทำว่า มันทำให้เกิดความเสียหายหรือไม่ และความเสียหายนั้นร้ายแรงแค่ไหน ซึ่งกรณีนี้นายพิชิตลาออกก่อน ศาลอาจจะหยิบประเด็นนี้มาพิจารณา
"ในเมื่อมันมี 3 ประเด็นที่ต้องพิจารณา และเราก็ไม่รู้ใจตุลาการแต่ละท่านเป็นอย่างไร คดีนี้มันจึง 50 50 ถ้าตีความตามตัวกฎหมายจริงๆ 160 (4) (5) มันก็เข้าข่าย รายการที่ท่านไม่ได้เรียกไต่สวนใครก็ถือว่ามันชัดแล้ว มันก็คงออกได้ 2 ทาง แล้ววันนี้เสียงก็ไม่น่าจะเป็นเอกฉันท์ มันน่าจะ 5 ต่อ 4 หรือ 4 ต่อ 5"
นายชาติชาย ยังอธิบายคำว่าซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ประเด็นนี้ก็มีการถกเถียงกันเยอะ นิยามคือ "คุณต้องมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ต่อประชาชน" และประเด็นของนายพิชิต ที่สภาทนายความไม่ยอมคืนตั๋วทนายให้ มันก็หมายถึงเป็นตราปั๊มว่า คุณมีข้อครหา และคิดว่าในการพิจารณาคดีของนายกฯ ตุลาการบางท่านก็อาจจะหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาพูดถึง
นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่นายกรัฐมนตรีเลือกที่จะไม่ถามกฤษฎีกา เรื่องการสุจริตเป็นที่ประจักษ์ ก็จะเป็นข้อมัดนายก จะอ้างไม่รู้ ให้ลูกน้องดำเนินการไม่ได้ เพราะคุณเป็นผู้บังคับบัญชายังไงก็ปัดความรับผิดชอบไม่พ้น จึงเป็นประเด็นที่ศาลต้องหยิบมาพิจารณาด้วย ว่ามีโทษพอที่จะถอดถอนนายกรัฐมนตรีหรือไม่
อย่างไรก็ตาม หากนายเศรษฐา ไม่รอดก็คงมีแรงกระเพื่อมทางการเมืองในระดับหนึ่ง ต้องเลือกนายกรัฐมนตรีกันใหม่ และส่วนตัวคิดว่าหากนายเจ็บขาถูกศาลวินิจฉัยว่าผิดมาตรา 160 ( 4) และวงเล็บ (5) ก็ไม่น่าจะกลับมาเป็นตัวเลือกใน candidate นายกฯได้ เพราะถือว่ามีคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้นอาจจะมีการสับเปลี่ยนทางการเมืองครั้งใหญ่ และพรรคที่มีจำนวน สส.มากก็จะอาจจะถึงโอกาสนี้ เพราะปัจจุบันพักร่วมรัฐบาลก็มีปัญหากันหลายเรื่อง