www.thaips.org ลงทะเบียนรับเงินเยียวยา 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน สำหรับนักมวย และนักกีฬา ตลอดจนบุคลากร ซึ่งวันที่ 31 พ.ค.นี้ คือวันสุดท้าย

กระทรวงการคลังเห็นชอบปลดล็อกให้กลุ่มนักกีฬา เเละนักมวย มีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน เหมือนกับกลุ่มอาชีพอิสระ เพราะนักกีฬา เข้าข่ายอยู่ในกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จนต้องหยุดฝึกซ้อมเเละเเข่งขัน จนขาดรายได้ไปด้วย ซึ่งในวันนี้เป็นวันสุดท้ายแล้วที่ นักมวยม นักกีฬา และบุคลากร ตลอดจนสโมสรจะลงทะเบียนรับสิทธิ์เงินเยียวยา 5,000 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน ก่อนที่ข้อมูลนี้จะมีการรวบรวม คัดกรอง และส่งให้กระทรวงการคลังตรวจสอบเพื่อไม่ให้เกิดความซับซ้อนกับเงินเยียวยาในโครงการ "เราไม่ทิ้งกัน"

ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยในรายละเอียดและขั้นตอนการลงทะเบียน สามารถโทรสอบถามได้ที่ งานส่งเสริมกีฬาอาชีพ โทร 02-186-7111 ต่อ 8530, 8531 และ 8532 หรือที่งานพัฒนากีฬาอาชีพ โทร 02-186-7111 ต่อ 8511, 8512, 8513

นักกีฬาอาชีพตรวจสอบสิทธิ์ได้ที่ลิงก์ข้างล่างนี้

http://reg.thaips.org/front/search/athlete

บุคลากรกีฬาอาชีพตรวจสอบสิทธิ์ได้ที่ลิงก์ข้างล่างนี้

http://reg.thaips.org/front/search/athperson

สโมสรตรวจสอบสิทธิ์ได้ที่ลิงก์ข้างล่างนี้

http://reg.thaips.org/front/search/club

สรุปรายละเอียดเพิ่มเติมสำหรับการได้รับเงินเยียวยาสำหรับนักกีฬา บุคลากร หรือสโมสรกีฬาอาชีพ 13 ชนิด (แบดมินตัน, โบว์ลิ่ง, ฟุตบอล, กอล์ฟ, สนุกเกอร์, เทนนิส, ตะกร้อ, วอลเลย์บอล, บาสเกตบอล, เทเบิลเทนนิส, กีฬาแข่งรถยนต์, แข่งรถจักรยานยนต์ และมวยไทย) และขั้นตอนที่จะได้รับเงินเยียวยาสำหรับผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 มีดังต่อไปนี้

1. ต้องขึ้นทะเบียนเป็นนักกีฬา บุคลากร หรือ สโมสรกีฬาอาชีพ ในระบบของการกีฬาแห่งประเทศไทยก่อน (เท่าที่ทราบยังมีคนไม่ขึ้นเยอะมาก) ภายใน 31 พฤษภาคมนี้ ลงทะเบียนผ่านออนไลน์ได้ หน้าเว็บ http://reg.thaips.org/front/actions นักกีฬาอาชีพจะมีบัตรและชื่ออยู่ในระบบของ กกท.

2. คณะกรรมการกีฬาอาชีพ จะเปิดระบบให้สำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ลงทะเบียนอีกรอบหนึ่ง แยกกันกับข้อ 1 เท่ากับว่านักกีฬาจะไม่ได้รับเงินแบบอัตโนมัติ ต้องลงทะเบียนว่า ได้รับความเดือดร้อนจากโควิด-19 อย่างไร และต้องแจ้งแยกกันระหว่าง สโมสร กับ บุคคล

3. บุคลากรกีฬาอาชีพที่มีสิทธิ์จะได้รับมาตรการช่วยเหลือ จะต้องไม่เป็น ข้าราชการ, พนักงานของรัฐ, พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือ เป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่มีรายได้ประจำ หรือ เป็นเจ้าของกิจการที่ยังประกอบกิจการอยู่ และต้องไม่ซ้ำซ้อนกับผู้ที่ได้รับเงินจากภาครัฐในโครงการ “เราไม่ทิ้งกัน” ไปก่อนหน้านี้

4. เจตนาของการช่วยเหลือในครั้งนี้ คือ การเยียวยานักกีฬา บุคลากรกีฬาอาชีพ ที่เคยมีรายได้ เคยมีเงินเดือน แต่ต้องขาดไป เพราะไม่มีการแข่งขัน ถ้านักกีฬาอาชีพคนใดมีรายได้ หรือ มีเงินเดือนประจำจากต้นสังกัดอยู่แล้ว อาจไม่เข้าข่าย ในกรณีที่ถูกลดเงืนเดือน คณะกรรมการกีฬาอาชีพจะดูรายละเอียดเพิ่มเติมอีกครั้ง

5. ฟุตซอล และนักฟุตซอล ถือเป็นกีฬาอาชีพ แต่ฟุตบอลหญิงไม่เข้าข่าย อาจต้องรอเงินเยียวยาจากส่วนของกีฬาเป็นเลิศ

6. สโมสรฟุตบอลที่รับผลกระทบและมีสิทธิ์จะได้รับ จะต้องเป็นสโมสรที่อยู่ในช่วงการเตรียมทีม หรือ อยู่ในระหว่างการแข่งขันกีฬาอาชีพ และการแข่งขันถูกยกเลิก หรือเลื่อนออกไปจากสถานการณ์ของโรค "โควิด-19"

7. สโมสร หรือ สมาคม ต้องลงทะเบียนในส่วนของผู้ได้รับผลกระทบเช่นกันตามข้อ 2 และจะได้รับเงินเยียวยาสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท แต่อาจจะได้ไม่ถึง 500,000 เช่นกัน แล้วแต่ความเดือดร้อน

8. นักฟุตบอลที่โดนยกเลิกสัญญา หรือไม่ได้รับเงินเดือน ถือว่าเข้าข่ายเต็มๆ สามารถขึ้นทะเบียนเป็นนักกีฬาอาชีพได้ทันที.