วันที่ 4 แล้ว! สถิติ 10 วันอันตราย ประจำวันที่ 30 ธันวาคม 2567 เกิดอุบัติเหตุ 261 ครั้ง ผู้บาดเจ็บ 267 คน ผู้เสียชีวิต 32 ราย "ลำปาง" อุบัติเหตุ-ผู้บาดเจ็บสูงสุด ขณะที่ "นนทบุรี" มีผู้เสียชีวิตสูงสุดคือ 6 ราย
วันที่ 31 ธันวาคม 2567 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและความร่วมมือของหน่วยงานภาคีเครือข่าย ได้รวบรวมสถิติอุบัติเหตุทางถนนประจำวันที่ 30 ธันวาคม 2567 เกิดอุบัติเหตุ 261 ครั้ง ผู้บาดเจ็บ 267 คน ผู้เสียชีวิต 32 ราย โดยมีจัดตั้งจุดตรวจหลัก 1,777 จุด เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 50,408 คน
สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ขับรถเร็ว ร้อยละ 43.30 , ดื่มแล้วขับ ร้อยละ 22.61 , ตัดหน้ากระชั้นชิด ร้อยละ 21.07
ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 83.77
ส่วนใหญ่เกิดบนเส้นทางตรง ร้อยละ 77.78 , ถนนกรมทางหลวง ร้อยละ 37.93 , ถนนใน อบต./หมู่บ้าน ร้อยละ 33.33
ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ เวลา 16.01-17.00 น. ร้อยละ 9.58
ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตสูงสุดอยู่ในช่วงอายุ 20-29 ปี ร้อยละ 18.06
จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ลำปาง จำนวน 12 ครั้ง
จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ ลำปาง จำนวน 13 คน
จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ นนทบุรี จำนวน 6 ราย
สรุปอุบัติเหตุทางถนนสะสมในช่วง 4 วันของการรณรงค์ “ขับขี่ปลอดภัย เมืองไทยไร้อุบัติเหตุ” (27-30 ธันวาคม 2567) เกิดอุบัติเหตุรวม 1,134 ครั้ง ผู้บาดเจ็บรวม 1,109 คน ผู้เสียชีวิต รวม 175 ราย จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต (ตายเป็น 0) มี 14 จังหวัด จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา (42 ครั้ง) จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา (39 คน) จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร และนนทบุรี (จังหวัดละ 9 ราย)
ทั้งนี้ ศปถ. ประสานทุกจังหวัดปรับแผนตั้งด่านตรวจ ด่านชุมชน ป้องปรามและควบคุมพฤติกรรมเสี่ยงอุบัติเหตุทางถนน โดยเฉพาะการดื่มแล้วขับ พร้อมเพิ่มความเข้มข้นดูแลความปลอดภัย คุมเข้มเส้นทางโดยรอบแหล่งท่องเที่ยว ศาสนสถาน สถานบันเทิง สถานที่จัดงานเทศกาลปีใหม่ และบริเวณเส้นทางโดยรอบ เพิ่มกำลังตรวจตราดูแลความปลอดภัยของประชาชนและนักท่องเที่ยวเป็นพิเศษ ตลอดจนควบคุมการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด มุ่งเน้นมาตรการเชิงรุกแบบ “เคาะประตูบ้าน” โดยเฉพาะบ้านเรือนที่มีการจัดเลี้ยงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ และใช้กลไก “ด่านชุมชน” “ด่านครอบครัว” เพื่อป้องปรามไม่ให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยงอบุติเหตุทางถนน