ด้านพญ. ปายณ์ ปรมกุล ผู้ช่วยสารสนเทศ ของโรงพยาบาล ระบุเกี่ยวกับบัตรคิวว่า การรับบริการของผู้ป่วย ปกติผู้ป่วยนอก หรือผู้ป่วยใหม่ จะต้องติดต่อที่จุดคัดกรอง มีพยาบาลช่วยเหลือ คัดกรอง แล้วจะได้บัตรคิว เพื่อแสดงว่าต้องไปรักษาที่คลินิกใด
จากนั้นต้องไปติดต่อห้องบัตร เพื่อทำประวัติ และไปที่จุดซักประวัติ ตามคลีนิกที่แจ้งในบัตรคิว จากนั้นจึงจะเกิดการบันทึกข้อมูลการรักษา ใน opd card หรือผู้ป่วยนอก แล้วจึงไปรับยา ซึ่งจุดนี้บัตรคิวจะถูกเก็บไป
ซึ่งระบบการออกบัตรคิว ระบบการรักษา กับระบบการออกบัตรคิว จะแยกกัน ทำให้ผู้ป่วย รับบัตรคิว โดยไม่เข้ารักษาได้
ด้านนายแพทย์นินนาท มุขดี ผู้อำนวยการโรงพยาบาล ระบุว่า ทางโรงพยาบาลไม่ได้มีปัญหากับน.ส.รุ่งอรุณ แต่ต้องรักษาชื่อเสียงในฐานะโรงพยาบาลของรัฐ เพื่อยืนยันความบริสุทธิ์
และมั่นใจในระบบ ว่ามีความชัดเจน ไม่มีความผิดพลาด เมื่อสื่อสารออกไปแล้วเสียชื่อ จึงต้องรวบรวมข้อมูลเพื่อร้องทุกข์ เพื่อขอความเป็นธรรม เพราะตรวจสอบแล้วไม่พบว่ามีการตรวจครรภ์ในปี 2567 แน่นอน
โดยฝ่ายกฎหมาย ระบุว่าจากการตรวจสอบข้อเท็จจริง ไม่เป็นความจริงตามที่ปรากฏ โดยได้รวบรวมข้อมูล ทั้งผู้พูดและผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งมีความผิดเกี่ยวกับ นำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ และจะดำเนินคดีทางอาญาถึงที่สุด