ประชาชนหลายพื้นที่เริ่มตื่นตัว นำลูกสุนัขและแม่ ไปรับการฉีดวัคซีน ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามากขึ้น ขณะที่ นักศึกษาสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงพื้นที่ จ.อุทัยธานี ให้บริการฉีดวัคซีน สุนัข-แมว ตั้งเป้าไม่ต่ำกว่า 2,000 ตัว
นิสิตจากชมรมต่อต้านพิษสุนัขบ้า คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กว่า 150 คน ลงพื้น อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้กับประชาชนในพื้นที่ โดยแบ่งออกให้บริการใน 3 ตำบล คือ ตำบลสรรพยา ตำบลหาดอาษา และ ตำบลโพธิพิทักษ์
โดยมี ชาวบ้านที่ทราบข่าว ต่างทะยอย นำสัตว์เลี้ยงที่เสี่ยงต่อการติดพิษสุนัขบ้า โดยเฉพาะสุนัข และ แมวมาลงทะเบียน เพื่อทำการฉีดวัคซีนอย่างคึกคัก
เมื่อสัตว์ ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแล้ว จะได้รับปายห้อยคอเพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่า ได้รับวัคซีนแล้ว เป็นสัตว์ที่อยู่ในกลุ่มปลอดภัย
โดยโครงการนี้ จะลงพื้นที่เป็นเวลา 2 วัน คือวันที่ 24-25 มีนาคม ตั้งเป้าไว้จะสามารถฉีดวัคซีนให้ทั้งสุนัขและแมวได้ไม่ต่ำกว่า 2 พันตัวตัว
ส่วนที่จังหวัดตราด นายสัตวแพทย์บุญญกฤช ปิ่นประสงค์ ปศุสัตว์จังหวัดตราด เปิดเผย ถึงสถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้า ในจังหวัดตราด ว่า ตั้งแต่ปี 2553 ยังไม่พบสุนัขหรือแมวที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า
ล่าสุด อบจ.ตราด เตรียมสนับสนุนงบประมาณจัดซื้อวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า เพิ่มเติมอีก เพื่อเร่งดำเนินการฉีดวัคซีนให้กับสุนัขและแมวจรจัด ที่ยังไม่ได้ฉีดอีกกว่า 2 หมื่น จากทั้งหมด 4 หมื่น 3 พันตัว ในจังหวัดตราด
ขณะเดียวกันปศุสัตว์จังหวัดตราด กำลังเร่งสร้างแหล่งพักพิงชั่วคราวให้กับสุนัขจรจัด แมวจรจัด ที่ด่านกักกันสัตว์เขาล้าน ตำบลแหลมกลัด อำเภอเมือง อีกด้วย
ปิดท้ายที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ชาวบ้านชุมชนนิยมสุข ตำบลท่าวัง อำเภอเมือง จำนวนมาก ต่างตื่นตัว นำสัตว์เลี้ยง สุนัขและแมว มาลงทะเบียนแจ้งชื่อและอายุของสัตว์เลี้ยง รับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ยาคุมกำเนิดให้กับสุนัขและแมว เพื่อป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
โดยมี นายไสว เขียวจันทร์ รองนายกเทศมนตรีนครนครศรีธรรมราช พร้อม คณะเจ้าหน้าที่จากกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม งานสัตวแพทย์ จัดโครงการควบคุมและป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งมีอยู่ในพื้นที่ กว่า 6 พันตัว
ทั้งนี้ ขอให้ชาวบ้าน นำสุนัข และ แมว ที่มีอายุ 3 เดือนขึ้นไป ไปรับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และ รับวัคซีน ทุก ๆ 1 ปี เพื่อป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า