กลุ่มมิจฉาชีพที่นำบัตรประชาชนผู้อื่นไปทำธุรกรรมเพื่อเปิดใช้บริการต่างๆ ล่าสุดมีข้อมูลจากหน้าบัตรประชาชนจากค่ายมือถือหลุด ผู้เชียวชาญด้านความปลอดภัยทางเทคโนโลยี มองว่าปัญหานี้เกิดขึ้นจากการละเลยของเจ้าหน้าที่ในการตรวจพิสูจน์ตัวตนก่อนทำธุรกรรม
จากกรณีที่ผู้เสียหาย เข้าแจ้งความดำเนินคดีกับผู้ที่นำเอาบัตรประชาชนของผู้เสียหายหลายรายไปซื้อและเปิดเบอร์โทรศัพท์ของค่ายมือถือดัง ที่กำลังเป็นข่าวว่าถูกแฮกข้อมูลบัตรประชาชนเป็นจำนวนมากที่มีการเผยแพร่ข่าวไปก่อนหน้านี้ หลังตรวจสอบข้อมูลพบว่า เบอร์โทรศัพท์ที่ถูกเปิดทั้ง 2 เบอร์ใช้บัตรประชาชนของจริงนำไปเปิดที่ร้านสะดวกซื้อแห่งหนึ่ง โดยผู้ที่นำบัตรประชาชนใบดังกล่าวมาใช้เป็นหญิงสูงอายุ ซึ่งนอกเหนือจากที่ใช้บัตรประชาชนของตนแล้ว ยังมีการเปิดเบอร์ใหม่และซื้อโทรศัพท์มือถืออีกเป็นจำนวนมาก
ด้าน ดร.ภูมิ ภูมิรัตน ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีความมั่นคงและปลอดภัยทางไซเบอร์ของบริษัทและหน่วยงานระดับประเทศหลายแห่ง มองว่า ปัญหาลักษณะนี้ส่วนหนึ่งหน้าจะเกิดจากการละเลยของเจ้าหน้าที่ ที่เป็นคนเปิดให้บริการ ที่ขาดความรู้เรื่องของการพิสูจน์ตัวตน เพราะบัตรประชาชนสมัยใหม่ จะมีชิป หากมีเครื่องแสกนชิบและตรวจสอบก่อนก็จะตรวจได้ ว่าข้อมูลหน้าบัตร ตรงกับผู้ที่นำบัตรประชาชนมาเปิดหรือไม่ ส่วนหากคาดเดาจากพฤติกรรม ของกลุ่มมิจฉาชีพ ก็ย่อมทำการปลอมแปลงบัตรประชาชนตัวจริงได้ง่ายมาก เพื่อแค่ใช้เทคโนโลยีในการทำบัตรเหมือนลักษณะทั่วไปก็ย่อมทำได้ เพียงแต่ต้องมีต้นทุนในการผลิต ซึ่งไม่ได้เป็นอุปสรรคให้กลุ่มมิจฉาชีพ ผนวกกับการที่มีข้อมูลหน้าบัตรประชาชนหลุดออกมา ก็ย่อมที่จะนำข้อมูลมาใช้ในการปลอมแปลงบัตรได้ง่าย
ปัญหานี้ หลายภาคส่วนกำลังพลักดันให้มีพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่ต้องมีกฏหมายดูแลข้อมูลประชาชนให้ดี ซึ่งอนาคตหากมี พรบ ตุ่มครองข้อมูลส่วนบุคคล หน่วยงานที่นำข้อมูลส่วนตัวไปใช้ในทางธุรกิจ ก็ต้องมีการคุ้มครองข้อมูลนั้นด้วย และหากละเลย ก็อาจมีความผิดตามกฏหมายชัดขึ้น