ทนายอนันต์ชัย ระบุว่าคดีทายาทกระทิงแดงสามารถรื้อฟื้นคดีเพื่อเอาผิดได้ ส่วนการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ เพียงเอาผิดคนในกระบวนการสั่งคดีเท่านั้น ส่วนจุดพลิกผันเราจะถอดทีละปม ว่าอะไรคือจุดเปลี่ยนของคดีที่เกิดขึ้น

ปี 2555 พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 1 ( โดยอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ ) มีคำสั่งฟ้องผู้ต้องหาที่ 1 (นายวรยุทธ อยู่วิทยา) ในความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย โดยมี พ.ต.ต.รายหนึ่ง เป็นผู้ตรวจสอบความเร็วของรถยนต์ ยืนยันว่ารถยนต์ผู้ต้องหาที่ 1 (บอส อยู่วิทยา) ใช้ความเร็ว 177 กม.ต่อชั่วโมง

ต่อมา 23 มกราคม 2560  รองศาสตราจารย์ ด๊อกเตอร์ ซึ่งเป็นพยานบุคคลผู้เชี่ยวชาญ ที่ให้ข้อมูลเพิ่มระบุว่า  ประเด็นความเร็ว ของรถเฟอรารี่ ก่อนเกิดเหตุใช้ความเร็วประมาณ 76.175 กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมง ใกล้เคียงความเห็นของ พ.ต.ท.ที่ตรวจความเสียหายและระบุว่าความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง และ พ.ต.ท. (เมื่อปี 2559) ที่ระบุว่า ความเร็วอยู่ที่ประมาณ 79.23 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง 

อีกประเด็นที่เป็นที่สังคมของสังคมคือ 4 ธันวาคม 2562 เป็นการปรากฎข้อมูลของพยาน 2 ราย คือ พล.อ.ท. จ. และ นาย ช. ให้การว่าขับรถตาม ดาบตำรวจที่มาด้วยความเร็ว 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และผู้ต้องหาที่ 1 ขับมาด้วยความเร็ว ประมาณ 50-60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ข้อเท็จจริง จึงเชื่อได้ว่า ขณะเกิดเหตุ นายบอส อยู่วิทยา ขับรถมาในช่องเดินทางรถที่ 3 ชิดเกาะกลางถนนด้วยความเร็ว 80 กิโลเมตรต่อ ชั่วโมง

โดย ทนายอนันต์ชัย ไชยเดช ทนายความพูดถึงคดีนายวรยุทธ อยู่วิทยา หรือ บอสทายาทกระทิงแดง ว่า พยานบุคคล 2 ปาก มีความไม่น่าเชื่อถือเพราะกลับคำให้การไปมา ซึ่งคำให้การครั้งแรกจะน่าเชื่อถือที่สุด หากตัวเองเป็นทนายฝ่ายโจทก์ หรือ ฝ่ายดาบตำรวจ จะซักค้านในชั้นศาลเอาให้ศาลเชื่อฝั่งโจทก์มากกว่าและคดีจะไม่ออกมาแบบนี้แน่นอน ทำให้ประเด็นนี้เป็นจุดพลิกคดี และ ถูกตัดตอนตั้งแต่ชั้นพนักงานสอบสวนและอัยการ

ส่วนประเด็นที่สังคมสงสัยและคลางแคลงใจอยากให้มีการรื้อฟื้นคดีขึ้นมาสอบสวนเพื่อเอาผิดกับนายบอสใหม่ ทางกฎหมายไม่สามารถรื้อฟื้นคดีได้ ว่า ด้วยกฎหมาย ป.วิอาญา มาตรา 147 ตำรวจและอัยการมีความเห็นไม่สั่งฟ้องคดีทำให้คดีถึงที่สุดไม่สามารถ สอบสวนจำเลยได้อีก เว้นแต่มีพยานหลักฐานใหม่ที่ศาลเชื่อ ซึ่งพยานหลักฐานใหม่ ทนายอนันต์ชัย มองว่า ยากมาก เพราะ คดีผ่านมากว่า 8 ปี การแสวงหาพยานหลักฐานจึงทำได้ยาก , หากสำนวนนี้ไปอยู่ในชั้นศาล เชื่อว่าศาลจะให้ความเป็นธรรมแก่ฝ่ายจำเลยแน่นอน

สำหรับการตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 3 ชุดทั้ง ตำรวจ , อัยการและนายกรัฐมนตรี  ทนายอนันต์ชัย มองว่า ตั้งขึ้นมาเพื่อตรวจสอบกระบวนการสั่งคดีเพื่อเอาผิดกับเจ้าหน้าที่หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในกระบวนการเท่านั้น แต่ไม่สามารถที่จะไปเอาผิดกับนายวรยุทธ อยู่วิทยาได้ ในทางกฎหมายถือว่าคดีถึงที่สุดแล้ว

ถอดสำนวนคดี "บอส อยู่วิทยา" สู้คดีอย่างไร