"สวนดุสิตโพล" เผย เป็นสิทธินักการเมือง เคลื่อนไหวปกป้องผลประโยชน์ วิจารณ์กฏหมายลูก ประชาชนจะได้รับรู้ข้อเท็จจริง ขณะเดียวกัน ประชาชน ให้ความสมใจ ประเด็นไพรมารี่โหวต ที่สุด

“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชน ทั่วประเทศ 1,289 คน เกี่ยวกับกฎหมายลูก พรรคการเมือง การเลือกตั้งเพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนต่อนักการเมืองไทย พบว่า เมื่อถามว่าประชาชนคิดอย่างไรกับกรณีที่นักการเมืองออกมาเรียกร้องในประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับกฎหมายลูก ทั้งเรื่องพรรคการเมือง เรื่องการเลือกตั้งและอื่นๆ ร้อยละ 76.49 มองเป็นการเรียกร้องเพื่อปกป้องผลประโยชน์ทางการเมือง ร้อยละ 73.16 นักการเมืองมีสิทธิ์ที่จะเสนอความคิดเห็นได้ ร้อยละ 67.26 รัฐบาลควรรับฟัง เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น

เมื่อถามว่าจากที่นักการเมืองออกมาเรียกร้องในประเด็นต่างๆ ประชาชนสนใจเรื่องใดมากที่สุด พบว่า ร้อยละ 64.79 ประชาชนสนใจกรณีที่นักการเมืองการคัดค้านและท้วงติงระบบการเลือกตั้งแบบไพรมารี่โหวต

ขณะที่ร้อยละ 60.08 สนใจกรณีที่นักการเมืองเรียกร้องจัดให้มีการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์เที่ยงธรรม ร้อยละ 58.70 นักการเมืองต้อง การให้ปลดล็อกพรรคการเมืองสามารถทำกิจกรรมได้

เมื่อถามว่าเห็นด้วยกับการออกมาเรียกร้องของนักการเมืองในช่วงนี้หรือไม่ ร้อยละ 54.28 เห็นด้วย เพราะช่วยสะท้อนปัญหา ทำให้ประชาชนสนใจติดตามข่าว เป็นการตรวจสอบการทำงาน กระตุ้นให้รัฐบาลทำงานอย่างรอบคอบมากขึ้น สามารถนำข้อมูลมาปรับปรุงในการทำงานได้ ร้อยละ 45.72 ไม่เห็นด้วย เพราะอาจเป็นประเด็นที่ทำให้เกิดความขัดแย้งตามมา

เมื่อถามว่ารัฐบาลควรทำอย่างไรต่อการเรียกร้องของนักการเมือง ร้อยละ 70.21 ขอให้นำข้อเรียกร้องไปพิจารณาทบทวนกฎหมาย ร้อยละ 63.07 ออกมาชี้แจง ข้อมูลข้อเท็จจริงให้ทุกฝ่ายได้รับรู้ และ ร้อยละ 61.13 ไม่ควรออกมาโต้แย้ง ทำให้เกิดเป็นประเด็น

โพลชี้ ก้าวสู่ปีที่4 คสช. ปชช.เชื่อมั่นศักยภาพของไทยด้านการเมืองมากสุด

 ด้านกรุงเทพโพล โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดเผยสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง "ความเชื่อมั่นประเทศไทย กับการก้าวสู่ปีที่ 4 ของ คสช." โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,127 คน พบว่า ประชาชนให้คะแนนความเชื่อมั่นต่อศักยภาพของประเทศไทยเฉลี่ยในภาพรวม 5.38 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน) ซึ่งเพิ่มขึ้นจากผลสำรวจในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 0.39 คะแนน โดยมีความเชื่อมั่นด้านการเมืองมากที่สุด 5.67 คะแนน เมื่อแยกพิจารณาจากด้านที่ได้ความเชื่อมั่นมากที่สุดไปน้อยที่สุด พบว่า ความเชื่อมั่นด้านการเมืองในภาพรวมได้คะแนนเฉลี่ย 5.67 คะแนน เพิ่มขึ้นจากผลสำรวจครั้งก่อน 0.55 คะแนน (5.12 คะแนน) โดยตัวชี้วัดด้านการเมืองที่ประชาชนให้คะแนนความเชื่อมั่นมากที่สุดคือ ด้านการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น 5.92 คะแนน ขณะที่ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนน้อยที่สุดคือ ด้านการปฏิรูปการเมืองและพัฒนาระบอบประชาธิปไตย 5.43 คะแนน รองลงมา คือความเชื่อมั่นด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ในภาพรวมได้คะแนนเฉลี่ย 5.58 คะแนน เพิ่มขึ้นจากผลสำรวจครั้งก่อน 0.80 คะแนน (4.78 คะแนน) โดยตัวชี้วัดด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ได้คะแนนมากที่สุดคือ ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 6.08 คะแนน ส่วนด้านที่ได้คะแนนน้อยที่สุดคือ ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 5.01 คะแนน ส่วนความเชื่อมั่นที่ประชาชนให้คะแนนน้อยที่สุด คือ ด้านเศรษฐกิจในภาพรวมได้คะแนนเฉลี่ย 4.89 คะแนน ลดลงจากผลสำรวจครั้งก่อน 0.18 คะแนน (5.07 คะแนน) โดยตัวชี้วัดด้านเศรษฐกิจที่ได้คะแนนมากที่สุดคือ ด้านความสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นในภูมิภาคอาเซียน 5.57 คะแนน ส่วนด้านที่ได้คกราฟฟฟิคะแนนน้อยที่สุดคือ ด้านสถานะทางเศรษฐกิจของคนในประเทศ 4.01 คะแนน

"สวนดุสิตโพล" เผย "ไพรมารี่โหวต" เป็นประเด็นที่สนใจที่สุด